20 ต.ค. 2021 เวลา 05:55 • สุขภาพ
มาทำความเข้าใจ ความแตกต่างระหว่างประคบร้อนและประคบเย็น
ว่าแต่ละชนิดใช้แตกต่างกันอย่างไร
บางท่านยังคงสับสนใช้กันผิดๆถูกๆ
จนทำให้อาการเป็นหนักมากขึ้น
และการประคบร้อนและประคบเย็น เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่คุณสามารถดูแลตัวเองกรณีที่เกิดการบาดเจ็บ เจ็บปวด หรืออักเสบ
รวมทั้งเป็นหนึ่งในรูปแบบการรักษาทางกายภาพบำบัดอีกด้วย ซึ่งในบทความนี้โหน่งก็จะพูดถึงว่า
✔️ผลของการรักษา รูปแบบการใช้
✔️ระยะเวลา/ความถี่ในการรักษา
✔️อุปกรณ์ที่มักใช้
✔️ข้อควรระวังในการใช้
มาเริ่มทำความรู้จักด้วยกันเลยจ้า......
เอ๊ะ ใช้แตกต่างกันอย่างไรน๊า...
มาเริ่มที่การประคบร้อน เป็นการให้ความร้อนระดับตื้น คือให้ความร้อนในการรักษาต่ออวัยวะต่างๆที่อยู่ตื้น คือไม่เกิน 0.5 ซม.จากผิวหนังซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตำแหน่งของผิวหนัง เนื่อเยื่อใต้ผิวหนัง(subcutaneous tissue) หรือกล้ามเนื้อที่อยู่ตื้น อุณหภูมิที่ใช้อยู่ในระดับที่ทำให้รู้สึกอุ่นกำลังสบาย
ผลของความร้อนในการรักษา (Thermal effect) ในการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นผลทางสรีระวิทยา เราสามารถแบ่งผลของความร้อนออกเป็น 2 ส่วน
1.ผลเฉพาะที่ (Local effects) หมายถึงผลที่เกิดจากความร้อนโดยตรงในบริเวณที่ได้รับความร้อน เช่น
☑อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น
☑มีการเพิ่มขึ้นของระบบ metabolism
☑มีการคลายตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ เป็นการแก้ไขหรือลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
☑Pain threshold ของปลายประสาทบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้น
☑มีความไวของmuscle spindle ต่อแรงยืดลดลง ทำให้ยืดกล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น
☑การทำงานของ golgi tendon organ เพิ่มขึ้น
☑หลอดเลือด capillary และ arteriole มีการขยายตัว ทำให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีการเพิ่มของออกซิเจน อาหาร แอนติบอดี และเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งเสริมให้กระบวนการอักเสบชนิดเรื้อรังลดลงหรือหายไป แต่มักจะทำให้อาการต่างๆ ของการอักเสบเฉียบพลันรุนแรงขึ้น
2.ผลของความร้อนในบริเวณอื่นที่ห่างไกลจากบริเวณที่ได้รับความร้อน คือ
☑ผลของการไหลเวียนเลือดที่เพิ่มขึ้นทั่วร่างกาย
☑มีการหลั่งของสาร endophrine
☑ทำให้จิตใจผ่อนคลาย
การรักษาด้วยความร้อน (Heat therapy)
ผลของการรักษาด้วยความเย็น(Cold therapy)
การประคบเย็น ช่วยให้หลอดเลือดหดตัว และเลือดที่ไหลออกจากเส้นเลือดฝอยที่ฉีกขาดลดน้อยลง จะส่งผลให้อาการอักเสบลดน้อยลงค่ะ
การรักษาด้วยความเย็น (cold therapy)
เป็นยังไงกันบ้าง ไขข้อสงสัยกันไปแล้ว
หากยังไม่เข้าใจ หรือไม่มั่นใจ สามารถปรึกษาหรือสอบถามกันเข้ามาได้
หรือคอมเม้นต์กันใต้โพสต์นี้ได้เลย
โหน่งจะมาตอบคำถามให้จ้า
ขอบคุณที่อ่านกันจนจบและติดตามเพจของโหน่งนะคะ
แล้วพบกันกับบทความหน้านะคะ......
แหล่งข้อมูลอ้างอิง :
วิมล ศรีวิชา.(2559).การรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด(Myofascial Pain Syndrome).วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล.ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน 2559 : หน้าที่ 18.
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไปกับนักกายภาพบำบัดสายเวลเนส
☎087-1716194 โหน่ง
Line ID : wilainy
โฆษณา