17 ต.ค. 2021 เวลา 14:45 • สิ่งแวดล้อม
สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ (IRENA) กำหนดใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาด แทน ฟอสซิลในการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 80% ภายในปี 2050
ประมาณ 80-90% ของการค้าระหว่างประเทศ เป็นการขนส่งทางเรือ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นอีก 40 -115% ในปี 2050 ในปัจจุบันภาคการขนส่งระหว่างประเทศพึ่งพาพลังงานฟอสซิลถึง 99% ของความต้องการพลังงาน หากไม่ดำเนินการควบคุมใดๆ มีการคาดการณ์ว่าจะมี่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มสูงขึ้น ประมาณ 50 - 250% ภายในปี 2050
ในทางเทคนิคสามารถดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ด้วยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาด และผู้กำหนดนโยบาย เจ้าของเรือ ผู้ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ท่าเรือ ผู้พัฒนาพลังงานหมุนเวียน และระบบสาธารณูปโภค ต้องประสานความร่วมมือกันขับเคลื่อน
หากเทียบการขนส่งทางทะเลเป็นประเทศหนึ่ง ก็ถือเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเป็นอันดับที่ 6 หรือ 7 ของโลกเลยทีเดียว
ระยะแรกเชื้อเพลิงชีวภาพจะมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษ ในระยะกลางและระยะยาว เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาดจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบหลักถึง 60% ของสัดส่วนพลังงานในปี 2050 โดยมี e-methanol และ e-ammonia เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจนสะอาดเป็นองค์ประกอบหลักในการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคขนส่งทางทะเลภายในปี 2050 และคาดการณ์ว่าจะมี e-ammonia มากถึง 43% ของความต้องการพลังงานในการขนส่งทางทะเล
ซึ่งต้องใช้นโยบายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง การจัดเก็บภาษีคาร์บอนตามปริมาณการปล่อยจริง โดยต้องกำหนดราคาคาร์บอนสำหรับเชื้อเพลิงแต่ละชนิด เพื่อป้องกันการลงทุนหรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เสี่ยงต่อการขาดแคลน
ดังนั้นความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดต้องพัฒนารูปแบบธุรกิจ อุตสากรรมที่ใช้พลังงานมาก ภาคปิโตรเคมี หน่วยงานกำกับดูแลการขนส่งระหว่างประเทศต้องพัฒนาแนวทางและกำหนดแผนงานแบบบูรณาการ ดำเนินการไปตามลำดับขั้นตอน เพื่อให้มีการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ภายในปี 2593
เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในภาคส่วนนี้ เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ต้องระบุตำแหน่งที่จะดำเนินการให้ชัดเจน ทั้งท่าเรือการค้าและบังเกอร์หลัก เส้นทางเดินเรือ โดยท่าเรือที่มีความเกี่ยวข้องกับบังเกอร์ทั่วโลกสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ (~22%) ฟูไจราห์ (~8%) และรอตเตอร์ดัม (~6%) จุดที่สำคัญที่สุดคือคลองปานามา ช่องแคบมะละกา และคลองสุเอซ
ทางเดินเรือหลักของโลก
แนวโน้มความต้องการพลังงานในภาคการขนส่งทางเรือของโลก
อ้างอิง --> http://bit.ly/3DF22wz
โฆษณา