Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BETTERCM
•
ติดตาม
11 ต.ค. 2021 เวลา 09:02 • สุขภาพ
ยา Metformin
💢ยาลดน้ำตาลในเลือดเมตฟอร์มิน (metformin) ออกฤทธิ์กระตุ้น AMP-activated protein kinase ทำให้การออกฤทธิ์ของอินซูลินดีขึ้น การสร้างกลูโคสจากตับลดลง ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารลดลง เนื่องจากยาไม่ได้กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน จึงไม่ทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดต่ำ และมักมีผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง เป็นผลดีต่อ macrovascular outcome ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ยานี้จับกับโปรตีนในพลาสมาได้ค่อนข้างดี มีการศึกษาพบว่ายาถูกขับออกทางน้ำนมได้เล็กน้อยและไม่ส่งผลเสียประการใดต่อทารก
เมตฟอร์มินถูกนำมาใช้รักษาโรคเบาหวานในเด็กที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้จากการปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันได้แก่ การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร เป็นต้น รวมทั้งการป้องกัน น้ำหนักตัวเพิ่มจากการใช้ยาจิตเวชบางตัวเช่น valpoic acid และ risperidone นอกจากนี้ metformin ยังอาจนำมาใช้ป้องกันโรคเบาหวานสำหรับผู้ที่ไม่ใช่วัยสูงอายุมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน และระดับน้ำตาลในเลือดสูงไม่มาก
กรณีอื่นๆ ที่มีการใช้เมตฟอร์มิน ได้แก่ ในผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovarian syndrome - POS) เพื่อ ลดอัตราการแท้งและเพิ่มการทำงานของรังไข่ให้ดีขึ้น, ในผู้ป่วย nonalcoholic steatohepatitis (NASH) เพื่อลดอาการตับโตและ abnormalized liver enzyme function รวมทั้งในผู้ป่วยที่มีภาวะ HIV-associated metabolic abnormalities เป็นต้น ภาวะดังกล่าวข้างต้นอาจมีสาเหตุหนึ่งมาจาก insulin resistance syndrome ดังนั้นการใช้ metformin จึงอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเหล่านี้ได้
💢
เมตฟอร์มินเป็นยาที่กินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และมักใช้เสริมฤทธิ์กับยาอื่น
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากยานี้ได้แก่ คลื่นไส้ ท้องเสีย เบื่ออาหาร ลิ้นไม่รับรส จึงแนะนำให้เริ่มใช้ยานี้ในขนาดต่ำก่อนและค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้น โดยทั่วไปผลข้างเคียงที่พบมักค่อยๆ ดีขึ้นได้เองเมื่อใช้ยาติดต่อกันไป 2-3 สัปดาห์
ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายคือ ภาวะเลือดเป็นกรด (lactic acidosis) ซึ่งอาจพบได้ในผู้ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่อง เนื่องจากยานี้มีการขับถ่ายทางไตเพียงอย่างเดียว จึงไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ในผู้ที่มีค่า serum Cr มากกว่า 1.4 มก/ดล ในผู้หญิง
และมากกว่า 1.5 มก/ดล ในผู้ชาย หรือในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิด lactic acidosis
เช่น การทำงานของตับบกพร่อง หรือมีภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ ควรหยุดยานี้อย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อนการตรวจวินิจฉัยโดยใช้ radiocontrast agents เนื่องจากสารรังสีเหล่านี้ อาจทำให้การทำงานของไตบกพร่องชั่วคราวได้ การงดยาเบาหวาน 1-2วัน ก่อนและหลังการตรวจจึงเป็นการช่วยยืดอายุการทำงานของไต
💢
ตัวอย่างยาที่ควรระวังเมื่อใช้ร่วมกับเมตฟอร์มิน
มีผลทำให้ระดับยาเหล่านี้ในเลือดสูงขึ้น เช่น อะไซโคลเวียร์ อัลโลพิวรินอล โคลชิซีน วอร์ฟาริน อะม็อกซี่ซิลลิน ซิมวาสตาติน อะทอวาสตาติน พิทาวาสตาติน ซีเลเนียม บิสมัธสับซาลิไซเลต ซูคราลเฟต ซอร์บิทอล เซทีริซีน เลโวเซทิริซีน ทาดาลาฟิล
มีผลลดประสิทธิภาพของยาเมตฟอร์มิน เช่น อะมิทริปไทลีน
มีผลลดการขับออกของยาเมตฟอร์มิน เช่น ไดโคลฟีแนก กรดโฟลิก ทรามาดอล วิตะมินบี12
เพิ่มปริมาณยาเมตฟอร์มินในเลือดจนอาจเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อใช้ร่วมกับ แอสไพริน ซีลีค็อกซิบ ซูมาทริปทาน แอมโลไดปีน อะทีโนลอล โพรพราโนลอล เลโวฟลอกซาซิน โอฟลอกซาซิน นอร์ฟลอกซาซิน เซอทราไลน์ แมกนีเซียมซัลเฟท โลเพอราไมด์ เทสโทสเตอโรน
💢
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=52
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/247617
http://drug.pharmacy.psu.ac.th/webboard/wball.php?idqa=167
http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/drug_doc/metformin_PIL_500,850mg-final.pdf
https://go.drugbank.com/drugs/DB00331
Metformin ยังไปต่อได้ไหมใน ADA 2023
https://medicine4layman.blogspot.com/2022/12/metformin-ada-2023.html
POSTED 2021-10-11
UPDATED 2022.12.30
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย