20 ต.ค. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
❗️ยาในการรักษาโรคซึมเศร้าได้ผลหรือ?❗️
จากบทความที่แล้วเราได้รับการรักษาจากจิตแพทย์และทำการเฝ้าดูอาการติดตามผลเป็นเวลา 2 อาทิตย์ ซึ่งต้องบอกก่อนว่า การเลื่อนนัดนั้นทำได้ยากมาก เพราะจิตแพทย์นั้น ตารางการรักษาแน่นมาก ทั้งคนไข้รายเก่าและยังมีรายใหม่ๆทยอยเข้ามา
จำไว้เสมอว่าถ้าหากเลื่อนนัดอาจได้คิวที่นานกว่าเดิม โดยปกติแล้วเราจะไม่เปลี่ยนแพทย์เจ้าของไข้นะคะ เราจะอยู่กับแพทย์คนเดิม เพื่อความต่อเนื่องและความคุ้นเคยในการรับการรักษา
ซึ่งยาที่ได้รับจะทำงานหลักเลยคือ ปรับสมดุลของสารเคมีในสมองซึ่งสารเคมีที่สำคัญคือ
1. สารซีโรโทนิน Serotonin
2. นอร์เอพิเนฟริน Norepinephrine
ซึ่งส่งผลโดยตรงต่ออารมณ์และการเปลี่ยนแปลงต่างๆในช่วงที่มีอาการของโรคซึมเศร้า
และยาที่เราได้รับอีกตัวคือยาที่ช่วยให้เรานอนหลับได้ดี คือหลับเลย หลังทานยา 30 นาที คือ Lorazepam (ไม่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยานะคะ)
🔆 จิตแพทย์ที่เจอมาดีมากค่ะเพราะอธิบายทุกอย่างที่เราควรรู้ และควรปฏิบัติตัวอย่างไร ต่อจากนี้มาดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงแรกที่ได้รับยาค่ะ🔆
🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴🪴
หลังได้รับยามาเราคาดหวังไว้แล้วว่าวันนี้เราจะได้นอนหลับเต็มอิ่มเสียที เราเริ่มทานยานอนหลับ เวลาประมาณ 3 ทุ่ม คือ ทานก่อนนอนนั่นแหละ ใช้เวลาไม่นานร่างกายเริ่มรู้สึกอ่อนล้าเหมือนคนง่วงนอน ร่างกายที่อ่อนล้าก็พล๊อยหลับไป
กริ๊ง กริ๊ง …………❗️❗️❗️❗️
เสียงนาฬิกาปลุก ตอนตี 3:45 ปลุกให้เราตื่นจากการหลับที่ดำดิ่ง แต่ร่างกายนั้นไม่ได้รู้สึก สดชื่นสักนิด สมองที่เหมือนยังไม่ตื่นเต็มที่แต่ด้วยภาระงานต่างๆ ต้องแข็งใจตื่นขึ้นมาให้ได้
เริ่มทำงานตอน ตี 5 ร่างกายที่พยายามทำตัวให้สดชื่นกลับไม่ยอมฟังคำสั่ง ปากที่แห้งผาก และร่างกายที่กระหายน้ำอย่างหนัก ทำให้การเริ่มงานในวันนี้เป็นไปด้วยความลำบาก
“นี่มันเกิดอะไรขึ้น หรือว่ายานอนหลับยังไม่หมดฤทธิ์”
ในใจคิดว่าตายแน่ๆ เราต้องทำงานนะ ไม่มีใครมาแทนด้วยเราต้องไหว งานเราเป็นรูปแบบงานที่ต้องยืน เกือบตลอดเวลา เพื่อให้ดูกระชับกระเฉง แต่ตอนนี้ขาและร่างกายที่อ่อนล้า กับทรุดลงไปนั่งกับพื้น สภาพร่างกายที่ครึ่งหลับครึ่งตื่น มันทรมานจริงๆ ทำได้เพียงจิบน้ำเพื่อบรรเทาความกระหายน้ำ
ในความอับโชค ก็ยังดีที่มีผู้ร่วมงานที่ดีที่ช่วงให้เราผ่านเช้าวันนั้นมาได้ ถึงเวลาเลิกงานประมาณบ่าย 3 โมง เรารีบตรงกลับที่พัก ทันที คิดว่าไม่ไหวแน่ๆ เลยลองผิดลองถูก ทานยานอนหลับให้เร็วขึ้น
ปกติแล้วยาจะออกฤทธิ์ยาวนาน 7-8 ชั่วโมง เราจึงปรับเวลาทานยามห้เร็วขึ้น สรุป ทานยาตั้งแต่ 6 โมงเย็น
🪴🪴 ผลที่ได้คือ ตื่นมาตอนเช้าดีขึ้น ไม่ง่วง🪴🪴
ความเครียดต่างๆที่เผชิญยังคงต่อเนื่อง ยาดูเหมือนจะทำงานช้าหรือกำลังปรับตัว จึงไม่เห็นผลใดๆในเรื่องการต้านเศร้า
ตกดึกในคืนนึง ที่ความเศร้าเข้าจู่โจมเราคิดว่าชีวิตนี้ยากลำบากเหลือเกิน ร่างกายรู้สึกทรมานมาก เราหยิบเข็มเย็บผ้าขึ้นมาและ แทงไปตามเส้นเลือด ตามขา หวังให้ความเจ็บปวดนั้นช่วงให้เราตื่นตัว แต่นั่นไม่ได้ช่วยอะไร
สมองที่ตื้อนั้นกำลังฟุ้งซ่าน เราเลือกที่จะทานยานอนหลับและเดินออกไปข้างนอกที่พัก เดินไปตามถนน จนมากยุดที่ร้าน ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
“บางคนบอกว่าแอลกอฮอล์ช่วยให้ลืมความทุกข์ทำให้สนุก….ใช่เราจะดื่ม”
สุดท้ายได้ไวน์แดงมาหนึ่งขวด ยาที่เริ่มออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายรู้สึกมึนงง เเต่แน่นอนว่าเราอยากดื่มไวน์และนอนหลับไป สุดท้ายก็พยายามลากสังขารกลับมายังที่พัก และดื่มด่ำกับไวน์จนเกือบหมดขวดอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่อันตรายตามมา
❗️❗️ ไม่รู้ว่านานเท่าไหร่ แต่ความรู้สึกเวียนหัวได้ประดังเข้ามาพร้อมๆกับความรู้สึกพะอืดพะอม ร่างกายไม่สามารถทรงตัวได้ รู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก ตาลายไปหมด เราพยายามพยุงร่างกายเพื่อไปยังเตียงนอนและควานหาโทรศัพท์ ❗️❗️
บอกได้เลยว่าเป็นความรู้สึกที่แปลกและทำให้ย้อนไปเมื่อครั้งได้ลิ้มลอง เค้กที่มีส่วนผสมของน้ำมันกัญชา ร่างกายรู้สึกชาและเวียนหัวไปหมด มันคนละความรู้สึกกับตอนเมาเพราะมันทรมานกว่า เราพยายามอย่างมากในการโทรศัพท์ไปหาคลินิกจิตเวช
จิตแพทย์ผู้ชายรับสายและบอกให้เราหายใจลึกๆ พยุงร่างกายไปในที่ปลอดภัย และนอนราบและให้นอนอยู่แบบนั้นไม่ต้องสนใจอะไร และให้ปล่อยร่างกายให้หลับไปเลย
🔆ใช่แล้ว ยานอนหลับกับแอลกอฮอล์ ไม่ควรทานร่วมกัน ไม่ว่าจะก่อนหรือหลัง ลองมาแล้วค่ะ🔆
แอลกอฮอล์ทำให้ฤทธิ์ของยาเร็วและแรงขึ้น… แต่ถ้าในปริมาณที่เราเริ่มปรับและร่างกายรับได้ เป็นการช่วยให้หลับชั้นยอด เคลิ้บเคลิ้มด้วย ชอบความรู้สึกตรงนั้น
❗️❗️❗️แต่ อย่าทำเลยค่ะ ❗️❗️❗️
การรักษาในสองอาทิตย์แรกนั้นสิ่งที่ดีขึ้นคือการนอนหลับเพราะทานยา ไม่กล้าหยุดยาเลยเพราะกลัวนอนไม่หลับมาก ไม่เคยคิดเลยว่าการนอนไม่หลับจะทรมานขนาดนี้และมันส่งผลหลายอย่างต่อร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการทำงาน
….บทความหน้าเรามาต่อกันว่า หลังจากนี้เราจะทำอย่างไรกับภาระงานที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และแนวทางการรักษาของจิตแพทย์จะเปลี่ยนไปอย่างไร…
🔆 หากคุณกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้า อย่าอายหรือกังวลเลยที่จะไปพบแพทย์ เพราะถ้าคุณไปช้า คนที่รักคุณอาจเสียคุณไปตลอดกาล🔆
โฆษณา