Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ศรศิลป์
•
ติดตาม
20 ต.ค. 2021 เวลา 11:27 • ดนตรี เพลง
เมื่อถึงเวลาใกล้จะขึ้นแสดงทีไรตื่นเต้นขาแทบก้าวไม่ออก ซ้อมวนไปวันละ 10 ชม.ทำไมยังได้เท่าเดิม หรือทำไมยังเล่นผิดที่เดิมตลอดเลย วันนี้ศรศิลป์ จะขอเสนอออออออออออออออออออ *รัวกลอง*
1
4 ขั้นตอนในการซ้อมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
โดยเริ่มตั้งแต่การเริ่มอ่านโน้ตจนไปถึงการขึ้นแสดงกันไปเลยยย
โดยจะเน้นไปที่การคิด วิเคราะห์ วางแผน เป็นหลัก
เพื่อไม่ให้เสียเวลา เริ่มข้อแรกเลยแล้วกันค่ะ
1
1. มองภาพรวมของเพลง
ก่อนที่จะเริ่มซ้อมเพลงที่เราชื่นชอบสักหนึ่งเพลง ควรจะเริ่มจากความรู้จัก
ผู้ประพันธ์หรือนักแต่งเพลงก่อนเป็นอันดับแรก เขาเป็นใคร เพลงมีที่มาจากอะไร เขาได้รับแรงบัลดาลใจอะไรในการแต่งเพลง และเพลงต้องการสื่ออะไรบ้าง ซึ่งการศึกษาประวัติของบทเพลงและผู้แต่งนั้นจะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเพลงควรจะลักษณะทิศทางเป็นแบบใด ให้ใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ที่สุด
1
ต่อมาคือการแยกส่วนประกอบของเพลงออกเป็นก้อน ๆ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดขึ้นในการซ้อม เพลงส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย Intro ท่อน A ท่อน B ท่อน C จัดเรียงหรือสลับกันอยู่ภายในเพลงเหมือนเลโก้ โดยการวางเลโก้ในรูปแบบต่าง ๆ ก็จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปเรียกว่าสังคีตลักษณ์ (form) นั่นเอง จากนั้นจึงค่อยลงลึงไปอีกขั้นคือการดูว่าท่อนแต่ละท่อนมีทิศทางในการเคลื่อนที่ของคอร์ดอย่างไร
1
เมื่อเราทำความเข้าใจในองค์ประกอบต่าง ๆ ของบทเพลงอย่างทะลุปรุโปรงแล้วต่อไปจะเป็นขั้นตอนของการวางแผน
2. วางแผน
การวางแผนถือเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งในการฝึกซ้อม เพื่อไม่ให้การซ้อมผ่านไปอย่างไร้จุดหมาย ควรจะตั้งจุดมุ่งหมายของการซ้อมทุก ๆ ครั้ง อย่างเช่น วันนี้มีเวลาทั้งหมด 1 ชม. จะต้องซ้อมห้องที่ 1-10 ไ ด้ อ ย่ า ง ดี รวมถึงสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องดูโน้ตด้วย (อย่างเดือด) และจะใช้เวลาในการซ้อมเพลงนี้ทั้งหมด 15 วัน โดยการซ้อมครั้งนี้จะต้องมีกฎเหล็กทั้งหมด 5 ข้อ โดยกฎทั้งหมดนี้ได้มาจากอาจารย์เครื่องเอกที่เน้นย้ำว่าเป็น 5 ข้อที่สำคัญมาก คือ
1
1. เข้าใจอัตราจังหวะ ส่วนโน้ต และเล่นอย่างถูกต้อง (Rhythmic)
2. เสียงถูกต้องทุกเสียง (Pitch)
3. ระดับความเข้มของเพลง ความดังเบา และลักษณะของเสียง (Dynamic & Articulation)
4. อัตราความเร็วถูกต้องตามที่โน้ตกำหนด (Well Tempo)
