20 ต.ค. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
เดอกาแวง (DeQuervain’s disease) เอ็นข้อมืออักเสบ โรคยอดฮิตของคนที่ใช้ข้อมือบ่อย
เกิดจาก
เกิดจากการใช้งานซ้ำๆของข้อมือ เช่น การเขียนหนังสือ ใช้กรรไกร หรืออุ้มลูก ฯลฯ จนทำให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นกล้ามเนื้อที่เกาะมาที่นิ้วหัวแม่มือที่มีชื่อว่า Abductor pollicis longus(APL) และกล้ามเนื้อ Extensor pollicis brevis (EPB) ซึ่งมีหน้าที่ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือ
อาการ
✅ปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง บางครั้งร้าวขึ้นมาถึงแขน
✅อาการปวดลดลงเมื่อพักการใช้งาน หรือใส่อุปกรณ์ช่วยพยุง
✅บวมบริเวณโคนนิ้วโป้ง
✅ขยับนิ้วโป้งและข้อมือได้ลำบาก โดยเฉพาะเวลากำ หรือบิดข้อมือ
‪✅กดเจ็บบริเวณโคนนิ้วโป้ง‬
วิธีการรักษาด้วยตนเอง
✅ลดการใช้งาน
✅ประคบเย็นเมื่อเกิดอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ร้อน
✅นำมือแช่น้ำอุ่น 10-15 นาทีเพื่อเพิ่มความยืนหยุ่น เพิ่มการไหลเวียนเลือด ลดอาการปวด
✅ทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนำ
✅ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็น เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อนิ้วและข้อมือ
✅ออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ในช่วงที่ไม่มีการอักเสบแล้ว ช่วยให้ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น
ติดตามสาระดีๆจากผิงได้ที่:
อ้างอิง
1. ญาณินี วงศ์ษา; และ ทิพย์อาภรณ์ เรืองวุฒิสกุลชัย. (2561, กันยายน-ธันวาคม). การรักษาโรคปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s disease)ด้วยการออกกำลังกาย. เวชบันทึกศิริราช. 11(3): 216-225.
2. The sports medicine patient advisor. (2010). De quervain’s tenosynovitis. p. 71-72.
โฆษณา