10 พ.ย. 2021 เวลา 03:00 • การศึกษา
รู้หรือไม่ว่า?🤔 ประเทศไทยกำลังมีการเทียบเคียงแนวทางประเมินคุณภาพข้อมูลการศึกษาของไทย📊 (The Thailand Education Data Quality Assessment Framework: Thailand Ed-DQAF) โดยเทียบเคียงกับมาตรฐานสากลแล้วนะ 📚🌎
โดยจัดทำตามกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษา 📝📉(Ed-DQAF) ของสำนักงานสถิติแห่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
วันนี้น้องพาเพลินชวนมาทำความรู้จักกับ 3 แนวคิดหลัก 8 หลักการ ของ Ed-DQAF มารู้จักกันเลย🙆‍♀️📚
🎬 รับชม Video ทาง Youtube Channel
🔹️สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
📱โทร 0 2668 7123
📁 แนวคิดหลักที่ 1 สภาพแวดล้อมขององค์กร (Institutional Environment)
จุดเริ่มต้นสำคัญในการเก็บข้อมูล คือการคัดสรรและมอบหมายงานให้แก่องค์กรที่มีความพร้อมและความเป็นมืออาชีพในการรับผิดชอบ🧐💫 เพื่อการพัฒนา ประมวลผล และเผยแพร่สถิติการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ✨
🔹️ หลักการที่ 1 กรอบนโยบายและกฎหมาย (Policy and Legal Framework)
มอบอำนาจให้องค์กรที่มีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือดูแลสถิติการศึกษา ในการดำเนินการพัฒนาการเก็บสถิติการศึกษา📝📊ภายใต้กรอบนโยบายหรือกฎหมายที่ตั้งไว้
🔹️หลักการที่ 2 ความพอเพียงของทรัพยากร (Adequacy of Resources)
องค์กรที่รับผิดชอบจะต้องมีทรัพยากรที่เหมาะสมรอบด้าน🙆‍♀️ ไม่ว่าจะด้านบุคลากร อุปกรณ์ รวมถึงงบประมาณในการบริหารระบบการจัดการสารสนเทศเพื่อการต่อยอดการพัฒนาการศึกษา📖✨
🔹️หลักการที่ 3 การตอบสนองต่อผู้ใช้งาน (Relevance)
องค์กรต้องมีความสามารถในการรวบรวมสถิติการศึกษาให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งานให้มากที่สุด🙋‍♀️📖
📁 แนวคิดที่ 2 กระบวนการทางสถิติ (Statistical Processes)
เพื่อให้ผลการประเมินมีคุณภาพสูงสุด มาตรฐานและกระบวนการทางสถิติจึงควรเป็นไปตามหลักสากลด้วยเช่นกัน🙆‍♀️🌎✨ ซึ่งต้องมีการประเมินกระบวนการรวบรวม ประมวลผล และเผยแพร่สถิติการศึกษาอย่างเป็นทางการ และมีความน่าเชื่อถือ🧐 ในการจัดการข้อมูลตามระเบียบวิธีการทางสถิติ
🔹️หลักการที่ 4 ระเบียบวิธีการที่รับรอง (Sound Methodology)
การจัดกรอบการประเมินคุณภาพ ควรจัดตั้งระเบียบวิธีสำหรับการจัดทำสถิติการศึกษาเป็นไปตามมาตรฐาน แนวทาง หรือแนวปฏิบัติในระดับสากล 🌎 เพื่อให้เกิดข้อมูลที่เต็มไปด้วยคุณภาพและสามารถนำมาต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต📖🚀
🔹️ หลักการที่ 5 ความน่าเชื่อถือและความแม่นยำ (Accuracy and Reliability)
นอกจากนี้ ทางองค์กรหรือทีมที่รับผิดชอบควรมีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้📚📊 รวมถึงสถิติการศึกษาจะต้องมีความถูกและชัดเจน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับข้อมูลที่ได้จัดเตรียมไว้🙆‍♀️
📁 แนวคิดที่ 3 ผลสถิติทางการศึกษา (Education statistical Outputs)
สถิติการศึกษาสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน👩‍🏫 ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ในประเด็นต่างๆ ที่ง่ายต่อการเข้าใจ 🌎😁💙
🔹️หลักการที่ 6 ช่วงเวลาและความทันต่อการใช้งาน (Periodicity and timeliness)
ผลสถิติการศึกษาได้รับการเผยแพร่ตามระยะเวลาที่เหมาะสม⌛️ ทันต่อการใช้งาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล🤓🌎
🔹️ หลักการที่ 7 ความสอดคล้อง (Consistency)
ในชุดข้อมูลของสถิติการศึกษาควรมีความสอดคล้องกันมากที่สุด🙆‍♀️🗃 เพื่อความสะดวกต่อการใช้งานและต่อยอดการพัฒนาระบบการศึกษาในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ👨‍🎓👩‍🎓✨
🔹️ หลักการที่ 8 การเข้าถึงและเข้าใจง่าย (Accessibility and clarity)
ข้อมูลสถิติการศึกษาและคำอธิบายข้อมูลต้องมีความสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึง รวมถึงรูปแบบข้อมูลที่ปราศจากความซับซ้อน🙆‍♀️ สามารถเข้าใจและนำไปต่อยอดได้ทันที📝
เมื่อการกรอบการประเมินคุณภาพข้อมูลด้านการศึกษาสำเร็จ 100% แล้ว น้องพาเพลินขอการันตีเลย🙆‍♀️✨ ผู้ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการพัฒการศึกษาทุกแขนง จะได้รับฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ 🗃👍
ซึ่งข้อมูลส่วนนี้สามารถนำมาเปรียบเทียบการศึกษาระหว่างไทยกับนานาชาติ 🌎📚และสามารถนำมาปรับใช้เป็นกลยุทธ์ใหม่ทางการศึกษาของไทย ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกได้อย่างมีคุณภาพแน่นอน🙆‍♀️
โดยทางสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ตั้งเป้าเตรียมการพัฒนาการจัดทำกรอบประเมินการศึกษาของประเทศไทย ในปี 2564 อย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประเมินเพื่อรับรอง🚀📊คุณภาพมาตรฐานในปี 2568 พร้อมผลักดันการศึกษาไทยสู่เวทีโลกได้อย่างเต็มศักยภาพ 👩‍🎓✨
#OECnews #สภาการศึกษา #การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด #EdDQAF #กรอบประเมินการศึกษา #การศึกษาไทยสู่เวทีโลก
📝OEC News สภาการศึกษา
• LINE: @OECNews | http://line.me/ti/p/@OECNews

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา