Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
R
Reading with us
•
ติดตาม
7 ต.ค. 2021 เวลา 16:57 • หนังสือ
Day 10
21 Lessons
ครึ่งเล่มแล้วน้าาา
5วันจากนี้ อยู่ในส่วนที่ 3 นะคะ
บทที่ 10 คะ
⭐️"จะจับโจร ต้องคิด แบบโจร"⭐️
ยืมคำพูดคุณแฟน ผู้จบตรี,โท อาชญวิทยา
การก่อการร้าย ไม่ได้ห่างจากตัวเราเลยนะคะ แต่มันก็ไม่ได้ครอบงำเราไว้ขนาดนั้น
📌ผู้ก่อการร้าย คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการควบคุมจิตใจมนุษย์เป็นอย่างมาก
พวกเขาฆ่าคนจำนวนน้อย แต่ทำให้คนหวาดกลัวจำนวนมาก
อย่างเหตุการ์ณ 9/11 มีผู้เสียชีวิต ~30,000คน
โรคเบาหวาน ทำให้มีคนเสียชีวิต 3.5 ล้านคน ต่างกัน 116 เท่า 🔥 9/11 ทำให้คนหวาดกลัวมากกว่า 100 ล้านคน แต่ไม่มีใครกลัวโรคเบาหวาน ขึ้นสมองแบบนั้นเลย
เรื่องราวแบบนี้ มันมีเหตุผลของมันอยู่คะ
เพราะการก่อการร้าย เน้นไปที่การก่อให้เกิดความวุ่นวายในจิตใจ ในสังคม เพื่อให้เกิดการตอบโต้ที่ยิ่งใหญ่กว่าความเสียหาย หรือแสดงออกชัดเจน
เนื่องจากรัฐในปัจจุบัน มีการกล่าวถึง
"ความปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆภายในอาณาธิปไตย"
แต่รัฐไม่ได้กล่าวถึง
"ความปลอดภัยจากโดนัทเคลือบน้ำตาล🍩"
จุดประสงค์ของการก่อการร้าย ไม่ใช่ความเสียหายทางกายภาพ แต่เป็นเรื่องของภาพลักษณ์และความคิด ความมั่นใจของปชช
เหตุการ์ณ 9/11 ไม่ได้มีเพียง เครื่องบินชนตึกแฝด แต่อาคารแพตากอน ที่มีความสำคัญกับยุทธการทางทหารของอเมริกัน ได้รับความเสียหาย สูญเสียนายพล และ นักวิชาการไปเช่นกัน แต่แทบไม่มีใครจำได้ 🔥🔥
การก่อการร้ายคือ ละครฉากใหญ่ ที่ใช้ตัวแสดงไม่มาก เหตุการ์ณไม่เยอะ แต่ต้องพีค เพื่อให้ศัตรูตอบโต้ อย่างบ้าคลั่ง
เช่น อเมริกา ยกทัพไปอัฟกา สูญเสียเงินไปเป็น 75ล้านล้านบาท 💸💸💸 เพื่อล่าตัวผู้ก่อการร้ายและพยายามควบคุมไม่ให้เกิดซ้ำ แต่สุดท้าย ณ วันนี้ 2021 อเมริกาถอนทัพกลับและตาลีบันก็บุกยึดอัฟกานิสถานกลับไปแล้ว
(เนื้อหาเพิ่มเติม เนื่องจากหนังสือเขียนในปี 2018)
เมื่อนี้คือละคร เราต้องคิดแบบละครสิคะ ไม่งั้นจะไปจบกันตรงไหนได้
แต่การคิดแบบละคร ตอบโต้ตามยุทธวิธี อาจส่งผลให้ ปชชไม่พอใจ ไม่ได้เป็นนายกสมัยต่อไป โดนประเทศอื่นประนาม
ทำให้มักเกิดการตอบโต้ ป้องกัน อย่างขาดสติ
21 Lessons ได้เขียนแนวทางในการรับมือ การก่อการร้ายไว้ 3 ข้อ ดังนี้
1. ควรมุ่งความสนใจ ไปที่การต่อต้านอย่างลับๆ
ไม่งั้นละครก็ไม่จบคะ เล่นกันไปเรื่อย
2. ควบคุมสื่อให้เผยแพร่รายละเอียดในน้อยที่สุด
เพราะถ้ายิ่งเสนอมาก เกิดความหวาดกลัว ตามที่ผู้ก่อเหตุต้องการ แต่บางคนก็จะมองว่าเป็นสิทธิที่จะเสนอ จะรู้ได้ทุกอย่าง อันนี้รบกวนชั่งใจกันนิดนึงเนอะ
เช่น เหตุการ์ณกราดยิงที่โคราช เราต้องยอมรับคะ ว่าสื่อเสนอมากไป จนคนร้ายรู้ทุกอย่าง จนเกิดความสูญเสียมากเกินจำเป็น
3. ควบคุมจินตนาการของเราเอง
เข้าใจได้คะ พอเรารับรู้ข่าวสาเราย่อมต้องการความปลอดภัย แต่ก็ไม่ควรตะหนกจนเกินไป มองทางหนีไฟไว้ ทางฉุกเฉินสำคัญ แต่ไม่ใช่อะไรก็วิ่ง อะไรก็ตะโกน เรื่องราวที่ไม่มีอะไร อาจจะวุ่นวายขึ้นมาได้ทันที แล้ว
" ถ้าเรายังจมกับจินตนาการนั้นแหละ คือความสำเร็จของการก่อการร้าย"
การก่อการร้าย ยังมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ตอนนี้เราสนใจไปที่ ก่อการร้ายด้วยโรคระบาด หรือ AI มากกว่าการกราดยิง หรือ โดรนระเบิด อย่างที่เคยเกิดขึ้นไปแล้ว
เราในฐานะประชากรบนโลกใบนี้ เราเพียงรับผิดชอบใสส่วนหน้าที่ของเราให้ได้เสียก่อน แล้วเราจะมองเรื่องราวเหล่านี้ได้ชัดเจนขึ้น
ฝากไว้นิดนึงคะ (ความคิดเห็นส่วนตัว)
เรื่องสื่อ กับ ความรุนแรง
เราเข้าใจนะคะที่ คนเราจะอยากรู้อยากเห็นในเรื่องราวที่มีความรุนแรง สื่อก็อยากเสนอเพราะอยากได้เรทติ้ง
แต่จริงๆแล้ว การนำเสนอความรุนแรงอย่างละเอียด
นั่นคือการสอนให้คนทำตามนะคะ บอกทุกจุด ทุกวิธี จากคนไม่รู้ รู้หมดคะ การเปิดเผยรายละเอียดที่มากเกิน เราเป็นผู้ชมเดี๋ยวก็จบไป แล้วเจ้าของเรื่องละคะ ทำไมเขาต้องโดนเอามากางแผ่แบบนั้น
เรามีสิทธิที่จะรู้ เขาก็มีสิทธิที่ไม่เปิดเผยคะ
แล้วพบกันใน Day 11 นะคะ ❤️
หนังสือ
การเมือง
บันทึก
2
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย