10 ต.ค. 2021 เวลา 10:24 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ต้องใช่แน่ๆ รูปอสุจิย้อมสี!
ผิดจ่ะ ผิดถนัดจ่ะ นี้สมองหนู โฮะๆ
สี Rainbow จาก Brainbow
“สี Rainbow จาก Brainbow”
แอดเห็นภาพนี้ครั้งแรกเมื่อ 10 ที่แล้ว
วันนี้ภาพนี้กลับมาอีกครั้งเป็นภาพปิดฉาก
การนำเสนอ journal club ตอน ป.เอก
งานวิจัยที่ต้องนำเสนอไม่ได้ทำอะไรกับสมองหนูเลยสักกะจิ๊ดเดียว
แต่ด้วยว่างานนี้ตีพิมพ์ใน Nature
แค่ได้ยินชื่อวารสารก็~~เงิบแล้ว
ความยากไม่ต้องพูดถึง ศัพท์จากต่างดาวล้วนๆ
แต่ก็เพราะศัพท์ต่างดาวนี่แหละ
ทำให้ต้องขุดคุ้นกระจุยกระจาย
ฟาดตั้งแต่ youtube Indian guy
ลามไปยัง review paper
เรื่องราวของเซลล์สมองหนูหลากสี
ไม่ใช่เรื่องที่ทำเล่นๆ ขำๆ อยากเห็นสีสวยๆ
การดัดแปลงพันธุกรรมของหนูทำให้เกิดสีขึ้นมาในเซลล์ได้
โดยการใส่ชิ้นส่วน DNA ที่สร้างโปรตีนสีต่างๆที่ต้องการเข้าไป
วัตถุประสงค์ก็แตกต่างกันไป เซลล์ที่เกิดสีนี้เรามักเรียกว่า reporter cell หรือเซลล์ที่ทำหน้าที่รายงานผล
การทดลองในภาพนี้คือทำเพื่อทดลอง lineage tracing
เพื่อดูว่าเซลล์ว่าเซลล์ไหนแบ่งตัวมาจากเซลล์
ซึ่งมักพบในการทดลองเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell)
ส่วนทำไมถึงมีหลายหลากสีขนาดนี้ ไว้แอดจะอธิบายในตอนหน้า
บอกเลยว่าวิทยาศาสตร์นี่งานอาร์ตตัวแม่
ผสมสีก็มีจ้าาาา ชิคๆป่ะหล้าาา
ตอนแอดเจอรูปนี้ในวารสารอันหนึ่ง
ก็แบบคุ้นมากเลย ก็นึกอยู่หลายวัน
สุดท้ายเลยทักไปหาคนที่คาดว่า
เป็นเจ้าของ presention เมื่อ 10 ปีก่อน
แล้วก็ใช่จริงๆ
ภาพนี้หรือภาพคล้ายๆกันนี้
ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์
(ผู้แปลหนังสือเซต Homo Sapiens)
นำเสนอที่ค่าย Thai Science Camp ครั้งที่ 2
น่าแปลกที่จำอะไรได้นานๆ
แถมจำอะไรๆได้จากค่ายนี้เยอะมาก
คุ้มจริงๆที่โดดสอบกลางภาคของ ม.5
แล้วไปค่ายนี้แทน
🤪 #เภสัชชะเกรียน เอางานวิจัยมะเร็งมาเล่าแบบกวนๆ สาระยากๆไม่ค่อยจะมี จะมีก็แต่ความแฟนตาซีและย่อยง่าย เพราะ #วิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
🤗 ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆนักวิจัยผ่านมาเห็น จะแนะนำหรือติชม นศ ป เอก ตัวน้อยน้อยยยยคนนี้ก็ยินดีและดีใจมากๆเลยค่ะ 😁🤓😁
#NoCancer #NoCancerTH
#เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ FB page -> @NO cancer: เพราะวิจัยมะเร็งนั้นลึกซึ้ง
❇️ Blockdit -> No Cancer: เรื่องเล่าจากห้องวิจัยมะเร็ง (https://www.blockdit.com/no_cancer)
โฆษณา