7 ต.ค. 2021 เวลา 11:00 • สุขภาพ
## NO นวัตกรรมสุดล้ำ ช่วยชีวิตผู้ป่วยหนักได้ โดยไม่พึ่งท่อช่วยหายใจ ##
8
2 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นวัตกรรมทางการแพทย์ต่างมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสแล้ว ในตอนนี้มีการศึกษายาฆ่าเชื้อไวรัสโดยตรง ที่ถูกคาดว่าจะเป็นความหวังใหม่ ซึ่งจะช่วยรักษาผู้ป่วย ที่ถึงแม้จะติดเชื้อ และมีอาการ ก็ไม่ป่วยหนักหรือเสียชีวิตลง
13
แต่หากว่ามีใครบางคนที่ โชคไม่ดีนัก อาจด้วยเพราะโชคชะตา หรือเงื่อนไขทางร่างกาย “ป่วยหนัก” ถึงขั้นระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันล่ะคะ มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยคนเหล่านั้นได้ โดยไม่ทุกข์ทรมานจากการสอดท่อช่วยหายใจ
เราเคยมีการนำเสนอเรื่อง การให้ออกซิเจนผ่านทางทวารหนัก ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เชื่อว่าสามารถช่วยได้ แต่ยังคงต้องศึกษาต่อไป แต่วันนี้เราก็มีอีกวิธีหนึ่งที่น่าเหลือเชื่อ และน่าสนใจ มาเล่าให้คุณฟังกันค่ะ มาดูกันนะคะ ว่า “เทคโนโลยีทางการแพทย์” ของโลกเราก้าวกระโดดไปมากแค่ไหนแล้ว
9
มีงานวิจัยจากต่างประเทศที่ชี้ให้เห็นว่า การรักษาโดยใช้ “NO (ไนตริกออกไซด์) ความเข้มข้นสูง” อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และมองข้ามไปไม่ได้ว่าสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากโควิดตัวร้ายได้
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
#กดไลค์และติดตามเพจ เพื่อรับแนวทางป้องกันโควิด-19 อย่างทันท่วงที งานวิจัย และ ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์แบบเข้มข้น
╚═══════════╝
4
📌 ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เมื่อ NO (g) ความเข้มข้นสูง ใช้รักษาโควิดอาการหนักในคนท้องได้
1
จากงานวิจัย เรื่อง High Concentrations of Nitric Oxide Inhalation Therapy in Pregnant Patients With Severe Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) โดยโรงพยาบาลกลางของรัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้มีการใช้ไนตริกออกไซด์ (NO) ความเข้มข้นสูงอยู่ในช่วง 160-220 ppm ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะหายใจล้มเหลวจากระดับออกซิเจนในเลือดพร่อง (Hypoxic respiratory failure) โดยการสูดหายใจเข้า วันละ 2 ครั้ง พบว่า สามารถช่วยให้ผู้ป่วยทั้ง 6 คน มีการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ดีขึ้น และช่วยลดอาการหายใจเร็วกว่าปกติลง (Tachypnea) เมื่อเวลาผ่านไป 28 วัน ผู้ป่วยทุกคนสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย มีผู้ป่วยจาก 3 ใน 6 คน ที่กลับบ้านพร้อมกับลูกของพวกเขา และทุกคนมีผลตรวจเป็นลบ
14
หรืองานวิจัย เรื่อง Protocol for a randomized controlled trial testing inhaled nitric oxide therapy in spontaneously breathing patients with COVID-19 ได้ทำการศึกษาผลของการให้ NO ความเข้มข้นสูงที่ระดับ 140 - 180 ppm ผ่านการสูดหายใจ เพิ่มจากการรักษามาตรฐาน โดยเทียบกับการรักษาที่ให้เพียงการรักษาแบบมาตรฐานในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่ยังสามารถหายใจเองได้ พบว่า กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ NO ความเข้มข้นสูงมีเปอร์เซ็นต์การใส่ท่อช่วยหายใจผ่านหลอดลม และอัตราการเสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการรักษามาตรฐานเพียงอย่างเดียว
6
เมื่อ NO มีประโยชน์มากถึงขนาดนี้ มีใครอยากรู้จัก NO เพิ่มขึ้นไหมคะว่า NO คืออะไร? และมีกลไกการทำงานอย่างไร? เหตุไฉนถึงช่วยให้เรารอดจากระบบหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้
4
📌 NO ล้วนๆ ไม่มีตัวห้อย
“NO (g) = ไนตริกออกไซด์” เป็นก๊าซไม่มีสี มีอนุภาคอิสระที่ละลายในน้ำได้ (soluble free radical gas) ปกติร่างกายของเราผลิต NO ได้เองจากเซลล์บุผนังหลอดเลือด เซลล์กินสิ่งแปลกปลอม และเซลล์ประสาทในสมอง เพื่อเป็นสารเคมีสื่อสารในการทำงานระหว่างเซลล์ร่างกาย โดยจะทำให้เกิดการขยายหลอดเลือด (vasodilation) เนื่องจาก NO ไปเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดการเพิ่มปริมาณของ cGMP (cyclic guanosine monophosphate) เป็นผลทำให้เซลล์กล้ามเนื้อในหลอดเลือดผ่อนคลาย และเกิดการขยายหลอดเลือดขึ้นนั่นเองค่ะ นอกจากนั้นหากได้รับ NO จากภายนอกผ่านการสูดหายใจเข้า จะช่วยให้หายใจได้สะดวกมากขึ้นด้วยค่ะ
6
📌 อย่าเพิ่งสับสนกันนะคะ เพราะ NO ก็คือ NO ไม่ใช่ N2O หรือ NO2 แต่อย่างใด
โดย N2O (g) = ไนตรัสออกไซด์ เป็นก๊าซที่ไม่ติดไฟ ไม่มีสี แต่มีกลิ่นหอม และมีรสชาติหวานเล็กน้อย หากเรียกชื่อ ไนตรัสออกไซด์ เราอาจไม่คุ้นกันมากนัก แต่มีใครคุ้นๆ กับชื่อ ก๊าซหัวเราะ ไหมคะ ใช่แล้วค่ะ มันคือตัวเดียวกัน ปัจจุบันในประเทศไทย ก๊าซชนิดนี้ถือเป็นสารต้องห้าม และให้ใช้ได้เฉพาะในทางการแพทย์ ทันตกรรมและสัตวแพทย์ เท่านั้นนะคะ โดยใช้ในการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อให้เกิดอาการชา และเพื่อระงับความเจ็บปวด N2O นิยมใช้ในการผ่าตัดทางทันตกรรมสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่เพื่อลดความกังวลหรือความเครียดในการทำฟันค่ะ
6
ส่วน NO2 (g) = ไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซชนิดนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มก๊าซที่มีความไว ( highly reactive gases) ของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) เมื่อ NO2 รวมตัวกับอนุภาคอื่นๆ ในอากาศ จะเห็นเป็นชั้นสีน้ำตาลแดง สาเหตุหลักของการเกิด NO2 มักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ ในอุณหภูมิสูง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงเครื่องยนต์ของรถยนต์ และ NO2 ยังถูกจัดเป็นอีกสารตั้งต้นอีกตัวหนึ่งที่ทำให้เกิด PM 2.5 อีกด้วยนะคะ
5
เอาล่ะค่ะ ตอนนี้เรารู้จัก “NO” กันแล้ว และเราก็รู้ว่า NO สามารถ “ช่วยชีวิต” ของผู้ป่วย จากระบบการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ โดยไม่ต้องสอดท่อ มีใครอยากรู้บ้างคะ ว่า NO ทำได้อย่างไร ถ้าพร้อมแล้ว สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วไปดูกันค่ะ
2
📌 NO ทำงานอย่างไร? ไยจึงช่วยให้ผู้ป่วยโควิดอาการหนักอาการดีขึ้นได้
2
อย่างที่ได้มีการอธิบายไปข้างต้นนะคะ ว่า “NO” จัดเป็นอนุมูลอิสระ (free radical) ตัวหนึ่งที่ร่างกายของเราสามารถสร้างขึ้นได้ ซึ่งใช้เป็นตัวส่งสัญญาณตัวสำคัญที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างการทำงานของร่างกาย และอีกหนึ่งบทบาทที่ NO สามารถทำได้ คือ การกระตุ้นตัวรับมาตรฐาน (Canonical receptor) ที่พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด โดยเมื่อ NO จับกับส่วนหนึ่งของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแล้ว จะทำให้ Guanylate cyclase ซึ่งเป็นเอนไซม์ (enzyme) ที่เปลี่ยน Guanosine triphosphate (GTP) เป็น cyclic Guanosine monophosphate (cGMP) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
5
เมื่อ enzyme เพิ่มขึ้น จะทำให้ cGMP ซึ่งเป็นสารที่ช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว และทำให้มีการสร้างออกซิเจนในเลือดมากยิ่งขึ้น เมื่อ NO อยู่ในรูปก๊าซจะมีอีกหนึ่งคุณสมบัติทางเภสัชวิทยา คือช่วยให้การหายใจสะดวกขึ้น เพราะจะช่วยขยายหลอดเลือดบริเวณปอด เมื่อการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ปอดก็สามารถทำงานได้ดีขึ้นตามไปด้วย
5
นอกจากนั้น NO ยังมีผลทำให้หลอดลมขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และช่วยขัดขวางการสร้างอนุมูลอิสระตัวอื่นซึ่งจัดอยู่ในส่วนของ ROS (Reactive Oxygen Species) ที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวด้วย อีกทั้ง NO ที่ได้จากทั้งภายใน และภายนอกยังมีผลการวิจัยที่แสดงว่า สามารถขัดขวางการจำลองตัวเองของเชื้อไวรัสได้ด้วยค่ะ
5
สรุปโดยย่อนะคะ เพราะ “NO” เป็นตัวกลางสำคัญ ที่จะช่วยให้ “cGMP” เพิ่มขึ้น โดยบทบาทของ cGMP จะทำให้หลอดเลือดเกิดการคลายตัว เมื่อหลอดเลือดคลายตัว เลือดจะไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ได้มากขึ้น และมีการเพิ่มกระบวนการทำงานเมตาบอลิซึมของเซลล์ เป็นผลให้มีการสร้างออกซิเจนมากขึ้น
6
เป็นอย่างไรบ้างคะ NO ไม่ธรรมดาเลยใช่ไหมคะ?
2
📌 รักษาด้วย NO เตรียมบอกลาโควิด-19
1
มีความเป็นไปได้อย่างมากค่ะว่า การให้ NO (g) จะรักษาโควิด-19 ได้ ไม่ใช่เพียงในตอนที่ระบบหายใจเกิดการล้มเหลวเฉียบพลันเท่านั้นนะคะ แต่รวมไปถึงการฆ่าเชื้อไวรัสด้วย
3
ทำไมเราจึงเชื่อแบบนี้ ก็เพราะว่า การศึกษาเรื่อง Nitric oxide and the common cold ได้พบผลการศึกษาว่า NO สามารถขัดขวางกระบวนการที่ Rhinovirus ซึ่งเป็นไวรัสก่อโรคหวัด จะกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุเกิดการอักเสบที่รุนแรง และสามารถยับยั้งการจำลองตัวเองของเชื้อไวรัสได้ ยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยปรับปรุงตัวส่งสัญญาณที่มีผลต่อการส่งทอดสัญญาณที่จะทำให้เกิดการสร้างไซโตไคน์ (Cytokine) ซึ่งเป็นสารตัวสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับอวัยวะในร่างกายได้
5
นี่จึงอาจเป็นข้อสันนิษฐานที่เชื่อได้ว่า หากเรามองว่า “โควิด-19” คล้ายกับ “โรคหวัด” แม้ว่าจะเป็นไวรัสคนละสายพันธุ์ แต่ก็คือ “ไวรัส” เมื่อ “NO” ยับยั้งการจำลองตัวเองของ Rhinovirus ได้ ก็อาจเป็นไปได้ว่า “NO” สามารถยับยั้งเชื้อโควิดได้เช่นกัน
3
และจากการศึกษาของ ดร. Zamanian และทีมงาน เรื่อง Home Nitric Oxide Therapy for COVID-19 โดยศึกษาอาการของผู้ป่วยโควิดที่มีภาวะความดันหลอดเลือดแดงสูง (Pulmonary Arterial Hypertension; PAH) และมีอาการหอบเหนื่อยอย่างหนัก มีความจำเป็นต้องรักษาตัวเองที่บ้าน จึงทำการรักษา และติดตามอาการ ควบคู่ไปกับการให้ NO ด้วยการสูดหายใจ ผ่านการควบคุมระยะไกลของทีมแพทย์ พบว่า เมื่อเวลาผ่านไปผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแข็งแรงพอที่จะมารักษาตัวในโรงพยาบาลต่อได้ เคสตัวอย่างนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการจะนำ NO มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด และมีโรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นโรคประจำตัว ให้มีอาการดีขึ้น นี่จึงเป็นอีกหนึ่งคุณประโยชน์ที่พวกเราได้รับจาก “NO” กันค่ะ
9
แม้ว่า ในตอนนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์สุดล้ำ ที่ชื่อ “inhaled Nitric oxide” (iNO) ยังมีการศึกษาทางคลินิกอยู่ แต่ก็ไม่แน่นะคะว่า
หาก...โควิดตัวร้ายวิวัฒน์ตัวเองอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มความร้ายกาจของตัวเองมากขึ้น
1
หาก...การแพร่ระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้นจนเกินรับไหว
หาก...เตียงในโรงพยาบาลเต็ม และผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มจำนวนมากขึ้น
เราอาจจะได้ยินการรักษาโดยใช้นวัตกรรม NO มากขึ้นก็เป็นได้ค่ะ
1
เพราะเวลาทุกวินาทีนั้นมีค่า และไม่มีใครย้อนเวลากลับไปได้ ดังนั้น “มาทำวันนี้ให้ดีที่สุด” กันเถอะค่ะ ด้วยการปกป้องตนเองอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ และต้องก้าวเข้าไปสู่ทางเลือกในการรักษาที่หลากหลาย
การป้องกันการติดเชื้อที่ว่าก็ง่ายแสนง่ายค่ะ คือ เมื่อเวลาออกไปข้างนอก อย่าลืมสวมหน้ากาก N95 หรือหน้ากากที่มีคุณภาพสูงกว่า อย่างมิดชิด หากไปพื้นที่เสี่ยงก็หมั่นตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ ATK อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ และพยายามอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศที่ดี หรือพื้นที่เปิด มากกว่าพื้นที่ปิดกันนะคะ
1
ขอให้ทุกคนสู้ๆ นะคะ แม้ว่าเราจะเริ่มมีการเปิดประเทศแล้ว แต่อย่าเพิ่งการ์ดตกนะคะ เพราะเราไม่มีทางรู้ว่า ในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นอีก แต่เมื่อเรายังหายใจอยู่ก็อย่าท้อถอยกันนะคะทุกคน
4
แล้วเราจะผ่านภัยร้ายที่ชื่อ โควิด-19 ไปด้วยกันนะคะ :)
ติดตามเราได้ที่
1
อ้างอิง:
High Concentrations of Nitric Oxide Inhalation Therapy in Pregnant Patients With Severe Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7673637/
1
Protocol for a randomized controlled trial testing inhaled nitric oxide therapy in spontaneously breathing patients with COVID-19
Nitric oxide and the common cold
Home Nitric Oxide Therapy for COVID-19 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7328337/
What is NO2 and how does it get in the air?
โฆษณา