16 ต.ค. 2021 เวลา 13:15 • การ์ตูน
รู้จักกับภาพ in-between (ภาพเคลื่อนไหวระหว่างเฟรมหลัก)
ช่วงนี้เห็นคนแคปภาพช่วง in-between มา แล้วหาว่าสตูดิโอเผางาน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าไม่ทราบจริง, แซวขำๆ หรือแค่เรียกยอดไลค์ รวมถึงใน Youtube ก็มี เลยขออธิบายนิด
บางทีก็ไม่คุ้มที่จะแก้ ที่มา: https://t.co/zOSuqyLQM3
การวาดอนิเมชั่นจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ (ไม่รวมพวกลงสี)
(1) Key Animation
(2) 2nd Key Animation
(3) In-between (動画 Doga = Inbetween)
2 ข้อแรก คือ เฟรมหลักๆ (Keyframe) ของอนิเมชั่น ส่วนใหญ่ก็ภาพนิ่งที่ไม่มีการเคลื่อนไหว
ส่วนคนที่วาด In-between จะรับงานวาดระหว่างสองภาพหลัก ซึ่งใน 1 วินาทีปกติจะมีภาพเคลื่อนไหวถึง 24 เฟรม (ส่วนใหญ่ TV ไม่ถึง 24 เพราะใช้ภาพซ้ำมาคั่น เพื่อประหยัดทุนและเวลา ต่างจากพวกงานระดับมูฟวี่)
ที่มา: https://tips.clip-studio.com/en-us/articles/954
โดยปกติใน Animation งานภาพระดับมูฟวี่ในญี่ปุ่น หรือ อนิเมชั่นฝั่งตะวันตกของทางดิสนีย์ อาจจะไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้ละเอียดทุกเฟรม รวมถึงพวกอนิเมชั่นบางเรื่องที่ถึงฉายทีวีแต่ใส่ใจกับรายละเอียด จะไม่ค่อยมีปัญหา ภาพดูต่อเนื่องมาก (จับผิดยาก)
ภาพจากเรื่อง Little Witch Academia
แต่ในทีวีอนิเมะมีงบจำกัด (มาก) ภาพไหนเร็วจนตามองไม่ค่อยทัน เลยไม่ใช่งานละเอียดเท่าที่ควร ทำให้เกิดภาพที่ลดรายละเอียดขึ้น พอหลอกสายตาคนดูได้บ้าง แต่ถ้ากด Pause จะเห็นชัดมาก
ที่สำคัญ ใน 3 ตำแหน่งข้างต้น In-between มักเป็นตำแหน่งของมือใหม่หัดวาดหรือค่าตัวน้อย ต่างจาก Key Animation ที่เลือกมือดีสุดมา จึงไม่แปลกที่จะเป็นช่วงที่ภาพแย่สุด
ถ้าภาพนิ่งยังเผา แสดงว่าไม่ทุนต่ำ ก็ Key Animation มือใหม่ หรือ Outsource ต่างประเทศ (สังเกตได้ใน Credit ท้ายตอน มักจะเป็นคนต่างประเทศ)
สรุป
In-between จะต่างจากการงานเผาทั่วไป คือ คนพยายามไปจับผิดบางเฟรม ซึ่งตามมารยาทไม่ควรจ้องจับผิดขนาดนั้น (ส่วนงานเผา ก็อีกเรื่อง)
ด้วยทุนจำกัด ก็อย่าคาดหวังอะไรกับพวกภาพแทรกระหว่างเรื่องมาก ถ้าระดับมูฟวี่ก็ว่าไปอย่าง
ถ้าเห็นคนแคปภาพมาล้อ ลองไปดูต้นฉบับก่อนดีกว่าว่ามองปกติทันไหม หรือเป็นซีนสำคัญมากแค่ไหน
ทิ้งท้ายด้วย Keyframe หลัก ... ซึ่งก็งานเผาอยู่ดี
* ภาพแรกจาก The Seven Deadly Sins Season 3 ตอนที่ 13 โดยภาค 3 มีฉายใน AIS Play, Netflix และ Bilibili (รวมช่องทางดูลิขสิทธิ์ทุกภาค https://www.anime-os.com/info/nanatsu-guide/)
โฆษณา