22 ต.ค. 2021 เวลา 03:00 • สัตว์เลี้ยง
SUS : ค้างคาว สัตว์ที่ “ระบบภูมิคุ้มกัน” แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี
1
หากจะกล่าวถึงค้างคาว หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงวลี “นกมีหู หนูมีปีก” หรือบางคนก็อาจจะนึกถึงแบทแมน หรือเคานต์แดรกคูล่า
1
แต่สำหรับนักชีววิทยา ถ้าพูดถึงค้างคาว พวกเขาจะนึกถึงสัตว์ที่มี “ระบบภูมิคุ้มกัน” ที่ “แข็งแกร่ง” ว่าสัตว์ชนิดใด ๆ ทั้งมวลที่มนุษย์รู้จักกันมา
1
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น?
เราอาจเคยได้ยินว่า “ค้างคาว” เป็นแหล่งเชื้อโรค ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะค้างคาวทั่ว ๆ ไปก็เป็นสัตว์ที่เต็มไปด้วย “เชื้อโรค” จำนวนมาก
1
ประเด็นคือ “เชื้อโรค” ไม่ได้ทำให้พวกมัน “ป่วย”
1
มันน่าจะเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่สามารถจะมีเชื้อโรคอย่างไวรัสพิษสุนัขบ้า ไวรัส SARS ไวรัส MERS หรือกระทั่งไวรัสอีโบล่าอยู่ในตัวโดยไม่ป่วย ไม่ตาย แข็งแรงดี มีชีวิตปกติทุกอย่าง ในขณะที่ถ้าเชื้อโรคเหล่านี้ไปอยู่ในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ผลแทบจะมีได้อย่างเดียวคือตาย
1
นี่คือข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่สร้างความฉงนให้กับนักวิทยาศาสตร์มาก และในยุคหลัง ๆ ที่มนุษย์ต้องสู้กับโรคร้ายใหม่ ๆ สารพัด “ความหวัง” ก็คือ เราจะสามารถ “ถอดความสามารถ” ในการอยู่ร่วมกับเชื้อโรคได้โดยไม่เจ็บป่วยของค้างคาวเอามาใส่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ไม่เจ็บป่วยบ้าง
1
และหลัง ๆ นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มศึกษาและทดลองกับพวกมันมากขึ้นเพื่อไขปริศนาความ “แข็งแกร่งของระบบภูมิคุ้มกัน” ของเหล่าค้างคาว
1
ในตอนแรก นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าพวกมันมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งสุด ๆ พวกมันเลย “ไม่ป่วย”
แต่จากการทดลองหลายครั้ง นักวิทยาศาสตร์พบว่านี่คือความเข้าใจผิด
1
เพราะถ้าภูมิคุ้มกันของพวกมัน “แข็งแกร่ง” อย่างที่เข้าใจกันที่แรกจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเวลาพวกมัน “ติดเชื้อไวรัส” ภูมิคุ้มกันมันต้องทำงานมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในการกำจัดเชื้อโรค
1
แต่ในความเป็นจริงเวลาค้างคาวติดเชื้อ ระบบภูมิคุ้มกันของพวกมันแทบจะไม่ทำงานเลย ถ้าเทียบกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ
1
นี่ทำให้ข้อสรุปออกมาแบบ “พลิก”
1
เพราะนี่หมายความว่าจริง ๆ ที่ค้างคาวสามารถอยู่ร่วมกับ “เชื้อโรค” สารพัดได้ ไม่ใช่เพราะระบบภูมิคุ้มกันของพวกมันทำงานอย่างหนักหน่วง แต่เป็นเพราะระบบภูมิคุ้มกันของมันทำงาน “เท่าที่จำเป็น” ต่างหาก
1
ในทางปฏิบัตินี่หมายถึง ในขณะที่สัตว์ต่าง ๆ ถ้าติดเชื้อไวรัส อาการเจ็บป่วยเราจะเห็นจากการ “อักเสบ” ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มักจะบวมแดง ซึ่งนั่นแหละคือภาวะที่เม็ดเลือดขาวกำลังสู้กับ “เชื้อโรค”
1
แต่ค้างคาวเป็นสัตว์ที่ไม่แสดงอาการอักเสบใด ๆ พูดอีกแบบคือ เม็ดเลือดดขาวของค้างคาวนั้นสู้กับเชื้อโรคอยู่แบบเงียบ ๆ ไม่โฉ่งฉ่างและกระทบกับการทำงานตามปกติของร่างกายแบบสัตว์อื่น ๆ
1
นี่ทำให้ความเข้าใจทั้งหมดพลิกกลับ ตอนแรกเราพยายามจะเข้าใจว่าจะทำยังไงให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มันทำงานหนักหน่วงเท่าค้างคาว มนุษย์จะได้ไม่ป่วย แต่ในความเป็นจริงมันกลายเป็นว่า “ความเจ็บป่วย” ของมนุษย์ มันเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานมากเกินไปต่างหาก เมื่อเทียบกับค้างคาว
1
และความเข้าใจอันนี้ ในอนาคต ก็อาจทำให้เราสามารถพัฒนายาที่จำทำให้มนุษย์สามารถ “อยู่ร่วมโรค” ได้เหมือนค้างคาวก็ได้
1
โฆษณา