5. มีสมาธิในการฝึกซ้อมทุกครั้ง (focus )
1
กฎ 5 ข้อนี้เป็นสิ่งที่บางคนหลงลืมไปขณะฝึกซ้อมเมื่อแสดงจริงจะเกิดอาการขาวหรือลืมสิ่งที่เล่นชั่วขณะ อาการนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อขาดสมาธิในการซ้อมจะถือว่าเป็นการซ้อมกล้ามเนื้อให้กล้ามเนื้อจำการเคลื่อนไหวเท่านั้น (muscle memory) ไม่ได้ใช้ความเข้าใจร่วมด้วยนั่นเอง อีกข้อนึงคือไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเล่นผิดซ้ำ ๆ ที่เดิม ก่อนเริ่มซ้อมไม่ว่าจะเป็นโน้ตที่ง่ายแค่ไหนก็ตาม เตรียมตัวให้พร้อมตั้งแต่การหายใจ ท่าทาง ถ้าคิดว่าผิดที่เดิมเยอะเกินไปแล้วควรรู้ได้ว่าเราอาจจะต้องการน้ำสักแก้ว แล้วนั่งพักสัก 5-10 นาที
3. ซ้อมแยก
ในการซ้อมเราอาจจะเจอเทคนิคที่เราไม่ถนัด หรือไม่เคยเจอมาก่อน การซ้อมแยกจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาสิ่งนั้นได้คือ สร้างแบบฝึกหัดที่อิงจากเพลงขึ้นมาใช้ในการฝึกซ้อมแยกนั่นเอง นอกจากจะได้เทคนิคที่แข็งแรงขึ้นแล้ว ยังได้พัฒนาการสร้างสรรค์แบบฝึกหัดที่ยังใช้ได้จริงกับเพลงอีกด้วย
4. อัดวิดีโอทุกครั้ง
ข้อสุดท้ายนี้เป็นข้อปราบเซียน เราซ้อมเพลงที่ชอบและใช้เวลาทั้งหมด 4 เดือนในการจัดแสดงคอนเสิรต์แต่พอถึงเวลาจะแสดงก็ตื่นเต้นจนไม่สามารถควบคุมสติได้ บางคนตื่นเต้นมากจนไม่สามารถควบคุมมือและขาขณะเล่นดนตรีอยู่ ทำให้ไม่สามารถเล่นออกมาได้อย่างที่ตั้งใจไว้ วิธีแก้ปัญหาก็คือตั้งกล้องอัดวิดีโอขณะซ้อมค่ะ !
1
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเราคิดแยกกันระหว่าง นี่คือการซ้อมนะ กับ นี่คือการแสดงนะ ทำให้เมื่อถึงเวลาแสดงจริงแล้วไม่สามารถควบคุมความตื่นเต้นได้ การตั้งกล้องอัดจะทำให้เรารู้สึกกดดันและต้องการที่จะผิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เหมือนขณะทำการแสดงจริง ๆ ข้อดีก็คือเราเห็นข้อผิดพลาดของตัวเองทั้งหมด ได้ฟังเสียงตัวเองตอนเล่น และสามารถแก้ไขปัญหาที่มองไม่เห็นขณะเล่นได้เป็นจุด ๆ เมื่อเราชินกับความกดดันขณะซ้อมจะทำให้มีภูมิต้านทานความกดดันและมีสติตั้งแต่ก้าวแรกสู่เวที
ในฐานะที่เป็นคนที่ชอบเล่นดนตรีและเรียนจบทางด้านการแสดงมาโดยตรง มีประสบการณ์ทั้งดีและล้มเหลวมากมาย จึงอยากขอมอบ 4 ขั้นตอนในการฝึกซ้อมอย่างไรให้มีประสิทธิภาพตามแนวทางของศรศิลป์ค่ะ ขั้นตอนทั้งหมดนี้ได้เรียนรู้มาจากประสบการณ์ของศรศิลป์โดยตรงรวมกับความรู้จากอาจารย์ทุกท่าน หวังว่าจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยจากบทความชิ้นนี้นะคะ
1
นักดนตรี
ดนตรี
นักเขียน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย