16 ต.ค. 2021 เวลา 01:30 • ธุรกิจ
3 บทเรียนการตลาดจาก "Squid Game"
6
ช่วงนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็เจอแต่ “Squid Game” ซีรีส์ดังจาก Netflix ทั้งเว็บไซต์ไทยและต่างประเทศต่างพูดถึงกันอย่างมากในฐานะ “ซีรีส์ที่มีผู้ชมสูงสุดตลอดกาล” ของ Netflix แน่นอนว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้ซีรีส์ประสบความสำเร็จเช่นนี้
7
ไม่ว่าจะเป็นพล็อตเรื่องสนุกน่าติดตามตั้งแต่ตอนแรก ความเลือดสาดที่แฝงไปด้วยการเสียดสีสังคม อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีที่ขึ้นชื่อเรื่อง Soft Power สามารถนำวัฒนธรรมมาชุบชีวิตผ่านซีรีส์ ไปจนถึงนักแสดงมากความสามารถ
3
แต่รู้หรือไม่ว่านอกจากนี้แล้ว Squid Game ยังมอบ “บทเรียนการตลาด” น่าสนใจๆ ให้เราอีกด้วยนะ! Pierre Subeh นักลงทุนและนักเขียนได้เล่าถึงบทเรียนการตลาดจาก Squid Game ไว้ในเว็บไซต์ Entrepreneur Asia Pacific
4
มาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง (ผู้ชมที่ยังไม่ได้ดูสามารถอ่านได้ เพราะบทความไม่ได้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญในซีรีส​์)
5
บทเรียนที่ 1 : พลังแห่ง Word-of-Mouth ที่แบรนด์ช่วยเสริมแรงได้!
2
“Word-of-Mouth” เป็นเทคนิคการตลาดแสนคลาสสิก เรียกได้ว่าหากเราเปิดหนังสือด้านการตลาดที่มีอายุ 100 ปี ก็ยังจะเจอเทคนิคนี้อยู่ สำหรับสินค้าหรือบริการอื่นๆ Word-of-Mouth อาจเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ขายดีได้ แต่สำหรับ Squid Game การที่ผู้ชมนำไปพูดต่อๆ กันนี่แหละ เป็น “ปัจจัยหลัก” ที่ทำให้คนหันมาดูมากขึ้น!
ช่วงที่ผ่านมา บนโลกอินเทอร์เน็ตต่างเต็มไปด้วย Memes เกี่ยวกับ Squid Game เต็มไปหมดทุกโซเชียลมีเดีย สำหรับคนที่ดูแล้วก็อาจขำและแชร์ต่อ แต่สำหรับคนที่ยังไม่ได้ดูกลับไม่เข้าใจเพราะส่วนใหญ่เป็น “มุกวงใน” (Inside Joke) ที่ต้องดูเท่านั้นถึงจะรู้เรื่อง
1
เรารู้สึกว่า ‘ถ้าไม่ดูก็จะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนะ’ ความอยากเข้าใจ (ว่าคนอื่นเขาขำอะไรกัน) และอยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี่เอง ที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ชมหน้าใหม่กดดู Squid Game
3
แน่นอนว่า Word-of-Mouth เกิดจากผู้บริโภคเป็นส่วนใหญ่ แต่แบรนด์ก็สามารถช่วยเสริมได้ ยกตัวอย่างเช่น Netflix เองที่มีการลง Memes ตลกๆ เกี่ยวกับซีรีส์ในโซเชียลมีเดีย หรือสร้างความฮือฮาด้วยการสร้าง Pop-up อีเวนต์ที่เกาหลีและต่อด้วยที่ปารีสให้คนพูดถึงอย่างต่อเนื่อง
4
สรุปเป็นสำนวนไทยง่ายๆ คือ “น้ำขึ้นให้รีบตัก” หากธุรกิจของเราโชคดีที่มีคนพูดถึงเยอะแยะแล้ว อย่าปล่อยไว้เฉยๆ แต่ควรนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์หรือช่วยผลักดันต่อให้กระแสแรงไม่มีตกด้วย
2
บทเรียนที่ 2 : ถ้าเป็นเทรนด์ไวรัลใน TikTok แล้ว มีโอกาสประสบความสำเร็จแน่นอน
ถ้าแบรนด์ของเราเป็นเทรนด์ใน TikTok ขึ้นมาถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะอัตราการที่เทรนด์นั้นจะเป็นไวรัลยิ่งสูงมากขึ้น สำหรับซีรีส์ Squid Game นั้นก็มีแรงผลักดันส่วนหนึ่งมาจากความโด่งดังใน TikTok เช่นกัน เพราะความเป็นเอกลักษณ์หลายๆ อย่าง เช่น เครื่องแบบสีเขียวของผู้เล่นและสีแดงของผู้คุมเกมที่น่าเล่นตาม (เช่น เกมน้ำตาล Dalgona) และเรื่องตลกวงในที่กระตุ้นให้คนเห็นอยากรู้เรื่อง
2
Pierre Subeh ผู้เขียนบทความมองว่าโซเชียลมีเดียอย่าง TikTok ไม่เพียงแต่เปลี่ยนวิธีการที่แบรนด์เข้าหากลุ่มลูกค้า แต่ยังสร้างมาตรฐานใหม่อีกด้วย ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติที่จะเห็นแบรนด์ต่างๆ เข้าไปคอมเมนต์ตามวิดีโอโดยไม่ต้องมีพิธีรีตองหรือใช้ภาษาทางการ อย่าง Tinder แอปฯ หาคู่ชื่อดังที่มักจะไปทิ้งคอมเมนต์กวนๆ ไว้ตามวิดีโอของคู่รักบน TikTok สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดูเป็นมิตร เข้าถึงลูกค้าได้ดีกว่าเดิม
6
บทเรียนที่ 3 : เราไม่รู้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไรจนกว่าพวกเขาจะบอกเรา
หากได้ลองดูแล้ว เราก็จะเข้าใจเองว่าทำไมหลายคนถึงชื่นชอบ Squid Game กันนัก
1
เพราะซีรีส์เกาหลีเรื่องนี้เนื้อหาดี ทำให้ผู้ชมตื่นเต้นจนนั่งไม่ติดเก้าอี้ แถมยังมาถูกเวลาอีกด้วย
เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาผู้คนค่อนข้างเบื่อซีรีส์และภาพยนตร์เนื้อหาเดิมๆ อยากชมอะไรที่น่าตื่นเต้น แปลกใหม่ รุนแรงและเต็มไปด้วยประเด็นน่าคิดต่อ จริงอยู่ที่ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์เนื้อหาแนวนี้อยู่บ้างอย่าง Alice in Boderland แต่ความดังพลุแตกเสียยิ่งกว่าของ Squid Game ก็ช่วยยืนยันได้อย่างดีว่า สุดท้ายเราก็ไม่รู้อยู่ดีว่าช่วงเวลาไหนผู้บริโภคต้องการอะไร
2
นอกจากจะได้ลองทำดูจริงๆ เราถึงจะรู้ว่ามันได้ผลหรือไม่ได้ผล
3
อาจฟังดูเป็นปรัชญาไปสักนิด แต่ในชีวิตจริงก็เป็นเช่นนี้ บางครั้งมนุษย์เราก็ไม่รู้ถึงความต้องการของตัวเองจนกระทั่งสิ่งสิ่งนั้นมาอยู่ตรงหน้า ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราหิวแต่ไม่รู้ว่าหิวอะไร เราจะรู้เองว่าเราอยากกินอะไรก็ต่อเมื่อเราได้เห็นเมนูที่เต็มไปด้วยรูปอาหารน่าทาน สีสันฉูดฉาด
แล้วเราเรียนรู้อะไร? เราเรียนรู้ว่าบางครั้งหากทำตามวิธีเดิมๆ หรือพึ่งข้อมูลในอดีตมากเกินไป ไอเดียธุรกิจแปลกใหม่คงไม่เกิดขึ้น เราอาจจะต้องลองคำนวณความเสี่ยง วางแผนรับมือให้ดี และ “ลองทำดู”
3
Squid Game ได้นิยามขอบเขตใหม่ของรายการทีวีและการที่ผู้ชมนำเนื้อหาไปใช้ต่อ เราจะเห็นว่าหากตัวสินค้าหรือบริการของเรานั้นธรรมดา สุดท้ายธุรกิจก็ได้แค่ความสนใจระดับกลางเท่านั้น แต่ถ้าหากสินค้าและบริการของเราโดดเด่นและมาได้ถูกเวลา ความสนใจอาจแพร่หลายแถมได้การโปรโมตฟรีๆ โดยผู้บริโภคอย่าง Squid Game ก็เป็นได้
3
แปลและเรียบเรียง
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#business
โฆษณา