Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TanaiYONG/ทนายยง
•
ติดตาม
19 ต.ค. 2021 เวลา 14:13 • หุ้น & เศรษฐกิจ
EP.1
ประเทศไทยเสียหายจากระบบการเงินทางไซเบอร์
ครั้งใหญ่ จากหักบัญชีอัตโนมัติผ่านบัตรเครดิต/เดบิต
เกิดจากถูกแฮกข้อมูลจริงหรือ?
โดย ทนายยง
ตอนที่ 1
การชำระเงินในระบบไซเบอร์ยุคปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธว่า มันก้าวหน้าและอำนวยความสะดวกอย่างยิ่ง ระบบนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นแต่เกิดมานานมากแล้วในประเทศไทย ผ่านระบบบัตรเครดิต บัตรเดบิต คือนึกภาพง่าย ๆ ว่า สมัยก่อนถ้าไม่ต้องใช้เงินสดชำระสินค้าบริการ ก็เซ็นเช็คจ่ายกันโดยมีระบบอัตโนมัติผ่านศูนย์หักบัญชีของธนาคาร ต่อมาพัฒนาเป็นบัตรเครดิตและบัตรเดบิต และเริ่มมี Third Party บุคคลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องในระบบเช่น อเมริกันเอ็กเพรส วีซ่า มาสเตอร์การ์ด เสมือนแบรนด์ตัวแทนคนกลางสร้างระบบการหักชำระเงินต่อกัน จับมือร่วมกับสถาบันการเงิน ขยายมาถึงองค์กรธุรกิจใหญ่ ๆ แบรนด์ดัง ๆ ก็เข้ามาในตลาดธุรกิจไร้เงินสด (ผมเป็นนักกฎหมายไม่ใช่นักการเงินการธนาคาร จึงขอกล่าวคร่าว ๆ พอให้เห็นภาพกัน)
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมการเงินไซเบอร์ มีใคร?
๑.ผู้บริโภค ก็คือ เรา ๆ ท่าน ๆ ที่เป็น User บนระบบไซเบอร์
๒.ผู้ให้บริการ ก็คือ ผู้จำหน่ายสินค้าและบริการ End Supplier
๓.เจ้าของ Online Application Platform ทุกชนิดบนไซเบอร์
๔.สถาบันการเงินหรือธนาคาร
การป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดการสูญเสียเงินอัตโนมัติโดยไม่รู้ตัวได้อย่างไร?
ด้านผู้บริโภค
หมายถึง Cyber User ซึ่งในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางการเงิน ต้องมีความรอบคอบรัดกุม ไม่ประมาท ไม่ได้หมายความว่า รักษาบัตรเครดิต บัตรเดบิต รหัสบัตร รหัสCVV หลังบัตรเพียงแค่นั้น แต่ผมต้องขอให้มีความรู้ทางออนไลน์ในระดับใช้งานพอที่จะ ไม่กรอกข้อมูล แยกหน้าต่างเวบให้ถูกว่า กดปิดหน้าต่างโฆษณาที่ตรงไหน บล็อกโฆษณาที่เป็นโทรจัน หรือการทำPhishing มิฉะนั้น User ต้องใช้วิธีบ้าน ๆ คือแยกบัญชีบัตรที่ใช้ทำธุรกรรมออก แล้วเมื่อจะใช้งานซื้อขายบริการใดทางออนไลน์บนไซเบอร์ ก็ค่อยโอนเงินเข้าบัญชีไปรอหัก หรือการใช้บัตรเครดิตก็ตรวจดูรายงานการใช้บัตรบ้างว่าถูกต้องตรงตามที่เราได้ใช้มาหรือไม่
ปัญหาคือ มีความรู้ทางไซเบอร์แค่ไหนล่ะ ก็คุณสมัครใช้งานที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ ผ่านเวบหรือฟอร์มออนไลน์ อ่านให้ดีแปลภาษาไทยให้เข้าใจ ภาษาอังกฤษใส่ใจอ่านให้ละเอียด เวลามันขึ้นเตือนระหว่างการกรอกข้อมูล หรือระหว่างช๊อปสินค้า ให้ลดความอยากลงไปก่อน อ่านให้เข้าใจ ตรวจดูคอมเม้นท์คนอื่น ๆ บ้าง รวมทั้งใส่ใจพิจารณาจำนวนราคาสินค้าเหมาะสมหรือไม่
การสมัครโหลดใช้แอพก็ตรวจดูว่า เป็นแอพทดลองใช้งานฟรี ชั่วเวลาหนึ่ง หลังจาก 3 วัน 7 วัน หรือเดือนนึง มันเก็บตังค์อัตโนมัติ ส่วนใหญ่รู้นะว่าแอพไหนเก็บตังค์ แอพไหนฟรี แต่ไม่รู้ไง ว่า ก่อนโหลดแอพมันให้กรอกข้อมูลบัตรเครดิต/เดบิต แต่ยังไม่หักเงิน หรือหักเงินแต่ refund คืน เมื่อหมดเวลาฟรี คราวนี้ก็ถูกหักเงินอัตโนมัติ นี่คือระบบของการทดลองใช้งานแอพ ถ้าใกล้ครบเวลาก็ต้องไปยกเลิก ซึ่งในข้อเท็จจริงจะมีคำเตือนเป็นรายละเอียดของแอพไว้ให้อ่าน แต่เราไม่อ่านกัน จะโทษใครกันครับ
ผมไม่ได้ด่าแต่ผมก็คนนึงที่เสียค่าโง่ไปกับกรณีนี้เยอะทั้งลืมยกเลิกเมื่อหมดเวลาฟรี ทั้งเผลอไปกดทดลองใช้งาน และลองคิดดูสิครับว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการบนไซเบอร์เขาไม่ใช้วิธีการตลาดแบบง่าย ๆ นี้แล้ว เพราะธุรกิจออนไลน์บูม เขาก็พ่วงเอาการหักเงินแบบนี้ ในรูปแบบการ “ยิงแอด” ฟรี แต่เผลอไปคลิกยิงแอดแบบเก็บเงินวันละ 20 บ้าง 50 บ้างไม่รู้ตัวทุกวัน ๆ เงินก็เกลี้ยงสิครับ
ด้านผู้ให้บริการ
ส่วนนี้ก็คงไม่มีอะไรต้องชี้แนะ กฎหมายจะมี พรบ.คอมฯ และ กฎหมายอาญา กฎหมายเกี่ยวกับการค้า ที่เอาผิดกับผู้ขายสินค้าและบริการ อยู่แล้วว่า การกระทำอย่างไรเป็นความผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ แต่ที่สำคัญคือ ต้องคำนึงถึงรายได้รายรับจากการขายออนไลน์ เพราะสรรพากรจะส่งแบบประเมินว่าท่านเสียภาษีไม่ถูกต้อง
คราวนี้ชีวิตดี ๆ ที่ท่านโพสอวดรวยนักหนาจากธุรกิจออนไลน์ มันจะกลายเป็นฝันร้ายของคุณ เพราะข้อหาหลบเลี่ยงภาษีไม่ใช่แค่ความผิดอาญา แต่อยู่ในข่ายการฟอกเงินที่ยึดทรัพย์ก่อน พิสูจน์ทีหลัง นะจ๊ะจะหาว่าไม่เตือน
สำหรับคนขายที่ไม่ดี นอกคอกนอกแถว ขายสินค้าไม่มีคุณภาพสมราคา ขายสินค้าที่ไม่มีตัวตน ไม่มีสต๊อกสินค้า ได้เงินค่าสินค้าเอาไปหมุนก่อน ได้เงินโอนเอาไปซื้อของอวดมั่งมี ใช้ชีวิตดี้ดี มีปัญหาก็ปิด บล็อก ก็รอหมายเรียกจากตำรวจ คุกแน่ๆ ส่วนประเภทที่เป็นคนลวง รวมถึงพวกขายหวย ใบ้เบอร์ ลงทุนลูกโซ่ และอีกจิปาถะมากมาย ก็คิดเอาว่าจะเลิกหรือไปต่อ เส้นทางคุกยังเปิดต้อนรับอีกเยอะ คุกไม่เต็มง่าย ๆ อย่างที่พูดกัน เขาปลดล็อคยาเสพติดเตรียมสถานที่รองรับคนหลอกลวงประเภทนี้ไว้ นับวันจะมากขึ้น ที่สำคัญคือมันทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศชาติ เอาสมองมาช่วยกันพัฒนาประเทศเถอะ ประเทศยังมีปัญหามากมายให้ช่วยคิดช่วยทำ คงไม่ต้องพูดกันเยอะ
แต่ถึงอย่างไร ผู้ประกอบการที่ดี ก็ต้องห่วงชื่อเสียงทางการค้าของตัวเอง ก็ควรระวังด้วยการป้องกันด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า (PDPA) การป้องกันการถูกแฮกข้อมูลให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรูปแบบทางธุรกิจของตนเอง เพราะหากจะทำธุรกิจทางออนไลน์ในฐานะผู้ประกอบการในการขายสินค้าหรือบริการ และหากกรณีผู้เป็นผู้ประกอบการอิสระ ก็ให้เลือกดูแพลตฟอร์มของการขายสินค้าออนไลน์ให้ดี พิจารณาข้อตกลงเงื่อนไขในการเข้าร่วมธุรกิจให้รอบคอบ
ส่วนใหญ่การทำธุรกิจทางไซเบอร์จะมีข้อด้อยคือ การไม่ต้องพบเจรจาธุรกิจต่อกัน แต่เป็นการตกลงโดยปริยายด้วยการยอมรับ Agreement ที่หน้าเวบในขณะสมัครใช้งาน ไม่เคยอ่านหรืออ่านข้อตกลงไม่เข้าใจ ไม่รู้สิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของเจ้าของแพลตฟอร์มดีพอ ก็ให้หาความรู้พิจารณาหรือจ้างที่ปรึกษาทางธุรกิจไปก็จะดี จำไว้ว่าขายของออนไลน์ไม่ใช่เปิดร้านในตลาดนัดหรือเปิดท้ายขายของ กลับความคิดมุมมองกันใหม่ซะ
ไว้มาต่อกันคราวหน้า ตอนที่ 2
https://www.blockdit.com/posts/616ed724b5ceae0ca236ae7f
ขอบคุณภาพจากแอพ Pixel
การเงิน
กฎหมาย
ธนาคารดิจิทัล
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย