ทฤษฎีผีเสื้อขยับปีก (Butterfly Effect)
.
เราอาจจะเคยได้ยินกันบ่อยๆว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆไม่ว่าเล็กน้อยแค่ไหนก็อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง เนื่องมาจากกระบวนการขยายผล (amplification)
.
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเราก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคนอื่นซึ่งจะส่งผลเป็นวงต่อเนื่องไปเรื่อยๆ นักอุตุนิยมวิทยาและนักคณิตศาสตร์ชื่อ เอดเวิร์ด นอร์ตัน ลอเรนซ์ (Edward Norton Lorenz) ค้นพบทฤษฎีนี้ ในขณะที้บันทึกข้อมูลพยากรณ์สภาพอากาศ ด้วยเศษทศนิยมสามตำแหน่งเพื่อประหยัดพื้นที่กระดาษ แต่เมื่อนำข้อมูลมาคำนวนบนบนคอมพิวเตอร์ คำทำนายสภาพอากาศล่วงหน้าสองเดือนกลับแตกต่างจากข้อมูลทศนิยมหกตำแหน่งโดยสิ้นเชิง
.
ลอเรนซ์จึงสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงใดๆแม้จะดูเล็กน้อยแค่ไหนก็ตามสามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญได้ เช่น
.
ก้นบุหรี่ที่ยังไม่ดับเพียงแท่งเดียวก็อาจก่อให้เกิดไฟไหม้เผาพื้นที่ทั้งหมดและเปลี่ยนแปลงถิ่นที่อยู่ของคนโดยรอบได้
.
หากพ่อหรือแม่ของเราไม่ได้พูดคำที่ใช่ ในเวลาที่เหมาะสม ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็อาจไม่เบ่งบาน เราอาจจะไม่ได้เกิดมาหรือแม้แต่ได้หนังอ่านหนังสืออยู่ต่อนี้ก็เป็นได้
.
หากอยากสมัครงาน แทนที่จะคิดว่า “เป็นไปไม่ได้หรอก เรามีคุณสมบัติไม่ถึง” แค่ลองลงมือทำก็อาจจะส่งผลให้ชีวิตเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
.
การตัดสินใจเลือกทำสิ่งที่อยากทำ อาจเป็นจุดเปลี่ยนในชีวิตระหว่างการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆหรือการใช้ชีวิตไปวันๆ
.
บทสรุปที่เราได้จากทฤษฎีผีเสื้อขยับปีกก็คือ สิ่งที่เราทำในวันนี้จะส่งผลต่ออนาคตอย่างแน่นอน แม้จะเป็นเพียงอะไรเล็กๆน้อยๆก็ตาม และเราไม่มีวันรู้ผลลัพธ์สุดท้ายจากการกระทำและตัดสินใจของตัวเอง เพราะทุกอย่างจะยังส่งผลต่อไปเรื่อยๆไม่จบไม่สิ้น
.
.
.
เรียบเรียงโดย สุขศาสตร์
อ้างอิงจาก หนังสือ Ichigo Ichie โดย Hector Garcia และ Francesc Miralles