16 ต.ค. 2021 เวลา 03:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#เส้นผ่านศูนย์กลางและความหนาของท่อ
#NPS #DN #SCH #SDR
👷 ..เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปใช้งาน..ผมขออธิบายแบบไม่ลงรายละเอียดลึกนะครับ
🤔 ทำไมต้องรู้ด้วยล่ะ? >> วิศวกรบางท่านทำงานมาประมาณ 1-5 ปี หรือมากกว่า ก็อาจจะยังไม่ได้เอะใจในเรื่องนี้ .. ในแบบเขียนขนาดท่อเป็นมิลลิเมตร พอจะสั่งซื้อของจากทางร้านค้า ร้านค้าอาจจะถามเป็นหน่วยเป็นนิ้ว..ก็อาจจะต้องใช้เวลาแปปนึง เพื่อเทียบหน่วย ..แต่บางที่วิศวกรบางท่านอาจจะรีบๆ อาจจะบอกขนาดผิด!.. ทำให้ได้ท่อที่ขนาดผิดกลับมาไซต์งาน.. ก็จะมีผลตามมากับตัววิศวกร (ขึ้นอยู่กับหัวหน้าเรา.. จะมีจิตใจที่เมตตาต่อเราหรือไม่ 😅)
1
🕵️เข้าเรื่อง!
การกำหนดขนาดท่อจะระบุเป็น NPS และ DN ดังนี้
👉NPS (Nominal Pipe Size) .. เรียกเป็นหน่วย "นิ้ว"..✌️ เช่น ท่อ NPS 2 ก็คือท่อขนาด 2 นิ้ว เป็นต้น
>> เวลาเราเรียกขนาดท่อ ก็จะระบุความหนาของท่อ (Schedule- SCH) ตามด้วย
........ ท่อที่มีขนาดเส้นผ่าน ศ.ก. ตั้งแต่ 12 นิ้วลงไป👇..จะมีเส้นผ่าน ศ.ก. ภายนอก "ใหญ่กว่า" ขนาดที่ระบุ เช่น ท่อขนาด 2 นิ้ว เส้นผ่าน ศ.ก. เท่ากับ 2.375 นิ้ว เป็นต้น
........ ท่อที่มีขนาดเส้นผ่าน ศ.ก. 14 นิ้วขึ้นไป 👆 จะมีขนาดเส้นผ่าน ศ.ก. ภายนอก "เท่ากับ" ขนาดที่ระบุ
1
👉DN (Diameter Nominal) .. ระบุขนาดเป็นหน่วยเมตริก มีหน่วยเป็น "มิลลิเมตร" เช่น ท่อ DN 50 จะมีขนาดเท่ากับ NPS 2
1
🕵️‍♀️ความหนาท่อ..
👉Schedule Number .. ก็คือ"ชั้นความหนาของท่อ" ..เหมือนเอาแผ่นเหล็กบางๆ มาม้วนซ้อนกันเป็นชั้นๆ ครับ
มีดังนี้ SCH 5, 5S, 10, 10S, 20, 20S, 30, 40, 40S, 60, 80, 80S, 100, 120, 140 และ 160 .... ที่ผมเจอบ่อยๆ ก็คงจะเป็น SCH 10 และ 40
1
👉Standard Dimension Ratio (SDR)
....... SDR = (เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก / ความหนาท่อ)
เช่น ท่อ SDR11 หมายความว่า ท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกเป็น 11 เท่าของความหนา เป็นต้น
......SDR สูง..ท่อจะบาง.. รับความดันได้น้อย.....✏️
1
ตารางความสัมพันธ์ระหว่างเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อเหล็กในระบบ NPS และ DN
โฆษณา