14 ต.ค. 2021 เวลา 01:02 • สุขภาพ
🚶‍♀️โรครองช้ำ​ หรือ​ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ​ (Plantar Fasciitis)
🤬อาการสำคัญของโรคนี้ คือ เมื่อลุกขึ้นเดิน 2-3 ก้าวแรกหลังจากตื่นนอนในตอนเช้า หรือหลังจากนั่งพักขาเป็นเวลานาน จะมีอาการปวดมาก เนื่องจากเกิดการกระชากของเอ็นฝ่าเท้าที่อักเสบอย่างทันทีทันใด แต่เมื่อเดินไประยะหนึ่ง เอ็นฝ่าเท้าจะค่อยๆ ยืดหยุ่นขึ้น อาการเจ็บส้นเท้าจึงค่อยๆทุเลาลง ในกรณีทีีมีอาการมากขึ้น​ จะรู้สึกปวดส้นเท้าอยู่ตลอดเวลา​ จากการที่มีหินปูนเกิดขึ้นบริเวณกระดูกส้นเท้าที่เอ็นฝ่าเท้ายึดเกาะอยู่ จนอาจทำให้จังหวะการเดินหรือลงน้ำหนักผิดปกติไปจากเดิม
🤓สาเหตุเกิดจากการใช้เท้าทำงานมากเกินไป จนการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า​
จากงานที่มีการเดินมากหรือยืนนาน
การมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น พื้นรองเท้าที่แข็งเกินไป​
การเดิน/วิ่งบนพื้นผิวแข็ง (เช่น พื้นซีเมนต์หรือคอนกรีต)
ปัจจัยทางโครงสร้างร่างกาย เช่น เท้าแบนเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป หรือเส้นเอ็นยึดบริเวณน่องทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ
😼การรักษาโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ จะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ป่วยเป็นหลัก เพราะการใช้ยาเพียงอย่างเดียวไม่ทำให้หายได้ การรักษาที่ได้ผลดีส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาโดยวิธีอนุรักษ์นิยม ได้แก่ การนวดและยืดเอ็นใต้ฝ่าเท้า การยืดเอ็นร้อยหวาย​ ทำกายภาพบำบัดยืดเอ็นฝ่าเท้าและกล้ามเนื้อน่องเป็นประจำ​ หรือแม้แต่การเล่นโยคะ
นอกจากนั้นต้องมีการปรับลักษณะของรองเท้า โดยรองเท้าที่เหมาะสม คือ รองเท้าที่มีพื้นหนานุ่มและมีส้นสูงประมาณ 1 นิ้ว
🏥หากปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์ ซึ่งอาจพิจารณาฉีดยาต้านการอักเสบบริเวณส้นเท้า, การใช้คลื่นกระแทก การฉีดเกล็ดเลือดซึ่งได้จากการเจาะเลือดผู้ป่วยมาปั่นแยกเอาเฉพาะส่วนเกล็ดเลือด แล้วฉีดเข้าไปบริเวณเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าที่มีการอักเสบ​ ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีต่างๆแล้วไม่ได้ผล ก็จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อเลาะเอาเนื้อเยื่ออักเสบทีียึดเอ็นฝ่าเท้า หรือเอาหินปูนที่เกาะบริเวณกระดูกส้นเท้าออก
POSTED 2021.10.14
โฆษณา