12 ต.ค. 2021 เวลา 18:09 • นิยาย เรื่องสั้น
อิยะกับความหมายที่หายไป#4
คิดถึงตุลา คิดถึงOc-to-Ber
"เสื้อกาวน์กับไม้เท้าขาว"
🔆บทที่2•• 13ตุลา
"อาโปหลานยา"
"มานี่••สิลูก"
"มาดูหนังสือเป็นเพื่อนย่า
มะนั่งตรงนี้▪︎▪︎▪︎
หญิงชราเอื้อมมือจับผู้เป็นหลานชาย
"ย่าสบายดีมั้ยครับ"
"สบายดีจ๊ะ"
"หนูเป็นอย่างไรบ้าง เจ็บตรงไหนบ้างมั้ย"
ชายหนุ่มสั่นหน้าแทนคำตอบ
เขาเอื้อมมือสัมผัสหญิงชราผู้มีใบหน้าเปื้อนยิ้มอยู่ตลอดเวลา ผมสีดอกเลาหยักเป็นลอนตามธรรมชาติ ยามต้องแสงจันทร์ก็ดูวับงามสมวัย
" ออนั่น••นาวามานี่สิลูก มานั่งข้างๆย่า "หญิงชราเรียกเด็กหนุ่มชาวญี่ปุ่นซึ่งก็คือเพื่อนสนิทของอาโปหลานชาย เดินมาทางมุมมืดแต่ไกล
"ไม่ได้เจอกันนานโตขึ้นเป็นหนุ่มกันแล้ว ย่ากอดไม่รอบเลย"
ความอบอุ่นที่คุ้นเคยเป็นความอบอุ่นที่รู้สึกปลอดภัย โอบกอดของย่าอุ่นเสมอ
"เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน รักกันไว้ หนักนิดเบาหน่อยก็อภัยให้กัน อยู่ด้วยกันไปนานๆนะ"
"ย่าครับ ผมไม่ได้แต่งงานกัน ย่าอวยพรซะเป็นคู่บ่าวสาวซะงั้น" เด็กหนุ่มท้วง
"ออ!••ย่าขอโทษมันติดปาก ตอนย่ามีชีวิตอยู่ เขาให้ย่ากล่าวอวยพรบ่าวสาวอยู่บ่อยๆ"
หญิงชราอดขำเสียไม่ได้
"พรใดๆที่ว่าประเสริฐ ย่ายกให้หนูหมดเลย"
"งั้นผมขอให้ตาผมหายได้มั้ย"
"ได้ ไหนหลับตาซิ"
"เพี้ยง••หายซะนะคนดี "หญิงชราเป่าที่ตาทั้งสองข้างเด็กหนุ่มเบาๆ
"ทีนี่ก็ลืมตา อ่านหนังสือให้ฟังย่าเร็วเข้า" ผู้เป็นย่าหยิกแก้มเด็กหนุ่มเบาๆ
"อ่าา..ผมเห็นย่าแล้ว นาวานายยังเฉิ่มเหมือนเดิมนะ"
เด็กหนุ่มล้อเลียนเครื่องแต่งกายของเพื่อนเกลอที่ชอบสวมเสื้อกลัดกระดุมทุกเม็ดยันคอ
"พรคุณย่าเจ๋งจริง" เด็กหนุ่มยิ้มตาหยี
"ยังมีพรที่ประเสริฐกว่านั้นอีก เป็นพรที่ย่ายึดถือ เป็นพรที่ต้องทำด้วยตัวเอง ประสบด้วยตัวเองจึงจะรู้ว่าประเสริฐจริง"
หญิงชรามองเด็กหนุ่มทั้งสองอย่างเอ็นดู
แล้วผินหน้าไปเบื้องหน้า แสงแห่งจันทร์สาดส่องไปไปทางทิศนั้น
ภาพชายสูงวัยผมหยักศก สวมแว่น มือถือแผนที่ ดินสอ และสะพายกล้อง ปรากฏเด่นชัด
"ในหลวงรัชกาลที่9" เด็กหนุ่มกล่าวเบาๆ
"ตลอดรัชกาลของพระองค์ท่าน ทรงสอนเรื่องการใช้ชีวิตเป็นส่วนมาก
ย่าถือว่าคำสอนคือพรวิเศษ ใครทำก็เห็นผล
และประกาศผลนั้นด้วยตัวเอง"
"อย่าง••เศรษฐกิจพอเพียง"
"ใช่รึครับย่า เห็นใครๆสมัยนี้ ก็ว่าเป็นแค่ปรัชญา ที่ตั้งขึ้นหิ้งเอาไว้โก้หรู แต่ทำไม่ได้จริง ตอนนี้ก็ไม่เห็นใครจะทำตาม บ้างได้ยิน เขาว่าเขาจะสำรอกได้ยินจนเอียน เห็นว่าเป็นเรื่องล้าหลังไม่เข้ากับยุคสมัย อวยจนเกินจริง••
••ไล่คนให้ไปทำเกษตรซะอย่างนั้น สอนเหมือนกับเราต้องประหยัด ให้พอใจแบบอดๆอยากๆ กลายเป็นคนขี้เกียจไม่ขยันหาเงิน ไม่ทันสมัย ฝรั่ง นักวิชาการบางคนเขาวิจารณ์กันให้ยับ เศรษฐกิจถอยลงคลองกันพอดี " เด็กหนุ่มค้าน
"••จะพูดอย่างนั้นก็ถูกของหลาน แต่เป็นถูกแบบความคิดหลาน แต่ไม่ถูกในความหมายของพระองค์ท่าน ลองอ่านหน้านี้ให้ย่าฟังสิ บางทีหนูอาจจะเข้าใจ▪︎▪︎▪︎"
“•••ฉันพูดเศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ ทำอะไรให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเอง คือทำจากรายได้ 200-300 บาท ขึ้นไปเป็น 2 หมื่น 3 หมื่นบาท คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียง ไปพูดกันเลอะเทอะ เศรษฐกิจพอเพียง คือทำเป็น Self-Sufficiency มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด
ที่ฉันคิดคือเป็น Self-Sufficiency of Economy เช่น ถ้าเขาต้องการดูทีวี ก็ควรให้เขามีดู ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อทีวีดู เขาต้องการดูเพื่อความสนุกสนาน
ในหมู่บ้านไกลๆ ที่ฉันไป เขามีทีวีดูแต่ใช้แบตเตอรี่ เขาไม่มีไฟฟ้า แต่ถ้า Sufficiency นั้น มีทีวีเขาฟุ่มเฟือย เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัดสูทใส่ และยังใส่เนคไทเวอร์ซาเช่ อันนี้ก็เกินไป”
พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล วันที่​ 17 มกราคม พ.ศ. 2544
••
"ถ้าจะพูดให้รวบรัดก็คือ"
"🔅การขวนขวายในเหตุ สันโดษในผล🔅
ก็ขยันขวนขวายในหน้าที่การทำงาน ผลจะมากน้อยก็พึงใจในสิ่งที่มีได้ ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะตนเอง เพราะฉะนั้นจะอาชีพอะไร ก็นำหลักไปใช้ได้หมด
ผู้เป็นย่าสรุป•••
ก็คงเหมือนธรรมะนับวันก็จางหายไป
เพราะไม่มีใครชูแก่นของธรรม
คนทั้งหลายจึงยกคำสอนเป็นเพียงปรัชญา
ที่อ่านแล้วรู้สึกดีแต่ใช้ไม่ได้จริง
หรือเรียนรู้เพื่ออวดภูมิ
แล้วเก็บไว้ในตู้ว่าเป็นของสูง
บางครั้งถึงขั้นเพี้ยนกราบไหว้เพื่อร้องขอ
ไปกราบเอาความดังมากกว่าธรรมซะอย่างนั้น
หารู้มั้ยว่าตลอดชีวิตของพุทธองค์ท่านที่ทรงสอน ก็สอนเรื่องการใช้ชีวิต การเห็นความจริง ความเป็นธรรมดาของชีวิตเท่านั้น
ขบถ~ยาตรา
โฆษณา