Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
World History by Pam
•
ติดตาม
12 ต.ค. 2021 เวลา 08:33 • ประวัติศาสตร์
หวายแช่เยี่ยว คือ อะไร? ทำไมต้องแช่เยี่ยว?
ที่มา: รูปที่ 1 https://twitter.com/hashtag/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%88%E0%B8%B5 รูปที่ 2 http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7983271/K7983271.html รูปที่ 3 https://pantip.com/topic/37468015
เชื่อว่าหลายคนที่ดูละคร แนวพีเรียดอาจคุ้นชินกับฉากการลงโทษข้าทาสบริวารด้วยการเฆี่ยนหรือโบยด้วยหวายกันมาบ้าง ซึ่งการเฆี่ยนด้วยหวายเป็นการลงโทษผู้กระทำความผิดของไทยในสมัยโบราณตามระบบจารีตนครบาล คนที่โดนเฆี่ยนจะมีอาการเจ็บแสบ และ ปวดแผลเพราะหวายจะไปกระชากหนังกำพร้าให้หลือแต่เนื้อแดงๆ คิดเอาเองก็แล้วกันว่าจะเจ็บแสบขนาดไหน?
ที่นี้ก็มาถึง”หวายแช่เยี่ยว” ฟังขื่อดูไม่น่าโสภาแต่มันมีอยู่จริงนะ หวายแช่เยี่ยวเป็นหนึ่งใน 3 ประเภทของหวายที่ใช้ในการลงโทษคนผิด หวายทั้ง 3 ประเภทนี้ ได้แก่
1. หวายแช่น้ำแสบ คือ หวายที่เอาไปแช่ในน้ำเกลือ (เกลือที่เราใช้ทำกับข้าวกันนี่แหละค่ะ) จุดประสงค์ก็เพื่อให้น้ำเกลือซึมเข้าไปในเนื้อหวาย พอเอาหวายนี้ไปโบยใคร คนๆนั้นก็จะเจ็บแสบบาดแผลอย่างมากเพราะน้ำเกลือจากหวายซึมเข้าแผล (โหดซะไม่มี...) “หวายแช่เยี่ยวก็เป็นหนึ่งหวายแช่น้ำแสบเพราะสรรพคุณของน้ำปัสสาวะก็คล้ายคลึงกันกับน้ำเกลือนั่นแหละค่ะ
2. หวายกระชากหนังกำพร้า คุณสมบัติก็ตามชื่อเลย คือ หวายชนิดนี้จะทำหน้าที่ดึงหนังกำพร้าให้หลุดออกจากผิวหนังบริเวณที่ถูกตี จนเหลือแต่เนื้อแดงๆ เพราะที่ปลายไม้หวายหุ้มด้วยเปลือหวายขัด เวลาโบยเปลือกหวายก็จะกระชากหนังออกมานั่นเอง
3. หวายสามแนว เป็นหวาย 3 เส้น ที่มัดรวมกันทำให้มีน้ำหนัก เวลาโดนเข้าไปน่าจะทั้งเจ็บและจุก การเฆี่ยนจะใช้เป็นยก ยกล่ะ 30 ครั้ง
ในประวัติศาสตร์การเฆี่ยนด้วยหวายที่สำคัญครั้งนึงก็คือการลงโทษโบยท่านพระยาโกษาเหล็ก ในสมัยของสมเดัจพระนารายณ์มหาราช ซึ่งได้มีบันทึกของฝรั่งในสมัย(บาทหลวงเดอะแบส)นั้นว่า “เหมือนกับการถลกหนัง” ออกมาเลย จากบันทึกได้ระบุไว้ว่า
“วิธีลงทัณฑ์กรรมนี้คือ เขาจับผู้กระทำผิดมัดมือโยงทั้งสองข้าง แล้วเฆี่ยนหลังอันเปลื่อยเปล่าลงมาถึงบั้นเอวด้วยหวายเส้นเล็กๆพันด้วยเชือกเส้นเล็กๆที่แข็งมาก จำนวนครั้งที่โบยนั้นเป็นไปตามโทษานุโทษ แต่โดยธรรมดาแล้วการโบยนั้นก็ถลกหนังออกจากหลังนั้นที่เดียว ท่านพระยาพระคลัง (โกษาเหล็ก) ได้รับการลงโทษทัณฑ์โบยอย่างหนัก ประกอบด้วยความอับอายขายหน้าจึงล้มป่วยลงเป็นไข้มีอาการหนัก พระยาพระคลังนั้นถึงแก่อนิจกรรมในเวลาไม่ช้าต่อมา”
การลงโทษเฆี่ยนด้วยหวายได้ยกเลิกไปจากเมืองไทยเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 เพราะไทยมีการนำวิธีการลงโทษพิจารณาคดีความตามแบบตะวันตกมาใช้ ในปัจจุบันนี้มีบางประเทศที่ยังคงใช้การเฆี่ยนตีลงโทษผู้ก่ออาชญากรรม ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนของเราที่ยังคงใช้การเฆี่ยนตี ได้แก่ สิงค์โปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน
การลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีนี้หลายคนก็มองว่าเป็นการกระทำที่ป่าเถื่อนและละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ฝ่ายที่สนับสนุนก็มองว่ามันเป็นวิธีที่ช่วยควบคุมปัญหาอาชญากรรม และปกป้องความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้กับสังคม อย่างเช่นในประเทศสิงค์โปร์ระหว่างที่ทำการเฆี่ยนนักโทษ จะต้องมีแพทย์ที่ทำการสังเกตุการอย่างใกล้ชิด ถ้าเห็นว่านักโทษจะทนรับการลงโทษไม่ไหวก็จะให้พักการลงโทษเอาไว้ก่อน จนกว่าจะนำนักโทษไปรักษาให้มีสภาพหายดีแล้วจึงนำกลับมารับการลงโทษต่อจนครบ
ในความคิดของผู้เขียนมองว่าเราไม่สามารถสรุปได้ว่าการลงโทษด้วยการเฆี่ยนตีเป็นเรื่องป่าเถื่อนไร้มนุษยธรรม หรือเป็นเรื่องที่ควรนำมาใช้แก้ปัญหาอาชญากรรม การเลือกใช้วิธีการลงโทษแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับสภาพพื้นฐานทางสังคมของประเทศนั้นๆว่ายอมรับกับการกระทำกังกล่าวได้หรือไม่
แหล่งข้อมูล
Facebook.com/thaihistorytalk
Matichon.co.th/entertainment/news_888083
Photo
Benja
talk.mthai.com/politics/456763.html
Https://images.app.goo.gl/9iw82ta1xiuivkUFA
3 บันทึก
2
4
3
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย