15 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • ธุรกิจ
ผู้หญิงที่อายุน้อยสุดในโลก ที่ปั้นยูนิคอร์นสำเร็จ ทำธุรกิจอะไร ?
4
ปัจจุบันบริษัทมีสตาร์ตอัปยูนิคอร์นทั้งหมดจำนวน 842 บริษัท
โดยสหรัฐอเมริกา คือ ประเทศที่มียูนิคอร์น 228 บริษัท หรือมากเป็นอันดับ 2 ของโลก
4
แต่ซีอีโอหญิงที่อายุน้อยสุดในโลก ซึ่งสามารถปั้นบริษัทสตาร์ตอัป ให้กลายเป็นยูนิคอร์นมีเพียงคนเดียวเท่านั้น
นั่นก็คือ คุณ April Koh ที่อายุเพียง 29 ปี แต่กลับสร้างบริษัทสตาร์ตอัปที่มีมูลค่าเกือบ 7 หมื่นล้านบาท และยังมีลูกค้าเป็นองค์กรใหญ่ ๆ อย่าง Pfizer, Cisco และ Whole Foods
คุณ April Koh ทำธุรกิจอะไร ? ลงทุนเกิร์ลจะเล่าให้ฟัง
3
ธุรกิจที่คุณ Koh ปลุกปั้นมีชื่อว่า “Spring Health” เป็นแพลตฟอร์มด้านสุขภาพทางจิต ที่สร้างมาเพื่อ “จับคู่” วิธีการแก้ปัญหาสุขภาพจิตให้พนักงานอย่างแม่นยำผ่านระบบ Machine Learning
 
Spring Health ก่อตั้งโดย คุณ Koh และผู้ร่วมก่อตั้งอีก 2 คน
นั่นก็คือ คุณ Adam Chekroud แฟนหนุ่มของเธอ และคุณ Abhishek Chandra
ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 คน ก็ได้รับการจัดอันดับใน “Forbes 30 Under 30 List” หรือผู้ประสบความสำเร็จที่อายุไม่เกิน 30 ปี ในปี 2018
สำหรับจุดเริ่มต้น Spring Health เกิดขึ้นจาก “Pain Point” ของคุณ Koh ที่รู้สึกว่าการหาที่ปรึกษาด้านสุขภาพ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก
1
ย้อนกลับไปช่วงที่คุณ Koh ยังเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย Yale รูมเมตของเธอประสบปัญหากับพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ ทำให้ต้องเข้ารับการปรึกษากับหมอจิตเวชหลายต่อหลายคน รวมทั้งเปลี่ยนที่รักษาไม่ต่ำกว่า 5 แห่ง และเข้ารับการรักษาบ่อยจนต้องพักการเรียนไปในที่สุด
4
ซึ่งในเวลาเดียวกันนี้ คุณ Koh เอง ก็มีปัญหาด้านสุขภาพจิตรุมเร้าด้วยเช่นกัน และเธอก็ประสบกับปัญหาการบำบัด ที่ไม่ได้เหมาะสมกับสภาพจิตใจของเธอ
เรื่องนี้จึงทำให้คุณ Koh เข้าใจถึงต้นตอปัญหาของบริการสุขภาพจิตเป็นอย่างดี
4
เธอบอกว่าปัญหาหลัก ๆ ของการบริการสุขภาพจิตเหล่านี้ ก็คือ “การต้องมาลองผิดลองถูกเอง”
2
เพราะวิธีการบำบัดส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีข้อมูลการรักษา ไม่มีการแนะนำ ทำให้ผู้ป่วยต้องมาคาดเดาเอาเอง สุดท้ายจึงเสียเวลาไปกับการหานักบำบัดที่เหมาะสม
2
ซึ่งจุดบกพร่องนี้ ก็ทำให้คุณ Koh สงสัยว่า ทำไมถึงไม่มีใครสนใจที่จะสร้างบริการสุขภาพจิตบำบัด ที่เข้ามาร่นระยะเวลาคาดเดาเหล่านี้ให้สั้นลง
จนกระทั่งในปี 2016 คุณ Koh ได้พบกับบทความ “วารสารจิตเวช” ของคุณ Chekroud ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงที่ทำดุษฎีนิพนธ์ หรือวิทยานิพนธ์ชั้นปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัย Yale
3
โดยงานวิจัยของคุณ Chekroud นั้น เกี่ยวข้องกับการนำ Machine Learning มาใช้เป็นตัวช่วยในการจับคู่ “ผู้ป่วย” ให้ตรงกับ “การรักษา” ที่พวกเขาต้องการ เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุด
1
และ Machine Learning นี้เองที่จุดประกายการสร้างแพลตฟอร์มให้กับคุณ Koh โดยนำหลักการจับคู่นี้ มาใช้กับผู้ป่วยด้าน “สุขภาพจิต”
1
เมื่อเรื่องราวเป็นอย่างนี้ คุณ Koh จึงตัดสินใจติดต่อคุณ Chekroud เพื่อนำ Machine Learning ของเขา มาต่อยอดเป็นธุรกิจบริการด้านสุขภาพจิต และก่อตั้ง Spring Health ในปี 2016
7
ซึ่งปัจจุบัน Spring Health เดินทางมาถึงปีที่ 5 เป็นที่เรียบร้อย แต่กลับเพิ่งเริ่มต้นให้บริการความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตในช่วง 3 ปีที่แล้ว
3
เนื่องจากคุณ Koh ใช้เวลาใน 2 ปีแรก โฟกัสไปที่การศึกษา “งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์” และ “การสร้างแผนธุรกิจ” เพื่อพัฒนาอัลกอริทึมการจับคู่ให้มีประสิทธิภาพ
4
หลังจากนั้น ในปี 2018 คุณ Koh จึงได้เริ่มตีพิมพ์งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์กว่า 15 ฉบับ และเริ่มส่งให้กับ “แผนกทรัพยากรบุคคล” ของบริษัทใหญ่ ๆ
เพราะเธอมองว่า วิธีที่จะทำให้คนจำนวนมากเข้าถึงบริการนี้ ก็คือ การเข้าไปในฐานะ “สิทธิประโยชน์ของพนักงาน” นั่นเอง
ซึ่งผลตอบรับก็เป็นไปตามสมมติฐานของคุณ Koh เนื่องจากบริษัทใหญ่ อย่าง Pfizer, MongoDB, Cisco, Whole Foods, Equinox และ Gap ตัดสินใจเซ็นสัญญา และกลายมาเป็นลูกค้าของ Spring Health
ประจวบกับปี 2020 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติโรคระบาด ซึ่งเป็นวิกฤติที่ส่งผลกระทบกับสภาพจิตใจของเหล่าพนักงาน
ดังนั้นวิกฤติในครั้งนี้ จึงเป็นเหมือนโอกาสในการโชว์ศักยภาพของแพลตฟอร์ม Spring Health จนเปล่งประกายจนสะดุดตานักระดมทุนหลาย ๆ ราย
4
อย่างในช่วงต้นปี 2020 ในรอบ Series A บริษัท Spring Health สามารถระดมทุนไปได้ 745 ล้านบาท ตามมาด้วยการระดมทุนกว่า 2,572 ล้านบาทในรอบ Series B ช่วงเดือนพฤศจิกายนในปีเดียวกัน
2
และล่าสุด ในรอบ Series C ก็ยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนรายใหญ่ ๆ อย่าง Kinnevik และ Insurer Guardian Life ทำให้สามารถระดมทุนเพิ่มได้อีก 6,429 ล้านบาท
ซึ่งการระดมทุนในครั้งนี้เอง ที่ทำให้บริษัทมีมูลค่าสูงถึง 6.8 หมื่นล้านบาท และกลายเป็นยูนิคอร์นตัวใหม่ในวงการสุขภาพ และคาดว่าจะ IPO เข้าตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้นี้
1
แล้วอะไรทำให้ Spring Health กลายเป็นที่สนใจในระยะเวลาอันรวดเร็วขนาดนี้ ?
Rethink Impact นักลงทุนที่เข้าร่วมการระดมทุนในแพลตฟอร์มทั้งรอบ Series A, B และ C ได้ออกมาเปิดเผยว่า การดูแลพนักงานส่งผลต่อ “ผลกำไร” อย่างมีนัยสำคัญ
1
โดยพวกเขาพบว่าประมาณ 7% ของพนักงาน ต้องเข้าไปรับการรักษา เนื่องจากปัญหาความเครียดจากที่ทำงาน นอกจากนั้นความเครียดยังส่งผลให้ 50% ของพนักงาน ทำงานไม่มีประสิทธิภาพอีกด้วย
1
“ปัญหาสุขภาพจิต” จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ และควรได้รับการดูแล
ซึ่งนอกจากการปรึกษาสภาพจิตของพนักงานบริษัทแล้ว บริการของ Spring Health ยังครอบคลุมไปถึง “ครอบครัว” ของพนักงานอีกด้วย เช่น การให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์, การดูแลสุขภาพจิตในเด็ก และการอบรมวิธีการเลี้ยงดูเด็ก ๆ อีกด้วย
1
เรียกได้ว่าเป็นการสร้างแพลตฟอร์ม ที่เกิดมาเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงเป้า เข้าหาลูกค้าได้ตรงกลุ่ม และเปิดตัวในช่วงเวลาที่พอเหมาะพอดี
เรื่องราวการปั้นธุรกิจสตาร์ตอัปของคุณ Koh จึงน่าจะเป็นเครื่องยืนยันแล้วว่า “อายุ” ไม่ใช่อุปสรรคในการประสบความสำเร็จ หากเราตั้งใจพัฒนาสินค้าและบริการของเราอย่างแท้จริง
เหมือนกับเรื่องราวของ Spring Health ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาสุขภาพจิตของผู้คน
ซึ่งถ้าเราสามารถคิดวิธีแก้ปัญหาให้คนที่ต้องการเป็นจำนวนมากได้ มันก็จะสำเร็จได้เหมือนเรื่องนี้..
โฆษณา