Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องกล้วยๆ สวัสดีบานาน่า
•
ติดตาม
12 ต.ค. 2021 เวลา 07:27 • การตลาด
เคยสงสัยไหม....???
ทำไมกล้วยตากถึงใส่น้ำเชื่อม..??
ซึ่งปกติแค่กล้วยตากธรรมดา ก็หวานจะแย่อยู่แล้ว แล้วทำไมยังต้องใส่น้ำเชื่อมอีก
วันนี้มีคำตอบครับ
ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าใจก่อนว่า กระบวนการทำกล้วยตากในอดีตกับปัจจุบัน มีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันออกไป และปัจจุบันมีถึง 4 วิธี
1.การผลิตแบบโบราณ ใช้กระด้ง หรืออาจพัฒนาขึ้นมาอีกนิดก็จะใช้ตะแกรงคลุมด้วยตาข่ายกันแมลง ทำเป็นชั้นๆ แบบคอนโดในการตากกล้วย
2.การผลิตแบบใช้โรงเรือน (ซึ่งคือโดมที่เรียกกันว่า "พาราโบลา" และในแบบพาราโบลายังแยกเป็นแบบพาราโบลาธรรดา ที่อาศัยแสงแดดจากธรรมชาติ เพื่อให้ความร้อนผ่านหลังคาโพลีคาร์บอเนต เข้ามาในโรงเรือน เพื่อทำให้กล้วยแห้ง พร้อมติดตั้งพัดลมและช่องลมเพื่อระบายความเชื้อนในโรงเรือน และโดมอีกชนิดจะมีการติดตั้งด้วยระบบแก๊สสำรองในยามหน้าฝนที่ไม่สีแสงแดด
3.การผลิตแบบตู้อบแห้งขนาดย่อมต่างๆ (ติดตั้งแผงโซลาเซลล์ เพื่อเก็บความร้อน
4.การผลิตด้วยกระบวนการอบ ด้วยตู้อบลมร้อน แทนการตาก ทั้งระบบไฟฟ้า ระบบแก็ส หรือโซลาเซลล์
**ซึ่งทั้ง 4 ประเภท ในบล๊อคนี้จะไม่ขอกล่าวลงลึกในรายละเอียดนะ**
แต่ทั้งหมดของกระบวนการผลิต มีจุดประสงค์เหมือนกัน คือ การทำให้กล้วยแห้ง ด้วยการไล่น้ำในลูกกล้วยออก เพื่อให้กล้วยเกิดความแห้ง ซึ่งเป็น
กระบวนการถนอมอาหาร มิฉะนั้นกล้วยที่สุกจะเน่าเสีย
และเจ้ากระบวนการนี้แหละ คือสิ่งที่จะกล่าวถึง
คือ ปัญหากล้วยตากแห้งกร้าน เพราะกล้วยตากคือกล้วยที่ยังคงมีความชื้นอยู่ ไม่ใช่ของแห้งแบบขนมขบเคี้ยวเหมือนกลุ่มสแน๊ค
แต่เมื่อตากกล้วยด้วย 4 วิธีการข้างต้นที่กล่าวมา
ในช่วงสัปดาห์แรกๆ กล้วยจะยังคงมีความชื้น น่ารับประทาน แต่หากผ่าน 1 สัปดาห์ไปแล้ว กล้วยตากจะกลายเป็นกล้วยแห้งทันที สีจะซีด ผิวกล้วยจะเริ่มแห้ง ดูกร้าน ไม่สวย กระด้างเมื่อจับ
ซึ่งจะทำให้ขายยาก หรือขายไม่ได้
ดังนั้นวิธีการคือ จะทำอย่างไร ให้กล้วยดูมีความฉ่ำ ผิวกล้วยไม่แห้งกระด้าง จึงเป็นที่มาของการใส่น้ำเชื่อม เพื่อวัตถุประสงค์ในการเคลือบผิว
ซึ่งกระบวนการเคลือบผิวกล้วยนี้
ยังมีอีกหลายวิธี เช่น
สมัยก่อน ก็จะใช้ กล้วยที่สุกงอมจัด เละๆ ผิวไม่สวย หรือกล้วยตกเกรดนำมาปลอกเปลือก ผสมน้ำและเกลือ แล้วนำมาเคี่ยวรวมกัน พอเหนียวได้ที่ ก็นำมาราดกล้วยตาก และนำไปตากต่ออีก 1-2 แดด ผิวกล้วยก็จะดูฉ่ำ (เพราะน้ำตาลในกล้วย ที่เรียกกันว่าไซรัป) นั้นไปเคลือบผิวกล้วยเรียบร้อย แต่ยุ่งยาก เสียเวลา และต้นทุนสูง
จึงมีกระบวนการเคลือบแบบที่ 2 คือ ซื้อหัวน้ำเชื่อม กลิ่นผสมอาหาร ต่างๆ นำมาผสมกันแล้วนำมาเคลือบลูกกล้วย สะดวก รวดเร็ว และประหยัดเวลาไปได้มาก
และนี่คือสาเหตุหลักที่ว่า ทำไมกล้วยตากถึงต้องใส่น้ำเชื่อม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ไม่ดี แต่เป็นวิธีการแก้ปัญหาในการผลิต เพื่อไม่ให้กล้วยตากแห้งเสีย
และยิ่งกล้วยตากที่มีอายุการผลิตนานๆ แล้วละก็ สิ่งนี้ยิ่งเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ ส่วนท่านที่ชื่นชอบหรือไม่ชื่นชอบกล้วยตากใส่น้ำเชื่อม นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ
วิธีการดูกล้วยตากใส่น้ำเชื่อม
1.ดูจากความวาว ของกล้วย ถ้ามีความเงา วาว ซึ่งผิดธรรมชาติของกล้วยตาก นั่นคือกล้วยตากใส่น้ำเชื่อม
2.สังเกตุ จากเวลารับประทาน เมื่อใช้มือจับ จะมีความเยิ้ม ฉ่ำ แฉะเปื้อนมือ นั่นเกิดจากน้ำเชื่อมเคลือบผิวกล้วย
3.ดูจากอายุจากวันผลิตและวันหมดอายุ ถ้าสามารถเก็บไว้ได้นานๆ ยิ่งนานหลายเดือน นั่นคือใส่น้ำเชื่อมแน่นอน (ส่วนบางเจ้าเก็บได้นาน บางเจ้าเก็บไม่ได้นาน แล้วกล้วยตากเริ่มมีจุดขาว หรือขึ้นรา ทำไมเวลาแตกต่างกัน นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่งนะครับ ไว้จะกล่าวในโอกาสต่อไป)
4.สังเกตุเวลากัด เมื่อแตะลิ้น จะสัมผัสความหวานของน้ำเชื่อมได้ทันที ซึ่งไม่ใช่เกิดจากความหวานของเนื้อกล้วย
สรุป : ถึงยังไงก็แล้วแต่ สำหรับท่านที่ชื่นชอบการทานกล้วยตาก ไม่ว่าจะเป็นสูตรออริจินอล ไม่ใส่น้ำเชื่อม หรือประเภทใส่น้ำเชื่อมก็ตามที ก็ขอให้ท่านได้ร่วมสนับสนุนให้กับกลุ่มคนทำธุรกิจนี้ด้วยนะครับ เพราะทุกยี่ห้อ ล้วนแต่พยายามสร้างสรรค์ พยายามแก้ปัญหาต่างๆของธุรกิจ ที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนสมัยก่อน ให้ได้มีโอกาสเดินอยู่บนเส้นทางธุรกิจ เพื่อส่งต่อแก่ลูกหลานเรา ให้ได้รู้จักกล้วยตากไปนานๆ ก่อนที่ธุรกิจที่เกิดจากรากเหง้าแห่งภูมิปัญญาไทยนี้ จะหายไปครับ
By : Sawasdee Banana
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย