Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bnomics
•
ติดตาม
19 ต.ค. 2021 เวลา 00:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
“วิกฤตพลังงานทั่วโลก” มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกเพียงเล็กน้อย
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กว่า 20 จังหวัดในประเทศจีน จำเป็นที่จะต้องปันส่วนแบ่งช่วงเวลาในการใช้ไฟฟ้ากัน เนื่องจากปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนนับล้าน โรงงานบางแห่งถูกบังคับให้ปิดตัวลงชั่วคราวหรือเปิดดำเนินการได้ในเวลาที่จำกัด ในขณะที่ร้านค้าบางแห่งต้องใช้เทียนไขหรือไฟฉายพกพาเพื่อให้แสงสว่างแทนหลอดไฟ
สาเหตุหลักของปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในครั้งนี้ คือ การพึ่งพาถ่านหินที่มากเกินไปของจีน โดยจีนผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินกว่า 60% ของจำนวนการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศ และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ การที่โดยปกติแล้วราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหิน รัฐบาลจีนจะอนุญาตให้ปรับราคาเพิ่มขึ้นได้เพียง 10% และปรับลดลงได้ต่ำสุดที่ 15% จากราคาพื้นฐาน แต่ในช่วงนี้ราคาต้นทุนถ่านหินปรับตัวสูงขึ้นมากส่งผลทำให้โรงไฟฟ้าถ่านหินปรับลดกำลังการผลิตเนื่องจากสามารถทำกำไรได้น้อยลง
2
เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว สัญญาซื้อขายถ่านหินให้ความร้อนในตลาดซื้อขายเจิ้งโจวปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 5% สู่ระดับ 1,647 หยวน (256 ดอลลาร์) ต่อตัน ส่งผลให้ราคาถ่านหินปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 150% นับตั้งแต่ต้นปีนี้ ปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มขึ้นมากเป็นผลมาจากพายุฝนและน้ำท่วมที่ทำให้เหมืองถ่านหินของจีนปิดตัวลงกว่า 60 แห่งจาก 682 แห่งในมณฑลซานซี ซึ่งเป็นมณฑลที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสามารถผลิตถ่านหินได้กว่า 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตถ่านหินทั้งหมดในจีน
1
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าถ่านหินให้ความร้อน ในตลาด ZCE
เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในประเทศจีน รัฐบาลจีนได้ดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อสนับสนุนการผลิตถ่านหิน อาทิเช่น การออกคำสั่งให้ เหมืองถ่านหินกว่า 72 แห่งในประเทศมองโกเลียเพิ่มกำลังการผลิตรวมกว่า 98.4 ล้านตัน และนอกจากนั้น คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน (NDRC) วางแผนที่จะอนุญาตให้ราคาไฟฟ้าจากถ่านหินปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 10% และปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดเพื่อดึงดูดให้มีการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินเพิ่มมากขึ้น
1
อย่างไรก็ตาม ในตอนนี้จีนไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจในเอเชียเพียงประเทศเดียวที่เผชิญกับวิกฤตด้านพลังงาน อินเดียก็กำลังเจอกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากปริมาณถ่านหินในโรงงานไฟฟ้าลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ และรัฐบาลก็กำลังประกาศเตือนปัญหาไฟฟ้าดับในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ สต็อกถ่านหินของอินเดียลดลงมาแล้วกว่า 80% เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหาไฟฟ้าดับไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านการผลิตถ่านหิน แต่เกิดจากความล้มเหลวในการวางแผนจัดเก็บถ่านหินให้เพียงพอต่อความต้องการที่มากขึ้นของตลาด
1
เพื่อช่วยบรรเทาปัญหานี้ Coal India Limited รัฐวิสาหกิจถ่านหินรายใหญ่ในอินเดียได้มีการระงับการประมูลถ่านหินทั้งหมด ยกเว้นการประมูลจากบริษัทด้านพลังงาน เนื่องจากต้องการให้โรงงานด้านพลังงานมีถ่านหินเพียงพอสำหรับการใช้และสามารถจ่ายไฟให้กับภาคส่วนอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจในครั้งนี้ก็ส่งผลลบต่อบางธุรกิจ เช่น โรงถลุงอะลูมิเนียม และผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ที่จำเป็นจะต้องใช้ถ่านหินเช่นกัน
สต็อกถ่านหินของอินเดีย
ส่วนทางด้านยุโรปนั้นกำลังเผชิญกับปัญหาขาดแคลนก๊าซธรรมชาติ โดยราคา TTF หรือราคามาตรฐานที่ใช้วัดราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรป ได้ทำสถิติเพิ่มขึ้นสูงสุดเนื่องจากมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 400% ตั้งแต่ต้นปี โดยการเพิ่มขึ้นของราคาก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกจากเศรษฐกิจที่เริ่มกลับมาฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 การผลิตก๊าซในยุโรปลดลง และการสำรองก๊าซธรรมชาติในยุโรปก็อยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ นอกจากนี้ ยุโรปต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซจากประเทศรัสเซียมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ด้านผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอย่างรัสเซีย กลับไม่ได้ส่งออกก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นให้เพียงพอต่อความต้องการของยุโรป เนื่องจากทางรัสเซียก็กำลังกักตุนสำรองก๊าซธรรมชาติไว้สำหรับประเทศตนเองเช่นกัน
ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 2 ที่เป็นท่อส่งก๊าซที่จะส่งออกจากจากรัสเซียไปยังยุโรปผ่านทะเลบอลติก คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขวิกฤตการณ์ก๊าซของยุโรป อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อกำหนดด้านกฎระเบียบเพิ่มเติมที่กำหนดไว้โดยยุโรป ส่งผลทำให้วันที่จะเริ่มส่งออกก๊าซยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
ท่อส่งออกก๊าซธรรมชาติ Nord Stream 2 คาดว่าจะสามารถส่งก๊าซได้ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี เมื่อรวมกับ Nord Stream ที่มีอยู่ก่อน คาดว่าจะส่งก๊าซได้มากถึง 110,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
ราคาก๊าซในยุโรปอ้างอิงจากราคา TTF ของเนเธอแลนด์
โดยรวมแล้ว เราคาดว่าวิกฤตพลังงานในประเทศจีน อินเดีย และยุโรปจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากปัญหาดังกล่าวคาดว่าน่าจะคลี่คลายลงในไม่ช้า และรัฐบาลในหลายประเทศก็กำลังดำเนินการหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ก็ได้มีปรับลดตัวเลขคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจโลกสำหรับปีนี้เป็น 5.9% จาก 6% ในเดือนกรกฎาคม โดยให้เหตุผลว่าปัญหาด้านซัพพลายเชนนั้นเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก
ตัวเลขคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจ โดย IMF
#วิกฤตพลังงาน #พลังงานไฟฟ้า #พลังงานขาดแคลน #จีน #วิกฤตพลังงานจีน
#Bnomics #GlobalEconomicUpdate #เศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน
ผู้เขียน : ธีระภูมิ วุฒิปราโมทย์ Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶︎ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Website :
https://www.bnomics.co
Facebook :
https://www.facebook.com/Bnomics.co
Blockdit :
https://www.blockdit.com/bnomics
Line OA : @Bnomics
https://bit.ly/3eYkTJC
Youtube :
https://www.youtube.com/bnomics
Twitter :
https://twitter.com/bnomics_co
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
8 บันทึก
16
10
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Global Economic Update
8
16
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย