Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฐานเศรษฐกิจ_Thansettakij
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
14 ต.ค. 2021 เวลา 14:04
รู้จัก โรคแพนิค เช็คอาการเป็นอย่างไร ไม่อันตรายแต่ควรรักษา
1
ฐานเศรษฐกิจ พามาทำความรู้จักกับ โรคแพนิค ว่าอาการเป็นอย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงไหนที่กระตุ้น ที่สำคัญไม่ได้เป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่ควรรักษา
จากกรณีที่ครั้งหนึ่ง หนุ่ม กรรชัย พิธีกรชื่อดังระดับประเทศเคยเป็น"โรคแพนิค" ไม่ออกจากบ้านเลยถึง 1 ปี และเกือบเป็นโรคซึมเศร้าเพราะเครียดจัดจากสถานการณ์โควิด
2
วันนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ โรคแพนิค มาให้ได้ทราบถึงอาการ ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และวิธีรักษา มานำเสนอ
1
“โรคแพนิค” คืออะไร
2
“โรคแพนิค” (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน
จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแม้ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัว ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก ไม่กล้าออกไปไหน หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ จนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
อาการเป็นอย่างไร
* ใจสั่น แน่นหน้าอก
* หัวใจเต้นแรง
* หายใจหอบ หายใจถี่
* เหงื่อออกมาก เหงื่อแตก
* ตัวสั่น
* ปั่นป่วนในท้อง
* วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม
* หวาดกลัว รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง
* มือสั่น เท้าสั่น
* ตัวชา ควบคุมตัวเองไม่ได้
3
ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคแพนิค
1.อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ
2.กรรมพันธุ์ คนที่มีญาติหรือประวัติครอบครัวเป็นโรคแพนิค มีแนวโน้มเป็นได้มากกว่าคนทั่วไป
3.การใช้สารเสพติด
4.ความผิดปกติของฮอร์โมน อาจทำให้สารเตมีในสมองเสียสมดุลได้
5.มีประสบการณ์ เคยผ่านเหตุการณ์เลวร้ายในชีวิต
6.พฤติกรรมต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น เช่น ทำงานกับคอมพิวเตอร์และมือถือนานๆ เผชิญความกดดัน อยู่ในสภาวะที่เร่งรีบ เครียดวิตกกังวล ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนน้อย
7.เครียดสะสม เกิดจากการใช้ชีวิตอย่างจริงจัง เคร่งเครียด อยู่ในสภาวะกดดันเป็นประจำ
1
ไม่อันตรายแต่ควรรักษา
1.โรคแพนิค สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ
2.การตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เพื่อการรักษาที่ได้ผลดีนั้นจะต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย
3.ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วย รวมถึงคนรอบข้าง คนใกล้ชิด ควรทำความเข้าใจกับโรคนี้และให้กำลังใจผู้ป่วย
4.การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง
2
5.ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผ่อนคลายจากความเครียด รับประทาน พักผ่อนให้เพียงพอและเป็นเวลา
6.อาจหลีกเลี่ยงการใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ รวมทั้งการใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
7. หากสงสัยว่ามีอาการของโรคแพนิค ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด
ที่มา : โรงพยาบาลศิครินทร์
thansettakij.com
รู้จัก โรคแพนิค เช็คอาการเป็นอย่างไร ไม่อันตรายแต่ควรรักษา
ฐานเศรษฐกิจ พามาทำความรู้จักกับ โรคแพนิค ว่าอาการเป็นอย่างไร มีปัจจัยเสี่ยงไหนที่กระตุ้น ที่สำคัญไม่ได้เป็นโรคที่ไม่อันตรายแต่ควรรักษา
18 บันทึก
33
3
33
18
33
3
33
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย