Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Wild Chronicles
•
ติดตาม
19 ต.ค. 2021 เวลา 07:46 • ประวัติศาสตร์
*** จากมาเลสู่เบตง: “วีรชน” ที่ชาติไม่ต้องการ ***
ในมาเลเซียและภาคใต้ของไทย มีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเรียกว่า “ชาวจีนช่องแคบ” พวกเขาเดินทางมาไกลจากบ้านเกิดเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และต่อมาได้ค้าขายจนร่ำรวยมีฐานะขึ้นเป็นอันมาก
ในยุคสงครามโลกครั้งที่สองพวกเขาบางส่วนต่อสู้กับญี่ปุ่นเพื่อปกป้องบ้านเมืองมาเลเซียอย่างกล้าหาญ ...จริงๆ ควรจะได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษ แต่วีรกรรมนั้นกลับถูกกลบฝัง ด้วยเหตุผลว่า พวกเขาเหล่านั้นเป็น “คอมมิวนิสต์”
รูปแบบความคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับนี้เองได้กลายเป็นชนวนเหตุของความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ จนเป็นปัญหาเรื้อรังมาจนถึงปัจจุบัน
บทความนี้จะพาทุกท่านย้อนรอยไปติดตามเส้นทางของพรรคคอมมิวนิสต์มลายา ตลอดจนปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างชาติพันธุ์จีนกับมลายูที่ตกทอดมาถึงมาเลเซียสมัยใหม่กันครับ
ภาพแนบ: อุโมงค์เขาน้ำค้าง สงขลา ซึ่งฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์เคยใช้เป็นฐาน ภาพจากการท่องเที่ยวไทย
*** ชาวจีนช่องแคบ ***
ชาวจีนอพยพเข้าแหลมมลายูเรื่อยๆ โดยมีระลอกใหญ่ในศตวรรษที่ 15 เมื่อราชวงศ์หมิงพัฒนาความสัมพันธ์กับชาติมลายู และเมื่อเกิดอาณานิคมอังกฤษในพื้นที่ช่วงศตวรรษที่ 18-19 เนื่องจากคนจีนเห็นว่าที่นี่มีโอกาสทำกินมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านเกิด
1
ภาพแนบ: เด็กชาวจีนช่องแคบ สังเกตเครื่องแต่งกายจะมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนทั้งจีนและมลายูนะครับ
ชาวจีนเหล่านี้ได้แต่งงานกับคนมลายูพื้นเมือง ผสมกลมกลืนเป็นเผ่าพันธุ์ใหม่เรียกว่า “ชาวจีนช่องแคบ” (Straits Chinese) พบมากในสิงคโปร์ มาเลเซีย และภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะเมืองภูเก็ต ระนอง ปีนัง มะละกา
ในไทยเรียกคนเหล่านี้ว่าบ้าบ๋า-ย่าหยา ในมาเลเซียเรียกพวกเขาว่าเปอรานากัน
ภาพแนบ: อาคารแบบชิโนโปรตุกีสในภูเก็ต
พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านทรงชิโนโปรตุกีส (หาดูได้ในเขตเมืองเก่าภูเก็ต) รับประทานอาหาร และแต่งกายแบบจีนผสมมลายู นอกจากนั้นยังนิยมประดับเครื่องเพชรอันหรูหราวิจิตร จนกลายเป็นเอกลักษณ์อีกอย่าง
ชาวจีนเหล่านี้ค้าขายเก่ง มักสร้างตนมีฐานะร่ำรวย มีอิทธิพลมาก ปัจจุบันชาวจีนช่องแคบที่อยู่ในไทยผสมกลมกลืนไปกับคนไทย แต่ที่อยู่ในมาเลเซียมีเรื่องราวซับซ้อนกว่านั้น…
*** จีนช่องแคบกับการเมืองในจีน ***
ชาวจีนช่องแคบยังมีความสัมพันธ์กับจีนแผ่นดินใหญ่ และบ่อยครั้งช่วยสนับสนุนทางการเมือง เช่นในช่วงก่อนการปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงปี 1911 ซุนยัตเซ็นผู้นำการปฏิวัติจีนได้เดินสายเรี่ยไรขอการสนับสนุนสำหรับชาวจีนโพ้นทะเล โดยเดินทางมาเยี่ยมชุมชนจีนหลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งที่ปีนัง และเยาวราช
ในปี 1925 ชาวจีนช่องแคบได้ก่อตั้งขบวนการคอมมิวนิสต์ ชื่อ “พรรคคอมมิวนิสต์ทะเลใต้” ที่สิงคโปร์ ก่อนถูกทางการสั่งยุบ อย่างไรก็ตามได้มีพรรคค...
ภาพแนบ: สำนักงานพรรคคอมมิวนิสต์มลายา
*** คอมมิวนิสต์กู้ชาติ? ***
พรรคคอมมิวนิสต์มลายา (Malayan Communist Party: MCP) ก่อตั้งขึ้นในปี 1930 โดยมีสมาชิกส่วนใหญ่มีเป็นชาวมลายูเชื้อสายจีน พวกเขาค่อยๆ แผ่อิทธิพลในหมู่ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ โดยร่วมมือกับสหภาพแรงงานหลายแห่ง
1
เมื่อเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในปี 1937 ชาวจีนช่องแคบทั้งที่สนับสนุนก๊กมินตั๋งกับคอมมิวนิสต์ต่างจับมือกันระดมทุนเพื่อปกป้องประเทศจีน
ภาพแนบ: อังกฤษเสียสิงคโปร์แก่ญี่ปุ่น
เมื่อญี่ปุ่นบุกมาเลเซีย (ตอนนั้นเป็นอาณานิคมอังกฤษ ชื่อว่าบริติชมลายา) ในเดือนธันวาคม 1941 พรรค MCP ได้ขอเสนอตัวร่วมมือกับอังกฤษ แลกกับการปล่อยตัวนักโทษฝ่ายซ้ายและคำสัญญาว่าเมื่อชนะสงครามจะรับรองสถานะของพรรค นำสู่การที่ทางการอังกฤษฝึกพวกเขาเป็นนักรบกองโจรรุ่นแรกจำนวนร้อยกว่าคนที่สิงคโปร์ แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ 1942 สิงคโปร์ก็ได้เสียให้แก่ญี่ปุ่น
ภาพแนบ: ธง MPAJA
ช่วงไล่เลี่ยกัน MCP จัดตั้งขบวนการกู้ชาติที่เรียกว่า กองทัพประชาชนมลายาต่อต้านญี่ปุ่น (Malayan Peoples' Anti-Japanese Army: MPAJA) และเริ่มทำกองโจรลอบทำลายทรัพยากรและซุ่มโจมตีทหารญี่ปุ่น
1
ด้านญี่ปุ่นตอบโต้ด้วยออกมาตรการกดขี่คนเชื้อสายจีน ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากต้องหนีออกจากเมืองไปอยู่ตามชายป่า กลายเป็นผู้ให้การสนับสนุนทั้งด้านกำลังพลและเสบียงแก่ MPAJA
ภาพแนบ: การเดินสวนสนามของ MPAJA
ในเดือนกันยายน 1942 ทางการญี่ปุ่นกวาดล้างสมาชิกพรรคได้ขนานใหญ่ ทำให้ MPAJA ได้รับความเสียหาย และต้องเลี่ยงการปะทะ จนค่อยๆ รวบรวมกำลังพลได้ใหม่จำนวน 4,500 คนในปี 1943
ในปี 1943-1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรติดต่อกับกลุ่มกองโจร และตกลงกันได้ว่า MPAJA จะรับแนวทางบางส่วนจากกองบัญชาการฝ่ายสัมพันธมิตร แลกกับอาวุธและเสบียงกลายเป็นกำลังท้องถิ่นหลักที่สู้รบกับญี่ปุ่นในช่วงนั้น แต่ไม่มีรายละเอียดการลงมือใหญ่ (คาดว่าน่าจะนัดหมายก่อการกับฝ่ายสัมพันธมิตรเหมือนกับเสรีไทย แต่สงครามยุติลงเสียก่อน)
ภาพแนบ: ไลเต็ก
ในเดือนสิงหาคม 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนน และทางการอังกฤษกลับเข้าควบคุมมลายาอีกครั้ง
ฉากหน้า MPAJA นั้นยอมสลายตัวและมอบอาวุธคืน แต่ยังแอบเก็บอาวุธไว้บางส่วน ในช่วงแรกๆ พรรคมีความเห็นแตกกันว่า "จะปลดแอกอังกฤษตั้งตัวเป็นรัฐคอมมิวนิสต์เลยหรือไม่?" แต่นายไลเต็ก (Lai Teck) หัวหน้าพรรคขณะนั้นเห็นชอบกับแผนเรียกร้องเอกราชแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า
ในปี 1946 พรรคคอมมิวนิสต์เกิดแตกกันเอง เนื่องจากสมาชิกพรรคสงสัยกับแนวทางของไลเต็ก จึงได้เปิดการสอบสวนเขา แต่ไลเต็กได้หลบหนีออกนอกประเทศไปพร้อมกับเงินของพรรค (ในภายหลังมีบันทึกว่าไลเต็กเป็นสายของทางการอังกฤษตั้งแต่ต้นด้วย)
ภาพแนบ: จินเป็งวัยหนุ่ม
แต่การกวาดล้างผู้นำพรรคโดยญี่ปุ่นเมื่อปี 1942 และการออกจากพรรคของไลเต็กเปิดทางให้คนรุ่นใหม่ได้ขึ้นมาเป็นผู้นำแทน
เลขาธิการพรรคคนต่อมา คือ จินเป็ง (Chen Peng คนไทยเรียก “จีนเป็ง”) วัย 26 ปี ซึ่งต่อมาเป็นถึงบุคคลที่ทางการอังกฤษต้องการตัวมากที่สุด มีค่าหัวถึง 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ภาพแนบ: พิธียอมจำนนของทหารญี่ปุ่นที่กัวลาลัมเปอร์
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา ***
ถึงแม้ทางการอังกฤษจะเร่งการผลิตดีบุกและยางจนเศรษฐกิจมลายาฟื้นตัวหลังสงคราม แต่ทางการเลือกปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักทำให้กระแสคอมมิวนิสต์ยิ่งรุนแรงขึ้น ทางการอังกฤษพยายามคิดอ่านป้องกัน เพราะเกรงกลัวภัยคอมมิวนิสต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต้องการคุ้มครองแหล่งผลิตยางซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญ
นอกจากนี้ทางการอังกฤษยังบิดพลิ้วไม่ยอมรับสถานะของพรรคคอมมิวนิสต์ที่เคยสัญญาว่าจะให้แลกกับการช่วยสู้ญี่ปุ่น โดยอ้างว่าพรรคไม่ยอมยุติการแทรกซึมแบบคอมมิวนิสต์และคืนอาวุธไม่ครบ
ภาพแนบ: ลีเม็ง (Lee Meng) หนึ่งในหัวหน้าคอมมิวนิสต์ในรัฐเปรัก
ความตึงเครียดปะทุออกมาในเดือนมิถุนายน 1948 เกิดเหตุการณ์ที่ชาวอังกฤษผู้จัดการสวนยาง 3 คนถูกคนเชื้อสายจีนฆ่า ทำให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินให้ตำรวจสามารถจับกุม, ลงโทษถึงขั้นวิสามัญฆาตกรรมได้โดยไม่ต้องขึ้นศาล
ภายในหนึ่งเดือนมีการจับกุมสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์หลายร้อยคน และมีการประกาศให้พรรคผิดกฎหมาย สมาชิกพรรคจึงได้กลับไปรวมกันในป่า และก่อตั้งกลุ่มกองโจรต่อสู้อังกฤษขึ้น
ภาพแนบ: ตำรวจอังกฤษและมลายูสอบสวนชาวจีน
ในปี 1949 กลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ใช้ชื่อว่า “กองทัพปลดปล่อยประชาชนมลายู (MPLA)” โดยเรียกร้องให้มีการตั้งรัฐคอมมิวนิสต์
พวกเขามีทหารประมาณ 4,000 คน ทำการตามป่าเขา และคอยลงมือซุ่มโจมตีตามถนนหรือรางรถไฟ โดยค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 17 ครั้งต่อเดือนมาถึง 100 ครั้งต่อเดือนเมื่อถึงปี 1950 นอกจากนี้ยังลงมือฆ่าข้าหลวงใหญ่อังกฤษ เซอร์เฮนรี เกอร์นี ได้ในปี 1952
3
ฝ่ายอังกฤษตอบโต้ด้วยการบังคับย้ายชาวบ้านเชื้อสายจีนออกจากชายป่าให้มาอยู่ในเขตกักกัน ซึ่งรวมแล้วมีชาวจีนช่องแคบราว 650,000 คนตกอยู่ในสภาพนี้ นอกจากนี้ทางการยังใช้วิธีควบคุมการขายอาหารอย่างเคร่งครัด และเผาหมู่บ้านที่ต้องสงสัยว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ด้วย
ภาพแนบ: ตวนกู อับดุลเราะห์มัน
14. ผลของกดขี่ของอังกฤษทำให้ชาวจีนช่องแคบประสบความลำบากมาก ทำให้คนออกห่างจากพรรคคอมมิวนิสต์ และพรรคต้องหันไปต่อสู้ผ่านทางสหภาพแรงงานกับพรรคอื่นๆ แทน
ในปี 1955 อังกฤษค่อยๆ มีกระบวนการให้เอกราชมาเลเซีย ตามกระแสปลดปล่อยชาติอาณานิคม ตอนนั้นมีการจัดการเลือกตั้งครั้งแรก "ตวนกู อับดุลเราะห์มัน" ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
ภาพแนบ: อนุสาวรีย์แห่งชาติมาเลเซีย มีการรำลึกถึงผู้เสียชีวิตระหว่างเหตุการณ์ภาวะฉุกเฉินมลายาด้วย
จินเป็งเป็นฝ่ายขอเจรจากับทางการมาเลเซีย แต่เมื่อพบกันอย่างเป็นทางการ ทั้งสองฝ่ายกลับเห็นไม่ตรงกันในเรื่องสถานะของ MCP โดยทางการอยากให้ยุบพรรค แต่จินเป็งขอให้เป็นพรรคถูกกฎหมาย ทำให้การเจรจาล้มเหลว และ MCP ต้องไปสู้รบในป่าเขาต่อ
ในช่วงปี 1957-1960 ทางการสามารถบีบ MCP ได้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยสามารถติดสินบนผู้นำระดับสูงคนหนึ่งให้ยอมวางอาวุธได้ ต่อมาพื้นที่ “สีแดง” ของ MCP ลดลงจนเหลือเพียงพื้นที่ปฏิบัติการแถวชายแดนไทย-มาเลเซียเท่านั้น
*** ตัดเข้าช่วงโฆษณา ***
เมื่อเขียนเรื่องคอมมิวนิสต์ เลยขอโฆษณาว่าหนังสือ "เชือดเช็ดเชเชน" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ ตอนนี้เปิดให้จองแล้ว
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของชนกลุ่มน้อยเชเชน ตลอดจนประวัติศาสตร์รัสเซียยุคหลัง โดยเน้นบทบาทของปูตินในการต่อสู้เพื่อขึ้นครองอำนาจ, ปฏิรูปรัสเซีย, และทำสงครามปราบชาวเชเชน
- หนังสือเล่มนี้มีผู้วิจารณ์มากมายว่า "โหดสัสรัสเซีย"
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน แน่นอนว่ามีความโหดสัสมากขึ้นไปอีก
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles 😉
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
https://www.gbprimepay.com/payment/m/noncart/TWC/591858
นอกจากนี้ ยังขอโฆษณาว่าหนังสือ "ประวัติย่อก่อการร้าย War on Terror" ที่พิมพ์ครั้งก่อนขายหมดจากตลาดไปนานแล้ว มีแผนจะพิมพ์ใหม่ปลายปีนี้นะครับ
ตอนแรกว่าใกล้ๆ เสร็จแล้วค่อยทำโปร แต่เหตุการณ์ในอัฟกานิสถานและรำลึก 9/11 ทำให้มีคนถามมาเยอะเหลือเกิน เลยเปิดให้จองก่อน
- หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องประวัติของขบวนการก่อการร้ายสากลตั้งแต่ยุคอัลเคดามาต่อ ISIS
- ผมตั้งใจจะเพิ่มเนื้อหาให้อัพเดทถึงปัจจุบัน
- พิมพ์เป็นสี่สีแน่นอน
- ปกพิมพ์สีเมทัลลิก ปั้มนูนและปั้มเงินที่ชื่อเหมือนเล่มสุริยันพันธุ์เคิร์ด รับรองว่าสวยมาก เหมาะแก่การสะสม สำนักพิมพ์ The Wild Chronicles เราพิมพ์เองแล้วจะทำอะไรก็ได้ 555
- มีเซ็นลายเซ็นพิเศษประจำเล่มให้ครับ
- ราคาอยู่ที่ 389 บาท สั่งพรีออเดอร์ตอนนี้ลดเหลือ 369 บาท และฟรีค่าส่งในประเทศ (ปกติค่าส่ง 50 บาทครับ ส่วนต่างประเทศก็ตามจริง)
- สนใจชำระและใส่ที่อยู่ที่ link แนบได้เลย อนึ่งระบบนี้จะมีเมลคอนเฟิร์มไปแต่ช้าหน่อยนะครับ
https://www.gbprimepay.com/payment/noncart/TWC/596338
ขอโฆษณาว่าหนังสือ “สุริยันพันธุ์เคิร์ด” หรือหนังสือเล่มใหม่ของผมออกแล้วนะครับ มีรายละเอียดดังนี้...
- เรื่องนี้เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ชาวเคิร์ด ผลงานเล่มล่าสุดในชุด The Wild Chronicles
- พิมพ์เป็นสี่สี!
- ยาวที่สุดเท่าที่พิมพ์มา ยาวกว่าพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติราว 2 เท่า
- รูปโหดๆ ที่ทำให้เข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น จะไม่เซนเซอร์ แต่จะรวมอยู่ท้ายเล่ม และมีคำเตือนก่อน
- มีลายเซ็นทุกเล่ม!
- ราคา 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว
ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link แนบได้เลย
https://www.gbprimepay.com/payment/m/noncart/TWC/576294
อนึ่งชาวเคิร์ดเป็นชนกลุ่มน้อยในตะวันออกกลาง มีราว 30 ล้านคน หากไม่มีประเทศของตนเอง พวกเขาแตกเป็นหลายส่วนและถูกกดขี่อย่างหนัก แต่การถูกกดขี่เคี่ยวกรำนั้นทำให้พวกเขากลายเป็นนักรบที่เก่งกาจ
หนังสือเล่มนี้เขียนเรื่องราวของชาวเคิร์ดตั้งแต่ยุคตำนานจนถึงประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมีความพีคแล้วพีคอีก ผ่านสงครามใหญ่ๆ มากมาย เช่นสงครามอิรัก - อิหร่าน, สงครามอ่าวเปอร์เซีย, สงครามปราบซัดดัม, สงครามกลางเมืองอิรัก, สงครามปราบกลุ่มก่อการร้าย แต่ละสงครามที่ว่ามานี้มีสเกลใหญ่เป็นรองแค่สงครามโลก
ชาวเคิร์ดมีส่วนร่วมในสงครามเหล่านี้ทั้งหมดในฐานะชนกลุ่มน้อยที่ไม่รวยแต่รบเก่ง พอมีคนมาติดอาวุธให้เลยมักกลายเป็นไพ่โจ๊กเกอร์ที่เปลี่ยนผลชี้ขาดของสงคราม
อย่างไรก็ตามศัตรูอันดับหนึ่งของชาวเคิร์ดคือเผด็จการซัดดัม ฮุสเซนนั้นก็โหดมาก โหดโคตรๆ ใครเคยอ่านพยัคฆ์ทมิฬสิ้นชาติ หรือเชือดเช็ดเชเชน ผมบอกได้ว่าไอ้นี่ก็โหดไม่แพ้กัน หรือเผลอๆ โหดกว่า ดังนั้นการต่อสู้ของชาวเคิร์ดมันจึงเป็นเรื่องที่หลอนและดุเดือดมากๆ
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากประสบการณ์ที่ผมได้ไปเยือนดินแดนเคอร์ดิสถานอิรัก (และหนีมิสไซล์มา) เมื่อต้นปี 2020 เพื่อนชาวเคิร์ดที่ผมสัมภาษณ์ทุกคนเป็นผู้รอดชีวิตจากทุกสงครามข้างต้น ทำให้มีข้อมูล ความเห็น และมุมมองของคนต่างๆ ที่ลึกกว่าในตำรา แน่นอนว่าประสบการณ์ของพวกเขาดาร์คมาก แต่เขาหลายคนไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายขนาดนั้น พวกเขาตีความสิ่งที่พบเจออย่างไร ลองตามอ่านดูนะครับ
"สุริยันพันธุ์เคิร์ด" ตั้งใจพิมพ์เป็นสี่สี เป็นหนังสือที่ยาวที่สุดตั้งแต่ผมเขียนสารคดีชุด The Wild Chronicles มา
อีกครั้งนะครับ ท่านที่ต้องการพรีออเดอร์หนังสืออย่างเดียว สามารถชำระ และใส่ที่อยู่ทาง link นี้ได้เลย 439 บาท รวมค่าส่งแล้ว (ในประเทศ) ถ้าบางท่านอยู่ต่างประเทศมีค่าส่งพิเศษจะแจ้งอีกที
https://www.gbprimepay.com/payment/m/noncart/TWC/576294
*** ภาวะฉุกเฉินมลายา (รอบ 2) ***
พรรค MCP ใช้เวลา 8 ปี (1960-1968) ฟื้นกำลังและจัดระเบียบพรรคใหม่ พร้อมกับเรียนเอาเทคนิคการสู้รบแบบกองโจรเพิ่มเติมจากพวกเวียดนามเหนือ นอกจากนั้นพวกเขายังได้รับการสนับสนุนงบจากผู้นำจีนยุคนั้นคือเติ้งเสี่ยวผิง (ตั้งแต่ยังอยู่ใต้เหมาเจ๋อตงอยู่) จนมีกำลังกล้าแข็งขึ้น
ในช่วงนั้น MCP ได้เปรียบสามารถสังหารทหารฝ่ายรัฐบาลได้เป็นอันมาก นอกจากนี้ยังได้ชาวจีนช่องแคบที่ถูกกดดันด้วยนโยบายเลือกปฏิบัติมาเข้าร่วมด้วย รวมทั้งมีสมาชิกจากภาคใต้ของไทยมาขอสวามิภักดิ์ไม่น้อย
ภาพแนบ: ลีกวนยิวซับน้ำตาในพิธีลงนามข้อตกลงแยกสิงคโปร์ออกจากสหพันธรัฐมลายา
มีเรื่องที่ควรกล่าวถึงในช่วงเวลาเดียวกัน คือตอนนั้นมีความแตกแยกระหว่างชุมชนมลายูกับจีนทำให้เกิดการทะเลาะระหว่างพรรคอัมโน (United Malays National Organisation: UMNO) หรือองค์การมลายูรวมแห่งชาติ กับพรรคกิจประชา (People’s Action Party: PAP) ที่มีผู้นำเชื้อสายจีน นำไปสู่จลาจลด้วยเหตุเชื้อชาติ
สิ่งนี้ทำให้ชาวจีนช่องแคบจำนวนมากโดนผลักไสออกจากมาเลเซีย พวกเขาหลายคนรู้สึกเจ็บปวด เพราะการมีเชื้อสายจีนไม่ได้หมายความว่าเขารักมาเลเซียน้อยกว่าชาวมลายูทั้งหลาย
อย่างไรก็ตามการดังกล่าวทำให้ชาวจีนช่องแคบได้สร้างประเทศใหม่ของตนชื่อว่า “สาธารณรัฐสิงคโปร์”
ต่อมาในปี 1970 ได้เกิดปัญหาความขัดแย้งในพรรค MCP อย่างรุนแรง เนื่องจากพบว่ามีสายลับแทรกซึมพรรคเยอะมากโดยจินเป็งบอกว่าชาวไทยที่มาเข้าด้วยเกือบ 90% เป็นสายทางการมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างคอมมิวนิสต์สายมาร์กซ์-เลนิน กับสายเหมาด้วย
ตรงนี้สมาชิกพรรคมีความเห็นแตกกันว่าจะเอาอย่างไร โดยจินเป็งต้องการให้ไต่สวนอย่างเฉียบขาดและให้มีการลงโทษประหารชีวิต แต่บางส่วนไม่เอาด้วยเพราะโหดร้ายเกินไป ทำให้มีการแยกออกไปตั้งพรรคใหม่ และทำให้กลุ่มอ่อนแอลง นานวันเข้าชาติคอมมิวนิสต์ภายนอกโดยเฉพาะจีนยิ่งลดการสนับสนุนพวกเขา การต่อสู้ก็ยิ่งไร้จุดหมายมากขึ้นเรื่อยๆ
ภาพแนบ: พวกคอมมิวนิสต์มลายาซึ่งปฏิบัติการอยู่ฝั่งไทย
ในไทยนั้นมีการเรียกพวกคอมมิวนิสต์จากมาเลเซียว่า “โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.)” ซึ่งเข้ามาก่อการในไทยตั้งแต่ปี 1949 โดยรัฐบาลไทยแบ่งกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบในภาคใต้ไว้เป็นสามพวก ได้แก่:
1) ขบวนการแบ่งแยกดินแดนปัตตานี (คือกลุ่มชาวมลายูที่ต้องการสร้างรัฐของตนบนพื้นที่รัฐปัตตานีในอดีต)
2) พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)
3) พรรคคอมมิวนิสต์มลายา
พวกจีนคอมมิวนิสต์นั้นมีการร่วมมือกับ พคท. บ้าง แต่เนื่องจากมีเป้าหมายสำคัญคือกู้เอกราชมาเลเซียจากอังกฤษ (และต่อมาเมื่อได้เอกราชแล้ว ก็ต้องการสร้างมาเลเซียเป็นรัฐคอมมิวนิสต์) จึงไม่ต้องการมีปัญหากับทางการไทย และถอยห่างจาก พคท. ระดับหนึ่ง ถึงกระนั้นพวกเขายังคงถูกทางการไทยปราบเพราะมีการเก็บภาษีเถื่อน และเกณฑ์คนไทยเป็นทหาร
ภาพแนบ: พิธีลงนามข้อตกลงสันติภาพหาดใหญ่ 1989
หลังจากถูกปราบปรามทั้งจากทางการไทยและมาเลเซีย ประกอบกับกระแสคอมมิวนิสต์ในโลกเสื่อมลง สุดท้าย MCP, รัฐบาลไทย, และรัฐบาลมาเลเซียจึงมีการลงนามสันติภาพที่หาดใหญ่เมื่อปี 1989 โดยไทยเลือกใช้แนวทางสันติในการยุติปัญหา และให้สมาชิก MCP สามารถเลือกว่าจะกลับมาเลเซีย หรืออยู่ร่วมพัฒนาประเทศไทย
ภาพแนบ: อุโมงค์ปิยะมิตร ที่คอมมิวนิสต์เคยใช้ ภายในหมู่บ้านปิยะมิตร
สำหรับผู้ที่เลือกอยู่ไทยนั้น ทางการไทยได้จัดให้ไปอาศัยอยู่ที่ “หมู่บ้านปิยะมิตร” ซึ่งมีจำนวนห้าแห่ง อยู่ในพื้นที่อำเภอเบตงกับอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา และอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
ไม่มีการเรียกคนกลุ่มนี้ว่าโจรอีกต่อไป แต่เรียกว่า “ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย” ซึ่งเป็นคำเรียกเดียวกับอดีตสมาชิก พคท. ที่ออกจากป่า
พวกเขาได้เข้ากระบวนการปรับทัศนคติ และร่วมทำงานพัฒนาสังคม เมื่อผ่านการพิสูจน์ตนเองอีกหลายปีจึงได้รับสัญชาติไทย กลายเป็นคนไทยอย่างเต็มภาคภูมิ
ภาพแนบ: โตหอง แซ่หลี ภาพจากศูนย์ข่าวชาวบ้านนิวส์
ปัจจุบันอดีตสมาชิกพรรคเหล่านี้ได้อยู่ร่วมกับคนในพื้นที่อย่างสงบ อย่างที่นาย โตหอง แซ่หลี อดีตแกนนำคนหนึ่งเคยเล่าว่า
“เราไม่เคยคิดว่าฝ่ายใดแพ้หรือชนะ รู้กันเพียงว่าเราจะยุติการสู้รบแล้วเปลี่ยนมาเป็นการร่วมพัฒนาสังคมที่เรียกว่าโครงการพัฒนาชาติไทย ...ผ่านมาก็กว่า 30 ปีแล้ว รัฐบาลไทยยังคอยดูแลช่วยเหลือทุกด้านตั้งแต่การมอบที่ทำกินให้ครอบครัวละ 15 ไร่ ยังช่วยสร้างบ้านที่อยู่อาศัยให้ได้อยู่อย่างเป็นสุข เราทุกคนต่างก็อดทนใช้ความพยายามต่อสู้ชีวิต ต่อสู้กับงานเพื่อให้อนาคตของครอบครัวได้มีฐานะมีความเป็นอยู่ที่ดี มีความมั่นคง”
1
ภาพแนบ: อุโมงค์ปิยะมิตร ภาพจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ตัวอย่างของมรดกของพวกเขาที่พบเห็นได้ในหมู่บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา คือ อุโมงค์ปิยะมิตร ซึ่งใช้ขนส่งมาตั้งแต่สมัยก่อการ พร้อมกับมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและต้นไม้ไทรพันปี ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง
สำหรับจินเป็งนั้น แม้จะได้สัญชาติไทย แต่เขายังพยายามเรียกร้องขอกลับไปประเทศมาเลเซียบ้านเกิดอยู่หลายครั้ง ซึ่งศาลมาเลเซียไม่อนุญาตโดยระบุว่าไม่มีเอกสารพิสูจน์สัญชาติ (ซึ่งจินเป็งแก้ต่างว่าเอกสารนั้นหายไปตอนที่ตำรวจอังกฤษบุกจับเขาเมื่อนานมาแล้ว)
เขาเคยเขียนเล่าว่า “ผมคิดว่าผมเป็นผู้นำการปฏิวัติรุ่นเก่าคนสุดท้ายของภูมิภาคนี้ ผมเลือกทำสงครามใต้ดินเอง เคลื่อนไหวจากเงามืด ห่างไกลจากแสงไฟเจิดจ้า...
“...เป็นเรื่องตลกร้ายที่ผมไม่อาจอยู่ในประเทศที่ผมได้เคยแสดงเจตจำนงเป็นที่ประจักษ์แล้วว่าพร้อมพลีชีพให้”
สุดท้ายจินเป็งเสียชีวิตในปี 2013 ด้วยวัย 88 ปี ที่กรุงเทพมหานคร หลังจากมีการต่อสู้อีกหลายปีทางการมาเลเซียจึงค่อยอนุญาตให้นำอัฐิเขากลับประเทศได้ในปี 2019
...ในมุมของจินเป็ง กลุ่มของเขาไม่ใช่โจรที่ต้องการยึดอำนาจในมาเลเซีย แต่เคยพยายามขอเข้าร่วมพัฒนาประเทศในฐานะพรรคการเมืองหนึ่งแล้วถูกขับไล่ เพราะถูกรังเกียจว่าเป็นคอมมิวนิสต์
ภาพแนบ: วัดเทียนฮัวในกรุงกัวลาลัมเปอร์
*** มรดกความบาดหมาง ***
ปัจจุบันชาวมลายูเชื้อสายจีนคิดเป็นประชากรร้อยละ 23 ของประเทศมาเลเซีย และคิดเป็นชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลใหญ่สุดอันดับ 2 รองจากชุมชนไทยเชื้อสายจีน
อย่างที่ได้เกริ่นไปตั้งแต่ต้นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างชาวจีนและชาวมลายูในมาเลเซียยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังอยู่จนปัจจุบัน โดยความแตกแยกไม่ได้มาจากแนวคิดคอมมิวนิสต์เท่านั้น ชาวจีนอื่นๆ ที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ก็ยังถูกเลือกปฏิบัติจากนโยบายเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อชาวมลายูหรือ "นโยบายภูมิปุตรา" ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมหนักข้อกว่าประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะที่ชาวจีนในไทยผ่านไปไม่กี่รุ่นก็ลืมภาษาจีนหมดแล้ว แต่ชาวจีนในมาเลเซียยังคงสื่อสารกันด้วยภาษาแม่จนทุกวันนี้ และคนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่งเลือกอพยพออกนอกประเทศด้วยปัญหาทางเชื้อชาติ
ภาพแนบ: โปสเตอร์ Absent Without Leave
ในปี 2016 ทางการมาเลเซียสั่งห้ามเผยแพร่สารคดี “Absent Without Leave” ซึ่งผู้กำกับต้องการรำลึกถึงปู่ของตนที่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ เพราะทางการต้องการปกปิดเรื่องนี้ไว้
และก่อนหน้านั้นในปี 2006 ทางการได้สั่งห้ามฉาย “The Last Communist” ซึ่งเป็นสารคดีชีวิตของจินเป็ง ด้วยเหตุผลฟังดูแปลกๆ คือ “มีความรุนแรงไม่มากพอ” (เนื่องจากทางการต้องการสร้างภาพให้ MCP เป็นพรรคหัวรุนแรง)
ภาพแนบ: คนมลายูจำนวนมากประท้วงรัฐบาลมาเลเซียที่เตรียมให้สัตยาบันอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ เมื่อปี 2018 (ประมาณว่าไม่อยากให้คนจีนได้รับความเท่าเทียม)
ปัจจุบันการรำลึกหรือกล่าวถึงพรรคคอมมิวนิสต์มลายายังคงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยทางการมาเลเซียมักอ้างการปราบคอมมิวนิสต์ เพื่อกลบเกลื่อนความไม่เสมอภาคทางสังคมและการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติที่เคยมีมา
(จริงๆ แล้วเมืองไทยเองก็เคยมีทั้งการเลือกปฏิบัติชาวจีนด้วยเชื้อชาติและอุดมการณ์ ดังที่ผมเคยเขียนในบทความชื่อ “เรียบร้อยโรงเรียนจีน” ถ้าสนใจลองสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi เพื่ออ่านได้ครับ ผมจะแนบรายละเอียดไว้ท้ายบทความ)
ภาพแนบ: พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์พรรคคอมมิวนิสต์มลายาที่เบตง ในที่นี้เขียนว่า CPM มาจาก Communist Party of Malaya
ทั้งหมดนี้คือภาพรวมประวัติศาสตร์อันซับซ้อนของชาวจีนช่องแคบและพรรคคอมมิวนิสต์มลายา กับมรดกของความบาดหมางในอดีตซึ่งยังตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ในไทยเองมีความขัดแย้งและการต่อสู้ระหว่างกลุ่มแนวคิดต่างๆ มาตลอด แต่ในที่สุดแล้วอดีตกลุ่มคอมมิวนิสต์จีนจำนวนมากก็ผันตัวมาร่วมพัฒนาชาติไทย กลายมาเป็นประชากรที่ดีในสังคม โดยผ่านการให้โอกาส และการก้าวข้ามความบาดหมาง
1
บทความนี้ไม่ได้ตั้งใจบอกว่าไทยจัดการปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติได้ดีกว่ามาเลเซีย (เพราะในไทยก็ยังมีปัญหาเชื้อชาติที่รุนแรงอยู่หลายกรณี) แต่ต้องการบอกว่าความขัดแย้งย่อมเป็นสิ่งที่มีอยู่เสมอในสังคมอันหลากหลาย และการยึดมั่นถือมั่นในอัตลักษณ์ของตนเองมากเกินไป รวมทั้งการยึดติดอยู่กับความบาดหมางในอดีตย่อมเป็นการเลี้ยงความขัดแย้งให้ “ยังมีชีวิต” ผ่านรุ่นสู่รุ่น
แม้สังคมจะมีความขัดแย้ง แต่การที่สังคมอยู่รอดมาได้ถึงวันนี้ ก็เพราะฝ่ายต่างๆ หันหน้ากลับเข้าหากันเพื่อช่วยจรรโลงส่วนรวมมิใช่หรือ?
::: อ้างอิง :::
- kyotoreview (ดอต) org/reviews/the-malaysian-ethnic-politics-and-the-ghost-of-communism-past/
- timesofindia (ดอต) indiatimes (ดอต) com/world/rest-of-world/malaysia-bans-film-for-lack-of-violence/articleshow/1725304 (ดอต) cms
- wiki (ดอต) kpi (ดอต) ac (ดอต) th/index (ดอต) php?title=โจรจีนคอมมิวนิสต์มลายา
- so05 (ดอต) tci-thaijo (ดอต) org/index.php/rusamelae/article/view/63065/51822
ท่านที่สนใจอ่านเรื่องราวแปลกๆ จากรอบโลกสามารถสมัครเข้ากลุ่ม illumicorgi
อนึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม exclusive ผมจะใช้ลงบทความพิเศษ ซึ่งมีเนื้อหาเจาะลึกกว่าที่ลงในเพจ The Wild Chronicles และบทความส่วนใหญ่ในกลุ่มจะเกี่ยวกับธีมของหนังสือที่ผมกำลังเขียน
ผู้ที่ต้องการสมัครเข้ากลุ่มให้ทำดังนี้เลยนะครับ
(1) กดสมัคร Line OA ของ The Wild Chronicles มาทาง link นี้
https://lin.ee/fNEO1jr
(2) กด add เป็นเพื่อน
(3) กด chat
(4) จากนั้น พิมพ์ชื่อที่ท่านใช้ใน Facebook มาทางช่องแชทของ Line OA เพื่อให้ทีมงานบ่งชี้ได้ว่าบัญชีของท่านสมัครมาแล้ว
(5) จากนั้นจะมีแอดมินมาคุยกับท่าน ให้แจ้งประเภทสมาชิกที่ท่านต้องการสมัคร แอดมินจะส่ง link เพื่อชำระค่าสมาชิก และแนะนำวิธีการเข้ากลุ่มต่อไป
::: ::: :::
สนใจอ่านเรื่องประวัติศาสตร์ สงคราม เรื่องต่างประเทศ กดติดตาม เพจ The Wild Chronicles ได้เลยนะครับ
https://facebook.com/pongsorn.bhumiwat
และ youtube
https://youtube.com/user/Apotalai
5 บันทึก
4
8
5
4
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย