8 ต.ค. 2021 เวลา 08:06 • ประวัติศาสตร์
การรัดเท้า | ความสวยที่แลกมากับความพิการ
การรัดเท้า/ การมัดเท้า - แสดงภาพเท้าที่ถูกมัดจนผิดรูป แหล่งที่มา: https://wellcomecollection.org/works/zhvjpvnk
จีนในสมัยโบราณมีประเพณีที่นิยมให้ผู้หญิงรัดเท้าตั้งแต่ยังเด็ก โดยเชื่อว่าสตรีที่เท้าเล็กบ่งบอกว่าเป็นผู้ดี เป็นคนชั้นสูง บ่งบอกฐานะทางครอบครัว เพราะไม่ต้องใช้เท้าในการเดินทำมาหากิน
ประเพณีนี้เชื่อว่าเริ่มขึ้นในสมัยปลายราชวงศ์ถัง โดยสตรีรายแรกที่รัดเท้าเป็นนางข้าหลวงในราชสำนักชื่อ “ หยาวหนิง” ความนิยมนี้ต่อมาได้แพร่หลายจากในหมู่ชนชั้นสูงไปสู่คนธรรมดาทั่วไป ยุคที่การรัดเท้าป๊อปสุดๆคือช่วงราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960-1279)
ผู้หญิงจะเริ่มรัดเท้าตั้งแต่อายุ 4-8 ขวบ เพราะในช่วงนั้นกระดูกยังอ่อนอยู่การรัดให้เท้าเข้ารูปจึงทำได้ง่าย แต่ถ้าโตมากกว่านี้จะเป็นช่วงที่เท้าเจิญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้การรัดเท้าทำได้ยากขึ้น แต่ผลของการรัดเท้าตั้งแต่เด็กก็คือพอแก่ตัวไปก็จะพิการเดินไม่ได้
เหตุผลเบื้องลึกของประเพณีการรัดเท้านั้นบอกว่าการรัดเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งความสงบสุขในครอบครัว เพราะค่านิยมของจีนยุคโบราณชอบให้ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเป็นแม่บ้านอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน (คือว่า ก็เท้าโดนมัดซะผิดรูปแบบนั้นจะมีแรงเดินออกนอกบ้านไปไหนได้…จริงมั๊ย) การจะไปทำกิจกรรมอะไรนอกบ้านให้ขัดใจสามีจึงหมดสิทธิเลิกคิดไปได้เลย(…ลึกจริงๆ)
การรัดเท้านั้นแลกมากับความเจ็บปวด อย่างแสนสาหัด โดยเด็กจะเจ็บปวดเป็นเวลา 4-5 ปีกว่าเท้าจะเข้าที่ได้รูปทรงตามต้องการ พิมพ์นิยมของเท้าที่ถือได้ว่าเซ็กซี่กระชากใจชาย คือ การรัดเพื่อไม่ให้นิ้วเท้างอกขึ้นได้ เท้าที่ถูกรัดจะมีสันฐานเล็กคล้ายดอกบัว เรียกว่า “บัวทองสามนิ้ว”
ภาพเปรียบเทียบเท้าที่ถูกมัดกับเท้าปกติ แหล่งที่มา:  the United States Library of Congress's Prints and Photographs division under the digital ID cph.3a49263.
ถ้าสาวนางใดไม่อยากรัดเท้าก็อาจต้องขึ้นคานหาสามีได้ยาก เพราะผู้ชายสมัยนั้นปรารถนาสตรีที่มีเท้าเล็ก สตรีต้องเท้าเล็กถึงจะมีผู้ชายมาสู่ขอ(ถ้าเท้าไม่เล็กก็หาผอไม่ได้กันล่ะ) ถึงขนาดมีการกล่าวว่า
“หญิงควรมีเท้าเบา บาง เล็ก แหลม โค้ง หอม นุ่ม และที่สำคัญเท่ากันทั้งสองข้าง”
สตรีที่ถูกรัดเท้าจะเดินเหินไม่สะดวก เดินได้ก้าวเล็กๆเตาะแตะไม่มั่นคง เหมือนเด็กน้อย แต่รู้ไหมว่าไอ้ท่าเดินแบบนี้กลับดูเป็นเรื่องเซ็กซี่ยั่วอารมณ์ของชายหนุ่มสมัยนั้นเป็นแถวๆ เรียกว่าถ้าเดินได้แบบคนปกติก็ไม่มีใครมองน่ะ
ความนิยมในประเพณีรัดเท้าก็ได้เสื่อมความนิยมไปเมื่อจีนก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 20 ปัจจุบันนี้ผู้ที่รัดเท้าเป็นคนรุ่นอาเหล่าม่าที่ยังคงมีชีวิตอยู่ อาหมวยยุคปัจจุบันที่ต้องปากกัดตีนทีบแข่งกันทำมาหากินไม่มีใครรัดเท้ากันต่อไปแล้ว #การรัดเท้า #ประเพณีรัดเท้า
แหล่งข้อมูล
ประเพณีการรัดเท้า - ประเพณีแห่งความเจ็บปวด
"เท้าดอกบัวตูม" แฟชั่นสุดแสนทรมานของสตรีแดนมังกร ที่ต้องแลกมาด้วยชีวิตและน้ำตา
โฆษณา