Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลูกชิ้นหนีเรียน
•
ติดตาม
14 ต.ค. 2021 เวลา 05:00 • หนังสือ
ความจำดี ๆ เหมือนความรักดี ๆ ไหมนะ !?
ขอบคุณรูปวาดสวย ๆ จากคุณ kdrama aka
เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนานว่า พรสวรรค์ หรือ การฝึกฝนที่ทำให้คนเรามีระดับความเร็วและปริมาณในการจดจำที่แตกต่างกัน
แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีการแข่งขันความจำมากมายที่พิสูจน์แล้วว่า คนที่มีความจำปกติก็เข้าร่วมการแข่งขันแล้วเป็นแชมป์ได้หากสามารถเรียนรู้ ฝึกฝน คิดค้นเทคนิคการจำที่หลายคนเรียกรวม ๆ กันว่า “การจัดระเบียบความคิด”
ข้อมูลที่เราจะเล่าในวันนี้ เป็นข้อมูลจากที่ไม่ยอมอ่านหนังสือเรียน แต่อยากอ่านหนังสือนั่นนี่ไปหมด จนเจอหนังสือแนวนี้ พออ่านแล้วก็หลงใหล อ่านไปเรื่อย ๆ จากเล่มเดียวก็ปาไป 4-5 เล่ม คลิปใน YouTube ยาว ๆ อีกเป็น 10 คลิปซึ่งเกี่ยวกับเรื่องของความจำ
ไม่รู้ว่าเรื่องบังเอิญหรือไม่ ที่เทคนิคความจำที่ได้อ่านจากหนังสือนั้น บังเอิญไปตรงกับหลักคิดหรือหลักจำที่เราชอบใช้อยู่แล้วในบางส่วน ซึ่งเหตุผลที่เราจำแบบนั้น ตอนนั้นก็แค่มองว่า การจำอะไรเป็นรหัสลับมันเท่ดี ไม่ยักรู้มาก่อนว่า “มันคือเทคนิคความจำ”
‘ไม่เชื่อเหรอ ? ย้อนกลับไปอ่านซีรี่ย์ตีโกณมิติสิ จะเห็นแฮมเบอร์เกอร์เอง 🤣😂’
เทคนิคความจำที่เราจะพูดถึงนี้ จะไม่ได้พูดโดยละเอียด แต่จะพูดแค่ส่วนที่เราชื่นชอบเท่านั้น เพราะถ้าจะให้เล่าทั้งหมดโดยละเอียด ก็คงจะยาวเทียบเท่าหนังสือสักเล่ม เพราะสิ่งที่เราได้อ่านมิใช่หลักการจำทั้งหมด ยังรวมถึงเทคนิคที่ผู้เขียนคนนั้นคิดค้นขึ้นมาใช้เองด้วย
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะนำเสนอนั้น ยังคงเป็นหลักการ มิได้พูดถึงเทคนิคของผู้เขียนหนังสือเหล่านั้น แต่พูดถึงหลักความจำที่เป็นแก่นในการสร้างเทคนิค
หลายเทคนิค เห็นพ้องต้องกันว่า ทุกอย่างเริ่มมาจาก “ความเข้าใจ”
ความเข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะความเข้าใจหมายถึง ความคิด ความรู้สึก หรืออะไรก็ตามเกี่ยวกับสิ่งนั้น โดยถ้าเราสามารถเปลี่ยนสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นคำพูดได้ นั่นแสดงว่าเราสามารถเข้าใจสิ่งนั้น
ดังคำคมของคุณ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่บอกว่า…
ขอบคุณรูปภาพจาก ไทยแฟรนไชส์เซ็นเ
ที่จริง หลายสิ่งหลายอย่างก็เริ่มต้นจากความเข้าใจกันทั้งนั้น…
ถ้างั้น เราจะทำความเข้าใจอย่างไรดีละ เพราะว่า ความเข้าใจของคนเรามันไม่เท่ากันนี่นา !?
// ขอขัดสักครู่ เราก็เป็นคนหนึ่งที่อธิบายสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยจะเคลียร์ ต้องใช้เวลานานกว่าจะรู้ว่าผู้ฟังเข้าใจ หรือไม่เข้าใจอะไรในแต่ละครั้งของบทสนทนา บางทีก็เข้าใจผิดกันไปเลย 🥺แต่อย่างว่า เราต้องหาคำอธิบาย ความคิด ความอ่าน ความรู้สึกตัวเองให้ได้…และเพจนี้ก็เกิดขึ้นเพื่อฝึกอธิบาย นั่นแหละเหตุผล 😆
ถ้าเราอยู่บนดวงจันทร์ เราก็คงเห็นโลกโคจรรอบดวงจันทร์เป็นแน่แท้
แต่ถ้าเราอยู่บนโลก เราก็คงเห็นดวงจันทร์โคจรรอบโลกตามปกติแน่นอน
แล้วเราที่อยู่บนดวงจันทร์จะทำความเข้าใจอย่างไรว่า
“แท้จริงดวงจันทร์ต่างหาก ที่โคจรรอบโลก”
นี่แหละคือความเข้าใจ และกระบวนการก็มีหลากหลายแล้วแต่บุคคลชอบ เช่น สมัยนี้ออกไปนอกโลกและเห็นความจริงได้ (ถ้าคุณมีเงินมากพอจะไปเที่ยวอวกาศน่ะนะ) แต่สมัยก่อนก็ใช้ฟิสิกส์ เปรียบเทียบนั่นนี่ คำนวณด้วยคณิตศาสตร์จนพบพฤติกรรมที่แท้จริง อย่างตอนที่กาลิเลโอสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวพฤหัสกับดวงจันทร์ว่ามีคาบที่ไม่น่าเป็นไปได้หากดาวเหล่านั้นโคจรรอบโลกจริง ๆ
// ฟิสิกส์คือมารยาเปรียบเทียบ !? ถ้าไม่เคยได้ยินไปอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้ได้นะ อิอิ 🤣
เมื่อเข้าใจแล้ว เราจะจำสิ่งที่เข้าใจได้เยี่ยงไรกันนะ !?
จริง ๆ ส่วนตรงนี้ มีหลายเทคนิคมากมาย หลายวิธีการ เยอะมาก แต่ก็มีคนอธิบายไว้ได้อย่างค่อนข้างครอบคลุมในคำจำกัดความของทุกคำจำกัดความของขั้นตอนนี้ นั่นก็คือ “การจัดระเบียบความคิด”
ถ้ามีใครสอนคุณให้จำเป็นภาพ ของให้เข้าใจว่า นั่นคือหนึ่งใน methods ในการจัดระเบียบความคิด ซึ่งที่จริงตรงส่วนนี้แหละ ที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ไม่ว่าจะ เขียน วาดรูป คิดเป็นภาพ เอาไปเปรียบเทียบ (เหมือนสูตรตรีโกณกับแฮมเบอร์เกอร์) ทำสรุป บลา ๆ ของเหล่านี้แหละ คือ การจัดระเบียบความคิด
บางทีเราจำได้ แต่นึกไม่ออก เหมือนจะรู้ แต่นึกไม่ออก นั่นก็เหมือนกับ ห้องเอกสารที่รกรุงรัง มีทุกอย่างที่ต้องการอยู่ แต่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน การจัดระเบียบก็คือ การจัดหมวดหมู่ ประเภท จัดลำดับตาม Alphabets หรืออะไรก็ตาม ทำให้เราสามารถหยิบเอกสารมาใช้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
ขอบคุณรูปภาพจาก pngtree
ส่วนการจัดระเบียบทางความคิดนั้น ขึ้นกับแต่ละบุคคลว่าชอบแบบไหน เรามิอาจไปบอกคุณได้ว่า การคิดเป็นภาพจะเป็นระเบียบกว่าอย่างอื่นอย่างไร
แต่ก็มีเทคนิคหนึ่ง ที่ทุกเทคนิคยอมรับ และทุกคนเล่าขานกันว่า นี่คือเทคนิคหรือวิธีการเรียนรู้ตั้งแต่ 2000 กว่าปีที่แล้ว นั่นคือ การจินตนาการถึงบางอย่างที่แปลก บ้าบอ และยากที่จะลืมที่สุด แล้วเราจะไม่ลืมมัน !?
ซองจดหมาย กาแฟ เหรียญ หลอด สะพาน ส้ม โคมไฟระย้า ลิง พิซซ่า ตัวอักษรดับเบิ้ลยู
10 คำข้างต้นคือ คำที่ปรากฏในหนังสืออัจฉริยะนักจำ ตอน ภารกิจพิชิตแชมป์นักจำ ของ Eran Katz (เรากดดาวน์โหลดหน้าหนังสือไม่ได้ ไม่รู้ทำไม ;-;) ซึ่งภายในจะยกตัวอย่างวิธีการจำอันนี้ด้วยเรื่องราวสุดแปลกที่รู้สึกถึงได้ทุกประสาทสัมผัสทั้ง 5
แน่นอนว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่เป็นแก่นของหนังสือทุกเล่มที่เราอ่าน (ซึ่งเราไม่รู้ว่าเล่มเกี่ยวกับความจำเล่มอื่นเป็นเยี่ยงไร) จึงอยากจะเล่าให้ฟัง
วิธีการจำทุกอย่าง ถ้าตีความหลายอย่างเป็นตัวเลขให้เป็นอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร แล้วตีความ หรือมองเป็นสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งของ จากนั้น เราก็จะสร้าง Story ให้กับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งเรื่องราวจะต้องแปลก บ้าบอ ยากที่จะลืมและรับรู้ได้ถึงประสาทสัมผัสทั้ง 5
ตัวอย่าง คลิปความจำที่น่าทึ่ง
คลิปจำไพ่:
https://youtu.be/MZcQxMFph_4
คลิปจำค่า pi:
https://youtu.be/mI96Ph-yHcA
โอเค เราจะบอกว่า หนังสือจาก Eran Katz ที่บอกไป เราอ่านเมื่อปีที่แล้วราว ๆ เดือนกันยายน แต่เราดันจำคำทั้ง 10 คำได้เฉยเลย (ที่รู้เพราะว่า เมื่อวาน ตอนอ่านหนังสือเกี่ยวกับความจำอีกเล่มจบ และอยากเขียนเรื่องนี้ เราจึงลองเขียน 10 คำนี้ลงในกระดาษ แล้วเปิดหนังสือเช็ค ปรากฏว่าตรงกันจ้าาา 🥳)
Semicolon น่าจะติดจากการเขียนโค้ด ซึ่งอ่านได้จาก “อยากเขียนโค้ดเดอะซีรี่ย์” นะครับ
เราสร้าง Story ต่างจากหนังสือ เป็นดังนี้
บนโต๊ะทำงานในคฤหาสน์สุดหรูแห่งหนึ่งช่วงเวลากลางดึกที่เจ้าของบ้านน่าจะหนีไปเข้านอนแล้ว สายลมอ่อน ๆ พัด “ซองจดหมาย” ที่วางอยู่ริมขอบโต๊ะ ก่อนลมกรรโชกจะพัดให้แก้ว “กาแฟ” ร้อน ๆ หกใส่ซองจดหมาย ทำให้ ”เหรียญ” 10 บาท ขาดจากซองจดหมายตกใส่ “หลอด” ที่เสียบกับขวดน้ำอยู่เป็นสองท่อน แล้วหลอดที่ฉีกออกข้างหนึ่งไปชนกับ “สะพาน” ของเล่นที่มี “ส้ม” วางอยู่ จากการสัมผัสนิดเดียวก็ทำให้สัมล่วงลงไหลไปตามทางตกบันไดจนมีแรงมากพอไปชน “โคมไฟระย้า” ที่เพดานชั้นล่าง มันค่อย ๆ แกว่งดังเอี๊ยดอ๊าดไปมาก่อนจะตกทับกรง “ลิง” ทำเสียงดังลั่น ที่เจ้าของบ้านเลี้ยงไว้ มันยิ้มกระโดดดีใจกับอิสระในค่ำคืนนี้ มันวิ่งไปทั่วก่อนจะไปหยิบ “พิซซ่า” บนโต๊ะกลางห้องนั่งเล่นที่วางขึ้นอืดอยู่
แต่รสชาติยังหนึบหนับและกลิ่นชีสยังเตะจมูกทุกคนที่เดินผ่านไม่แม้แต่ลิง ซึ่งเสียงดังจากโคมไฟระย้าที่ตก ทำให้เจ้าของบ้านตกใจตื่นมาเห็นลิงกินพิซว่าและห้องที่เละจากโคมไฟระย้าตก เขาทำมือเป็นรูป “ตักอักษรดับเบิ้ลยู” ประมาณว่า อะไรกันเนี่ย ซึ่งลิงก็ทำตาม ก่อนที่เขาจะร้องกรี๊ดจนกระจกทุกบานในบ้านแตกเป็นเสี่ยง ๆ
ก็มือเป็นรูป W ก็คล้ายแบบภาพด้านล่างนี้แหละครับ 😳
ขอบคุณรูปภาพจาก YouTube ช่อง BLACKPINK เพลง LALISA
จะเห็นว่า Storytelling ไม่ต้องสมจริง แต่มีเรื่องราว มีการใช้ประสาทสัมผัส ไม่ว่าจะ
ภาพ-เห็นภาพตาม
สัมผัส-ลมพัด กาแฟร้อน
กลิ่น-กลิ่นชีส
รสชาติ-รสชาติพิซซ่า
เสียง-เสียงแกว่งของเสียงโคมไฟระย้า และเสียงตกดังจนคนตื่น
ลองคิดดูสิ มีกี่เรื่องที่เราอยากจะลืม แต่พอนึกถึง ความรู้สึก ความสัมผัสก็แทบจะรู้สึกได้ในทันที ถ้าเราเอาสิ่งต่าง ๆ ที่อยากจำมาเปลี่ยนเป็นสิ่งบางอย่างแล้วสร้าง Story ที่ยากที่จะลืม นั่นก็อาจะเป็นหนทางในการจดจำนั่นเอง !?
ถ้าเรื่องที่คิดถึง มีความเกี่ยวโยงกับความรู้เก่าด้วย เราจะไม่ได้แค่จำเก่งเท่านั้น แต่จะจำได้เร็วอีกด้วย 👍
ทบทวน คือ หนึ่งในความสำคัญ เราไม่อาจจำอะไรได้ในครั้งเดียวเพราะความจำเรามี 3 แบบ คือ จำระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
การทบทวนก็เหมือนกับการบอกว่า “ต้องการเอกสารชุดนี้” สมองจึงจะทำไฟล์และเอาไปเก็บในระยะยาวให้นั่นเอง
มีหลากหลายเริ่มมากที่บอกว่า ควรทบทวนตอนไหน ซึ่งหนึ่งในที่เราเอามาปรับใช้ก็คือกฎจำนวนเฉพาะ (เหมือนที่ J.K. Rolling ชอบตัวเลขที่เป็นจำนวนเฉพาะ) ก็คือ 1 3 7 นั่นคือ 1 วันหลังจากที่ได้เรียนรู้ 3 วันหลังจากที่ได้เรียนและ 7 วันหลังจากที่ได้เรียนรู้
ซึ่งที่จริงบางตำราก็บอกว่า ต้อง 1 3 7 14 21 28 หรืออื่น ๆ แต่เอาที่เราลองใช้ ก็ 1 3 7 เราก็จำ 10 คำจากหนังสือได้แล้ว ทั้งที่ไม่รู้ด้วยซ้ำจะจำทำไม แต่เรื่องเล่านั่นแหละ ที่ทำให้ยากที่จะลืม
พูดแล้วก็อยากกินพิซซ่า กับต่อสะพานสวย ๆ สักโมเดลจังเลย 🙃
Hint: เราทำตารางทบทวนขึ้นมา แบ่งเป็น 3 คอลัมน์ ให้ติ๊กถูกตามช่อง 3 ช่อง 1 3 7 วันตามลำดับ วันที่เริ่ม และชื่อเรื่อง โดยกำลังคิดว่าจะลองใช้ Application ช่วยเตือนให้ทบทวนสิ่งที่อ่าน เพราะบางทีก็ลืมทบทวน โดยเฉพาะวิชาที่ไม่ได้ชอบเป็นพิเศษ 😂🤣😅
ก่อนจะไปขั้นตอนสุดท้าย ที่จริงเราไม่ได้อ่านแค่หนังสือความจำตลอดหลายเดือนที่ผ่านมานี้
// ถึงแม้ว่าหนังสือความจำเล่มแรกจะอ่านเมื่อปีที่แล้วก็เถอะ แต่เพิ่งมาอ่านหนัก ๆ ตอนปิดเทอมนี้เอง 👀
แต่เราก็อ่านเรื่องเกี่ยวกับอาหารการกินและการนอนหลับด้วย ซึ่งเราอ่านหลังจากที่หนังสือความจำเล่มหนึ่งบอกไว้ว่า “สุขภาพสำคัญ” และนั่นหมายถึง การนอนที่เพียงพอ และอาหารที่ดีมีประโยชน์ 😄
แต่ความจำเพาะนั้นมีกุบทุกเรื่อง อาหารที่เหมาะกับการพัฒนาสุขภาพเรา อาจไม่เหมาะกับของคนอื่น เราจึงจะข้ามเรื่องนี้ไป แต่บอกเพียงว่า การกินอาหารที่เลวร้ายอย่าง ไขมันไม่ดี แป้ง น้ำตาล ในปริมาณมาก ไม่ดีเท่าที่ควร
ส่วนการนอนหลับ ส่วนตัวเรายังปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ จึงไม่ขอบรรยาย 🤣😅
อย่างที่เกริ่นไปในช่วงต้น เราก็อ่านหนังสือวรรณกรรม นิยายรัก หรือกวีนิพนธ์เกี่ยวกับความรัก รวมถึงจิตวิทยา พฤติกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาบ้าง เราจะพบว่า ความจำก็เหมือนความรัก ตรงที่ต้องเข้าใจ และมีการจัดระเบียบ มีการติดต่อ ไว้วางใจกันและความเอาใจใส่ ส่งต่อทางตรงทางอ้อม เหมือนความจำที่ต้องเข้าใจ มีการจัดระเบียบ ทบทวน ใส่ใจที่จะจำทั้งทางตรงและทางอ้อม
มีเรื่องเล่าในหนังสือแนวจิตวิทยาเล่าว่า เคยมีสามีภรรยาคู่หนึ่งจะเลิกกันหลังจากแต่งงานมาหลายสิบปี แต่พอเขาเอามาชวนคุยและปรับความเข้าใจกันและกัน สุดท้ายพบว่า ฝ่ายหญิงไม่ชอบที่ฝ่ายชายไม่โกนหนวด ส่งผลให้เกิดเรื่องราวทะเลาะกันต่าง ๆ ตลอดหลายสิบปีจนนำไปสู่การตัดสินใจที่จะหย่ากัน โชคดีที่จิตแพทย์คนนั้นสามารถระบุต้นตอของปัญหาและปรับเปลี่ยนให้ทั้งสองคืนดีกันได้
จะเห็นว่า ความเข้าใจ ระเบียบ การทบทวนนั้นคือหัวใจหลักเลย
ขอปิดท้ายเนื้อหาด้วยคำคมนะครับ ว่า… “ความซ้ำ ๆ ซาก ๆ คือ บิดาและมารดาของความจำ” และคำกล่าวนี้ก็เป็นคำปรัชญาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ศาสดาของศาสนาพุทธนั่นเอง
มีอะไรแลกเปลี่ยนกันได้เสมอนะงับ
และสุดท้าย ฝากติดตามเรื่องราวของ ลูกชิ้น ที่หนีเรียนมาทำอะไรสร้างสรรค์ด้วยนะครับ สวัสดีครับคุณผู้อ่าน 🙏🙂
บันทึก
2
6
2
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย