9 ต.ค. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
สรุป โอกาสของธุรกิจไทย ผ่านมุมมอง เจ้าสัวธนินท์
3
“หลายคนบอกว่าวิกฤติโควิด 19 ครั้งนี้รุนแรงมาก แต่ผมคิดว่าวิกฤติต้มยำกุ้งรุนแรงกว่าครั้งนี้เยอะมาก
เพราะครั้งนี้แม้ว่าทุกอย่างถูกหยุด เกิดปัญหาเยอะแยะ แต่ทุกอย่างยังอยู่พร้อม ไม่ได้ถูกทำลาย”
4
ท่ามกลางโลกที่เกิดภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักจากโรคระบาดโควิด 19
คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสของเครือ CP มองว่า
โควิด 19 “ในอนาคต” อาจจะกลายเป็นอีกหนึ่งโรคธรรมดาในโลก และไม่ได้น่ากลัวเหมือนกับโรคระบาดอื่น ๆ ในอดีต เพราะยุคนี้การแพทย์และวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าไปมาก
1
ที่น่าสนใจก็คือ คุณธนินท์ มองเห็นโอกาสของธุรกิจไทยต่อไปจากนี้อยู่ไม่น้อย ขอเพียงแค่ธุรกิจไทยต้องปรับตัวและหมุนตามโลกให้ทัน..
1
ว่าแต่ ธุรกิจไทย จะมีโอกาสใดเหลืออยู่บ้างนั้น ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
1. ธุรกิจร้านอาหาร ต้องบริการให้ถึงหน้าบ้านลูกค้า
1
ลองมองภาพง่าย ๆ ว่า ถ้าคนเรามีเงินอยู่ 100 บาท
เราคงต้องแบ่งเงินอย่างน้อย 20-30 บาท เป็นค่าอาหาร
เท่ากับว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายอาหารคิดเป็น 20-30% ของรายได้
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่คนเราพร้อมจะจ่ายออกไปอยู่แล้ว
ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารที่เปิดบริการหน้าร้านไม่ได้ โอกาสที่ซ่อนอยู่ก็คือ การทำอาหารปรุงสุกแล้วบริการส่งถึงหน้าบ้านลูกค้า
1
เพราะอย่าลืมว่าช่วงปิดหน้าร้าน ค่าใช้จ่ายภาพรวมภายในร้านน่าจะลดลง เช่น ค่าไฟ, ค่าน้ำ ซึ่งเราสามารถลองเอาค่าใช้จ่ายที่หายไปส่วนนี้ ไปเปลี่ยนเป็น “ค่าบริการส่งฟรี” ให้กับลูกค้าแทน
ซึ่งนอกจากจะเป็นทางรอดของธุรกิจร้านอาหารในช่วงเวลานี้แล้ว ต้องยอมรับว่า ยังสอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคนี้ ที่หันมาใช้บริการดิลิเวอรีกันมากขึ้น อีกด้วย
2. ธุรกิจท่องเที่ยว ต้องมาพร้อมความปลอดภัย และสุขภาพ
พื้นฐานประเทศไทยเรามีชื่อเสียงเรื่องการท่องเที่ยวและการแพทย์
มีชาวต่างชาติจำนวนไม่น้อยที่ไม่อยากมารอหมอ รอการรักษาในบ้านเมืองเขา แล้วก็เลือกมารักษาในประเทศไทย
1
จึงเป็นโอกาสของธุรกิจท่องเที่ยวไทย ลองมาจับความต้องการกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเศรษฐีมีเงิน
เพราะไม่ว่าจะเป็นชาวยุโรป, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกา, จีน หรืออาหรับ ต่างนิยมมาเที่ยวไทยกันไม่น้อย
ลองมองภาพง่าย ๆ ถ้าโลกนี้มีสัดส่วนเศรษฐี 10% คิดเป็นจำนวนหลายร้อยล้านคนกระจายอยู่ทั่วโลก
ถ้าธุรกิจท่องเที่ยวไทยชูการท่องเที่ยวที่มาพร้อมความปลอดภัยและสุขภาพได้จริง
หากเขาเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย 1 ล้านคน อาจจะเกิดการใช้จ่ายเท่ากับนักท่องเที่ยวทั่วไป 10 ล้านคน เลยก็ได้
1
พูดง่าย ๆ ว่าไม่เพียงจะเป็นโอกาสใหม่ ๆ ของธุรกิจท่องเที่ยวไทย แต่อาจจะกลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยในสายตาคนทั่วโลกได้ อีกด้วย
3. พัฒนาบุคลากร รองรับยุค 4.0
สิ่งที่ธุรกิจไทยขาดแคลนและต้องการมากที่สุดก็คือ คนเก่งยุค 4.0
เพราะต้องยอมรับว่ายุค 4.0 ไม่ได้เปลี่ยนแค่ภาคอุตสาหกรรม แต่จะเปลี่ยนแปลงทุกภาคส่วนทั้งหมด แบบหน้ามือเป็นหลังมือ
1
ความน่ากลัวก็อย่างที่เราเคยเห็นตัวอย่างธุรกิจยักษ์ใหญ่หลายเจ้าก่อนหน้านี้
เช่น ธุรกิจกล้องถ่ายภาพ Kodak พอเขาเปลี่ยนไม่ทัน เขาจะกลายเป็นธุรกิจล้มละลายไปเลยทันที
ทางออกสำคัญก็คือ การเปิดโอกาสให้คนเก่งยุค 4.0 อย่างชาวต่างชาติที่เชี่ยวชาญและมีความสามารถจริง ๆ สัก 5 ล้านคนเข้ามาทำงานในประเทศไทย แล้วก็มาสอนคนไทยให้เข้าใจและพัฒนาจนเก่งตามไปด้วย
เรื่องนี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เพราะอย่างในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยเราก็เคยมีชาวเยอรมันมาวางระบบรัฐบาล, ชาวอังกฤษมาสอนวิชาทางการทหาร และชาวจีนมาสอนเรื่องเศรษฐกิจการค้าขายมาแล้ว
ดังนั้น หากเราไม่เก่งเรื่องเทคโนโลยี 4.0 ก็ลองเปิดโอกาสเรียนรู้จากชาวต่างชาติที่มีความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้จริง ๆ ก็น่าจะช่วยให้ธุรกิจไทยยังคงยืนหยัดต่อไปได้
1
4. สินค้าเกษตร พัฒนาสมบัติของชาติให้กลายเป็นเงิน
2
ประเทศที่มีน้ำมัน สิ่งที่เขาต้องการคือ ราคาน้ำมันแพง ๆ สร้างรายได้เข้าประเทศ
แต่ทำไมสินค้าการเกษตรบ้านเรากลับมีราคาถูก หลายคนบอกว่า “ข้าว” ของประเทศไทยเป็นอันดับที่ 1 แต่จะมีประโยชน์อะไร หากชาวนาชาวเกษตรกรไทยยังคงยากจนอยู่เช่นนี้
2
ปัจจุบันผู้ผลิตข้าวได้มากที่สุดของโลกกลายเป็น จีน รองลงมาคือ อินเดีย ไปเรียบร้อยแล้ว
เช่นเดียวกับ “ทุเรียน” ของประเทศไทยก็มีชื่อเสียง อย่างทุเรียนก้านยาวเมืองนนท์ที่ขึ้นชื่อในความอร่อย สามารถขายได้ราคาลูกละเป็นหลักพันหลักหมื่นบาท ตอนนี้สวนทุเรียนเมืองนนท์กลายเป็นโครงการหมู่บ้านจัดสรรไปหมดแล้ว
1
ส่วนที่ดินแปลงนาเมืองนนท์ที่เหลืออยู่ หากเปลี่ยนมาทำสวนทุเรียน แม้จะใช้เวลาในการปลูกนาน 7 ปี
แต่ 1 ไร่ของสวนทุเรียนอาจจะให้ผลตอบแทนเท่ากับ 10-20 ไร่ของการทำนาเลยก็เป็นไปได้
หรืออย่างในภาคใต้ ก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่เหมาะแก่การปลูกทุเรียน
เพราะทุเรียนต้องการน้ำ แต่ไม่ต้องการน้ำท่วมขัง แล้วเนื้อจะหวานอร่อย
อาจจะสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่าการปลูกยาง ก็เป็นไปได้เช่นกัน
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า ประเทศไทยก็น่าจะยังพอมีแสงสว่างให้กับธุรกิจไทยอยู่ไม่น้อย
เพียงแต่ผู้ประกอบการธุรกิจไทยต้องเลือกเดินให้ถูกทาง รวมทั้งคนไทยเองต้องจับมือกันเดินหน้าทั้งในส่วนของภาครัฐบาล, ภาคธุรกิจเอกชน และภาคการเกษตร นั่นเอง..
References
-บทสัมภาษณ์ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสของเครือ CP โดยลงทุนแมน
-www.blockdit.com/posts/5ec66a065a30b6300600956a
โฆษณา