Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
สภาการศึกษา
•
ติดตาม
13 ธ.ค. 2021 เวลา 03:00 • การศึกษา
คุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกรักของเรานั้นเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ 🤔❔อย่ารอช้า..มาสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัยไปพร้อมกันกับน้องพาเพลิน ด้วยวิธีที่สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง ในการสังเกตพัฒนาการของลูกน้อยได้อย่างมีรอบด้าน👨👩👧👧💖
หากคุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่มีความกังวลว่าลูกของเรามีพัฒนาการที่สมวัยหรือไม่ แบบไหนคือทางที่ใช่ แล้วแบบไหนคือทางที่ยังต้องพัฒนาอีก 🌀🤦🏻♂️ ปัจจุบันนี้มีหลักการหลากหลาย ที่สามารถเป็นไกด์ให้คุณพ่อ-คุณแม่เลือกใช้ และหนึ่งในแนวทางที่เห็นได้ชัดว่าเด็กปฐมวัยเติบโตอย่างมีคุณภาพ คือการแสดงพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ ที่บ่งบอกถึงการมีคุณภาพจากพฤติกรรมต่างๆ ที่สามารถทำได้อย่าง “สมรรถนะ” หรือกระบวนการพัฒนาของเด็กปฐมวัย✨👧🏻💡
ซึ่งแนวทางการสังเกตสมรรถนะของเด็กปฐมวัยได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย 🤙🏻✨ เนื่องจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) แห่งประเทศไทย มีการจัดสัมมนาพร้อมเชิญผู้เชี่ยวชาญ 2 ท่าน คือ “Pia Robello Britto” และ “Sharron Lyan Kagen” ในปีพ.ศ. 2549 ร่วมระดมความคิด หาแนวทางส่งเสริมให้แต่ละประเทศจัดทำสมรรถนะของเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนากลุ่มเด็กปฐมวัยให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ 🤍👌🏻
ต่อมาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้นำแนวทางดังกล่าวมาวิจัยเพิ่มเติม เพื่อหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (ยูนิเซฟ) ประเทศไทยในการร่วมพัฒนาเด็กๆ ให้เติบโตได้อย่างสมวัยรอบด้าน 🧐📚🧪
เพื่อเป็นคู่มือในการประคองลูกรักสู่การเติบโตที่สมบูรณ์แบบ น้องพาเพลินได้สรุปไอเดียการสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัยเบื้องต้นให้คุณพ่อ-คุณแม่มือใหม่ได้ลองนำไปใช้แล้ว จะมีวิธีอะไรบ้างตามมาดูกันเลย 📝🤟🏻✨
📖 ตามอ่าน How to สังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบเต็มรูปแบบได้ที่
http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1579-file.pdf
http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1580-file.pdf
4 แนวทางการสังเกตสมรรถนะของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาตามวัย (0 – 3 ปี) 🤓📝👌🏻
จากผลการศึกษาจากประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuron Science) เด็กๆ ช่วงปฐมวัยจะมีพัฒนาการด้านสมองและการเรียนรู้เร็วที่สุดในชีวิต 🧠💨 แต่ถ้าเราพลาดหรือหลุดการพัฒนาก็อาจส่งผลให้เด็กๆ เติบโตไม่ทันเพื่อนๆ หรือ “กว่าจะถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” ☝🏻❕
เพื่อให้คุณพ่อ – คุณแม่มือใหม่พร้อมพัฒนาลูกรักให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ น้องพาเพลินพร้อมแชร์ไอเดีย 4 แนวทางให้ได้สังเกตลูกรักในช่วงวัย 0 – 3 ปีว่ามีพัฒนาการตามวัยแล้วหรือยัง❔จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย 👀🖖🏻✨
📝แนวทางที่ 1 : ความสามารถในการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย ⛹️💨
- ในช่วงวัยนี้เป็นการฝึกความสามารถในการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย ด้วยกล้ามเนื้อมัดใหญ่ (Gross Motor) สามารถนั่งได้ตามลำพัง กระโดดสองขาลงจากแท่นหรือบันไดขั้นสุดท้ายได้เอง โดยไม่ต้องมีคนช่วย
- ขาทั้ง 2 ข้างสามารถทรงตัวได้อย่างมั่นคง และเริ่มพัฒนาการเคลื่อนไหวในระดับต่างชั้น เช่น การเดินขึ้นบันได โดยใช้มือจับราวบันไดข้างหนึ่งและจับมือผู้ใหญ่อีกข้างหนึ่ง ก้าวเท้าโดยมี 2 เท้าอยู่ในขั้นเดียวกัน ✅👌🏻
📝แนวทางที่ 2 : ความสามารถในการรับรู้และเรียนรู้ 📚🖍🤏🏻
- ลูกน้อยเริ่มจดจำใบหน้าพ่อหรือแม่หรือผู้ดูแลใกล้ชิดได้โดยแสดงอาการจำได้ เช่น การยิ้ม ส่งเสียง หรือแสดงความพอใจ กางแขนอ้ารับ หรือโน้มตัวหาผู้ดูแลที่คุ้นเคย 👶🏻✨
- เริ่มเรียนรู้และต่อยอดสิ่งที่รับรู้ให้เกิดเป็นผลงาน หรือการสร้างสรรค์ผ่านผลงานศิลปะ เช่น การเลียนแบบรูปเส้นตรง วงกลม กากบาท ตามแบบที่เตรียมไว้ให้ 💓🖼🧑🏼🎨
📝แนวทางที่ 3 : ความสามารถด้านภาษาและการสื่อความหมาย 🗣🗯
- ลูกเริ่มเปล่งเสียงโต้ตอบผู้พูด เริ่มจะคุยด้วย หรือ ทำตามคำบอกอย่างง่ายๆ ซึ่งเป็นเรื่องในชีวิตประจำวัน โดยไม่ต้องทำให้ดู
- สามารถสังเกตและเริ่มตั้งคำถามต่างๆ กับสิ่งรอบตัวเพื่อหาคำตอบ ว่า “ทำไม” เช่น ทำไมต้องรดน้ำต้นไม้ ทำไมต้องปิดพัดลม ทำไมใบไม้สีเขียว เป็นต้น
📝แนวทางที่ 4 : ความสามารถด้านอารมณ์และสังคม 🤗💙
- เด็กสามารถแสดงอารมณ์ผ่านการหัวเราะเอิ๊กอ๊ากเมื่อมีคนเล่นด้วยแล้วเกิดความพอใจ ถูกใจ สนุกกับผู้เล่นด้วย นอกจากนี้ยังสามารถแบมือรับของ และรู้จักขอบคุณได้
- รู้จักแสดงท่าทางไม่วางใจคนแปลกหน้า เช่น อาจไม่ให้อุ้มหรือเบือนหน้าหนีหรือ ทำหน้าเบะ เมื่อคนแปลกหน้าเข้ามาพูดคุยด้วย 😖❕
7 แนวทางการสังเกตสมรรถนะของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาตามวัย (3 - 5 ปี) 💖🙌🏻
ต่อมากับพัฒนาของลูกรักที่โตขึ้นอีกระดับ ในส่วนนี้จะเป็นการเจาะลึกการพัฒนาของเด็กปฐมวัยในช่วง 3 – 5 ปีเพื่อสังเกตเด็กแต่ละคนว่ามีศักยภาพเทียบเท่ากับเพื่อนวัยเดียวกันหรือไม่ และเตรียมความพร้อมในการพัฒนาลูกรักให้ก้าวทันเพื่อนๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 🤍💪🏻✨
อย่ารอช้า...มาดูกันเลยว่า 7 แนวทางการสังเกตสมรรถนะของลูกรักมีอะไรบ้าง 🤟🏻❕
📝 แนวทางที่ 1 : ความสามารถในการเคลื่อนไหวและสุขภาวะทางกาย 🤸🏻♀️🔅
- เด็กรู้จักชักชวนเพื่อนเล่นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเล่นที่สนามเด็กเล่น มีทักษะการปีนป่าย การก้าวกระโดดจากเครื่องเล่นต่างๆ กับเพื่อนในวัยเดียวกัน ❕
- เริ่มทำธุระส่วนตัวด้านสุขอนามัยได้ด้วยตัวเองโดยคุณพ่อ – คุณแม่ไม่ต้องช่วย เช่น การอาบน้ำ และสระผม เป็นต้น 👌🏻✔️
📝 แนวทางที่ 2 : พัฒนาการด้านสังคม 🤹🏻♀️🧩
- ส่วนนี้คือการพัฒนาของเด็กในด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เช่น รับรู้และเข้าใจสถานการณ์เมื่อเพื่อนหรือคนใกล้ตัวเศร้าใจ เด็กๆ จะเริ่มทำการเข้ามาปลอบเพื่อให้อีกฝ่ายสบายใจ 💔🩹🤏🏻
- เด็กๆ เริ่มรู้และเข้าใจถึงความแตกต่าง และปฏิบัติตนอย่างสุภาพกับทุกคน รวมถึงคนที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่ต่างไปจากตัวเอง 🙆🏻♀️💡
📝 แนวทางที่ 3 : พัฒนาการด้านอารมณ์ 🧘🏻♀🔺
- เด็กๆ จะสามารถบอกความรู้สึกของตนเองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และไม่แสดงอารมณ์โกรธหรือไม่พอใจจนเกินกว่าเหตุ
- ไม่แสดงความกลัวหรือวิตกกังวลกับสภาวการณ์หรือสิ่งที่ไม่มีเหตุต้องกลัว โดยมีผู้ใหญ่ช่วยให้คำแนะนำ และอธิบายถึงเหตุผลต่างๆ 💁🏻♀️💡
📝 แนวทางที่ 4 : พัฒนาการด้านการคิดและสติปัญญา 🧠💡✨
- เด็กๆ เริ่มพัฒนาการฟังนิทานโดยสามารถเล่ารายละเอียดได้อย่างถูกต้อง
- สามารถบอกเล่าเหตุผลเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจวัตรได้❕เช่น เหตุผลที่ต้องล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ แปรงฟันตอนเช้า ก่อนนอน และหลังอาหาร เป็นต้น 👶🏻🔅
7 แนวทางการสังเกตสมรรถนะของเด็กปฐมวัยให้พัฒนาตามวัย (3 - 5 ปี) 🤍💁🏻♀️✔️
ต่อเนื่องจาก 4 แนวทางการพัฒนาศักยภาพลูกรักในวัย 3 – 5 ปี กับอีก 3 ข้อส่งท้ายสู่การเสริมทักษะและศักยภาพให้ลูกรักเติบโตอย่างมีคุณภาพ ต้องสังเกตสมรรถนะส่วนไหนเพิ่มเติมมาดูกันเลย 👊🏻💥❕
📝 แนวทางที่ 5 : พัฒนาการด้านภาษา 👥🆙❕
- เด็กเริ่มมีการพัฒนาด้านการอ่าน และการเขียน โดยเริ่มจากการจดจำและสามารถชี้บอกพยัญชนะที่จำได้ในคำต่างๆ อย่างน้อย 10 ตัว ❕🖐🏻
- สามารถนำคำมาต่อกันและพูดเป็นประโยคได้ โดยมีคำนามและคำกริยา เช่น หนูจะหาแม่ / จะกินข้าว / หนูอิ่มแล้ว เป็นต้น
📝 แนวทางที่ 6 : พัฒนาการด้านจริยธรรม
- รู้จักการแสดงความชื่นชมในความสามารถ ผลงาน หรือความสำเร็จของผู้อื่นด้วยตนเอง 👏👶🏻🔅เช่น เอ่ยชม ตบมือ
- รู้สึกภูมิใจและเลือกที่จะทำในสิ่งที่ดี มีประโยชน์ต่อตัวเองและส่วนรวม เช่น ช่วยแม่ทำงานบ้าน พูดจาไพเราะ เป็นต้น 🙆🏻♀️❕
📝 แนวทางที่ 7 : พัฒนาการด้านการสร้างสรรค์ 🩰🎻🔝
- เป็นช่วงวัยแห่งการพัฒนาความสร้างสรรค์ด้วยการเต้นตามดนตรี ทำท่าทางตามจินตนาการประกอบด้วยตนเอง
- สามารถต่อของเล่นเป็นรูปร่างหรือเรื่องราวตามจินตนาการของตัวเอง เช่น ตัวต่อพลาสติก บล็อกไม้ เป็นต้น 💃🧩❕
มาเช็กสมรรถนะเด็กๆ ด้วย “ตารางวัดสมรรถนะลูกรัก” กันเถอะ 🖐🏻❕
น้องพาเพลินขอเชิญชวนคุณพ่อ คุณแม่วัดสมรรถนะลูกรักเพื่อพัฒนาลูกรักให้เติบโตอย่างเต็มศักยภาพ 🙆🏻♀️✨ ด้วยตารางวัดสมรรถนะลูกรัก ที่ถูกคิดค้นเพื่อเป็นคู่มือเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะเด็กๆ ให้เท่าทันเพื่อนๆ วัยเดียวกัน และสามารถต่อยอดศักยภาพในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ 🤍🔝
โดยการจัดอันดับ (Quartile) จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ลำดับด้วยกันค่ะ 💁🏻♀️ ✔️ซึ่งจะวัดจากการแสดงสมรรถนะของเด็กๆ ในช่วงกลุ่มอายุของตัวเอง ระหว่างร้อยละ 26 – 50, ร้อยละ 51 – 75 และร้อยละ 76 – 100 ตามลำดับ หรือ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ ⬇️⬇️⬇️
⭐️ ผลสมรรถนะร้อยละ 76 – 100
ลูกรักของเราอยู่ในเกณฑ์ “สีเขียว” โอ้โห❕สุดยอดไปเลยศักยภาพเต็มเปี่ยม ต้องยกนิ้วให้แล้ว ✨👍🏻
⭐️ ผลสมรรถนะร้อยละ 51 - 75
ลูกรักของเราอยู่ในเกณฑ์ “สีม่วง” เยี่ยมไปเลย ❕ พัฒนาการดีขนาดนี้ โตอย่างเต็มศักยภาพได้ไม่ยากเลยล่ะ 🤔🆙
⭐️ ผลสมรรถนะร้อยละ 26 – 50
ลูกรักของเราอยู่ในเกณฑ์ “สีเหลือง” ทำดีแล้วนะ ลองพยายามขึ้นอีกนิดก็จะเจ๋งมากเลย 💖☝🏻
⭐️ ผลสมรรถนะร้อยละ 0 - 25
ลูกรักของเราอยู่ในเกณฑ์ “สีแดง” เริ่มต้นดีแล้วนะ มาพัฒนากันอีกหน่อยเก่งขึ้นแน่นอน 💪🏻💡
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ❔ กับแนวทางการพัฒนาลูกน้อย เพียงแค่รู้จักสังเกตให้ตรงจุดลูกรักของเราก็สามารถเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพแล้วค่ะ น้องพาเพลินเชื่อว่าไอเดียเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เติมเต็มทักษะลูกรักได้อย่างมีคุณภาพแน่นอนค่ะ 🧐🔍✨
#OECnews #สภาการศึกษา #การเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด #ปฐมวัย #พัฒนาการเด็กปฐมวัย
📝OEC News สภาการศึกษา
• Website:
http://www.onec.go.th
• Facebook:
https://www.facebook.com/OECSocial
• YouTube:
https://bit.ly/2zXPkxO
• LINE: @OECNews |
http://line.me/ti/p/@OECNews
เด็กปฐมวัย
การศึกษา
พัฒนาการเด็กปฐมวัย
บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
อัปเดตเทรนด์การศึกษา2021
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย