19 ต.ค. 2021 เวลา 07:04 • ปรัชญา
ในคำว่า มนุษย์ที่เคลื่อนไหวไปมาได้ ประกอบไปด้วยกายอารมณ์แล้วก็จิต ในคำว่าจิตนั้น มีผู้ที่เปรียบเทียบว่า จิตเหมือนสำลี เหมือนน้ำบ้าง หากเราเปรียบจิตเหมือนสำลี จิตเปียกน้ำสำลีเปียกน้ำนั้นเป็นอย่างไร เราก็ลองพิจารณาดูว่ามันจะลอยจะเบามั้ย ถ้าสำลีเปียกน้ำโคลน มันก็ยิ่งเลอะเทอะกันใหญ่ ยากจะแก้ไขให้กลับมาเป็นสำลีที่ขาวสะอาด
สิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็เหมือนเป็นอุปสรรคให้กับจิต สิ่งที่เป็นน้ำโคลนที่จิตไปยึดนั้น มันก็ยึดจมอยู่อย่างนั้น คราวนี้ เมื่อเรารู้จัก ว่าจิตเรามีลักษณะเป็นอย่างที่ว่าหรือไม่ เราก็ต้องมาฝึกหัดปฏิบัติธรรมขึ้น เมื่อเราได้มีการปฏิบัติธรรมเกิดขึ้น นั่งนิ่ง มีสติสัมปชัญญะนิ่งเฉย ดำรงสติมั่น ไม่หวั่นไหว ในสิ่งที่เกิดขึ้นภายในกายนี้ จิตเฉย สตินิ่งอยู่ที่ลมหายใจเข้าออก เราก็ฝึกทำขึ้น ว่าจิตเรานิ่งได้มั้ยหรือว่า มีอะไรมาทำให้เราไม่สามารถนิ่งได้ สิ่งที่ทำให้เราไม่สามารถหยุดนิ่งได้ ไม่มีความนึกคิดอะไร ก็คือ อารมณ์ มีอารมณ์อะไรบ้าง ที่เกิดขึ้น เราสามารถปฏิเสธ หรือปัดอารมณ์ความนึกคิด นั้นได้มั้ย สิ่งที่เป็นอารมณ์ความนึกคิดอะไร ต่างๆนั้น ก็คือน้ำโคลน ที่ปกคลุมจิตนั้นอยู่ ยึดหลงใหลอยู่ ยึดโดยไม่รู้ตัวว่ายึดอยู่ เป็นปกติของมนุษย์ทั่วไป
ถ้าหากเราก็การรักษากายรักษาจิต ทำบุญกุศล ปฏิบัติธรรมเป็นนิจสิน เพื่อลดละอารมณ์กรรม ลดละพฤติกรรมตามอารมณ์ของกายวาจาใจที่สร้างกรรมให้จิตเรามีธรรม จิตเราก็จะค่อยๆขยับ หรือ เค้าเรียกว่าจิตเราโตขึ้น เราก็ค่อยมองเห็นเรื่องราวภายในกายของตน ที่ไหลออกมาเป็นอารมณ์ต่างๆ ที่เก็บไว้กับธาตุทั้งสี โดยการกระทำให้กายนิ่งจิตนิ่งได้ มีขันติได้ สิ่งที่ปรากฏออกมา เป็นลักษณะของสี ที่ลอยออกไป ซึ่งเราต้องรักษากายนิ่งไว้ ให้หมอกควันนั้นละลายไปลอยออกไป เหมือนเราลอกของสกปรกนั้นออก ทำไปเรื่อยๆเป็นนิจสิน กายก็เบาจิตก็เบา เบาเรื่องของอารมณ์ เรื่องของกรรม ไปเรื่อยๆ แล้วอีกเรืองที่เรารักษากายนิ่งได้ ขันติต่อเวทนาที่เกิดขึ้น ก็เหมือนกับว่าเราได้ชดใช้กรรมที่ไปเบียดเบียนทำลายชีวิตผู้อื่นให้เค้าทุกข์ด้วยกายวาจาใจ..ที่เราใช้ด้วยความประมาท ขาดสติในการใช้กายวาจาใจของเราเอง
เรื่องราวเหล่านี้มีคำพูดอันหนึ่งที่บอกว่า ธรรมนั้นต้องการคนจริง คนที่ทำจริงๆ ก็ได้เรียนรู้ของจริง ให้ปรากฏเป็นมโนทัศนศึกษา ที่เราจะเข้าใจในเหตุผลเกิดขึ้นที่จิตตน เหมือนชั้นเรียนของจิต เรียนรู้ชำระสะสางกรรมของจิตตน ที่ยึดกรรมเป็นอัตตา เรื่องราวการสะสางสิ่งเหล่านี้ อาศัยความเพียรกับกาลเวลาชำระสะสางต่อเนื่องกันเป็นชาติๆ หลายๆชาติ เหมือนเรื่องราวชาดกขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
โฆษณา