Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
18 ต.ค. 2021 เวลา 17:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แบคทีเรียกินโลหะ ความหวังของการทำเหมืองแร่แบบรักษ์โลก
ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้สามารถย่อยตะปูเหล็กยาว 3 นิ้วให้กลายเป็นสารละลายสีน้ำตาลแดงได้ภายในเวลาเพียง 3 วัน
1
ตะปูที่กำลังถูกย่อยโดยแบคทีเรียชนิดพิเศษ
การทำเหมืองแร่เพื่อถลุงเอาโลหะมีค่าออกมาจากธรรมชาตินั้นเป็นที่รู้กันว่าสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม
1
ทั้งจากน้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการถลุง การก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักลงไปยังแหล่งน้ำในบริเวณใกล้เคียง
หนึ่งในประเทศที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมจากากรทำเหมืองก็คือประเทศชิลีซึ่งเป็นผู้ผลิตและส่งออกทองแดงรายใหญ่ของโลก 15% ของ GDP ประเทศนี้ก็มาจากอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองแดง
สารพัดผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมือง
ซึ่งก็ได้มีความพยายามในการพัฒนารูปแบบการทำเหมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หนึ่งในวิธีที่กำลังวิจัยและพัฒนานั้นคือการทำเหมืองแบบ Biomining
โดยอาศัยแบคทีเรียที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการสกัดโลหะจากก้อนสินแร่ที่เรียกว่า Bioleaching ซึ่งเทคนิคนี้สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า
1
แบคทีเรีย Leptospirillum
สำหรับแบคทีเรียที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนากระบวนการสกัดโลหะออกจากสินแร่นี้มีชื่อว่า Leptospirillum ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบในสภาพแวดล้อมสุดขั้ว อย่างเช่น บริเวณแอ่งน้ำพุร้อนที่ร้อนจัดและมีสภาพความเป็นกรดสูง
2
โดยทีมนักวิจัยจากชิลีได้นำพวกมันมากจากบ่อน้ำพุร้อน Tatio geysers ห่างจากเมือง Antofagasta ในชิลี 350 กิโลเมตรและอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 4,200 เมตร
บ่อน้ำพุร้อน แหล่งที่อยู่อาศัยของแบคทีเรีย Leptospirillum
ซึ่งปกติแล้วในการที่แบคทีเรีย Leptospirillum จะสามารถย่อยตะปูเหล็กขนาด 3 นิ้วให้หมดไปได้นั้นจะใช้เวลานานกว่า 2 เดือนเลยทีเดียว
แต่ด้วยเทคนิคใหม่ที่ทีมวิจัยได้พัฒนาขึ้นมานี้จะสามารถทำให้แบคทีเรียสามารถย่อยตะปูให้กลายเป็นเพียงสารละลายสีน้ำตาลแดงได้ภายใน 3 วัน
ตะปูทั้งแท่งละลายหายกลายเป็นน้ำสีน้ำตาลแดง
โดยการปล่อยให้แบคทีเรียเหล่านี้อยู่ในสภาพขาดอาหารซึ่งจะกระตุ้นให้พวกมันต้องพยายามปรับตัวเพื่อจะมีชีวิตรอด และเป็นการเร่งให้กระบวนการแปลงสภาพตะปูเหล็กให้กลายเป็นสารละลายเร็วขึ้น
1
ซึ่งสารละลายนี้สามารถนำไปใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสกัดแยกทองแดงจากกระบวนการแยกสกัดโดยการใช้ตัวทำละลายที่เหมาะสมชะละลายสินแร่หรือสารประกอบที่ได้จากการประกอบโลหกรรมอื่น ๆ หรือ hydrometallurgy
1
หวังว่าการทำเหมืองแร่ด้วยกระบวนการชีวภาพนี้จะสามารถนำมาใช้งานในการทำเหมืองแร่ได้อย่างแพร่หลาย การทำเหมืองจะได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสียที
Source:
https://interestingengineering.com/metal-eating-bacteria-devours-a-nail-in-just-three-days
https://www.sciencedirect.com/topics/agricultural-and-biological-sciences/leptospirillum
https://phys.org/news/2021-10-chilean-scientist-metal-bacteria.html
https://th.strephonsays.com/biomining-and-bioleaching-9658
12 บันทึก
80
3
18
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Green Tech
12
80
3
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย