Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
KBank Live
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2021 เวลา 05:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
❓Fund Q&A ทุกเรื่องราวการลงทุนที่คุณสงสัย เราพร้อมตอบให้….
👉ช่วงนี้เห็นหลายคนพูดถึงกองทุนหุ้นดัชนีกันเยอะพอสมควร
เพราะจับจังหวะลงทุนง่าย จ่ายค่าธรรมเนียมต่ำ แถมยังสร้างโอกาสรับผลตอบแทนได้ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นนั้น ๆ ตามดัชนีที่อ้างอิง ทำให้อยากลงทุนบ้าง
ถ้าถือกองทุนหุ้นรายประเทศอยู่แล้ว และอยากซื้อกองทุนหุ้นดัชนีในประเทศเดียวกันเพิ่ม จะซ้ำซ้อนกันหรือไม่?
แต่อีกใจหนึ่งก็สงสัยว่า ถ้าถือกองทุนหุ้นรายประเทศอยู่แล้ว และอยากซื้อกองทุนหุ้นดัชนีในประเทศเดียวกันเพิ่ม จะซ้ำซ้อนกันหรือไม่?
มาฟังคำแนะนำดี ๆ จาก K Wealth GURU คุณชุณหวรรณ ขัตตินานนท์ ผู้บริหารกองทุน ฝ่ายจัดการกองทุนทางเลือก บลจ.กสิกรไทย กันเลย
อย่างที่ทราบกันดีว่า นิยามของกองทุนรวมหุ้น ไม่ว่าจะเป็นกองทุนหุ้นรายประเทศแบบทั่วไป หรือกองทุนหุ้นดัชนีนั้น ก็เป็นการรวบรวมหุ้นจากบริษัทต่าง ๆ ตามนโยบายของกองทุนนั้น ๆ เข้ามาไว้ในพอร์ตเหมือนกัน เพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
2
แต่สิ่งที่ต่างออกไปก็คือ ‘นโยบายการลงทุน’ เพราะนโยบายจะเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์การลงทุน ผลตอบแทนที่คาดหวัง ค่าธรรมเนียมของกองทุน รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมที่ลงทุน ที่เกี่ยวข้องกับหุ้นในพอร์ตโดยตรงนั่นเอง
ส่วนประเด็นที่ว่าจะซ้ำซ้อนกันหรือไม่? อยากจะชวนมาดูว่า กองทุนหุ้นรายประเทศที่เราถือไว้อยู่แล้วนั้น มีนโยบายการลงทุนอย่างไร ลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมไหน และมีหุ้นตัวไหนเหมือนกันหรือเปล่า แล้วลองเปรียบเทียบกับข้อมูลของกองทุนหุ้นดัชนีที่เราสนใจ
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างกองทุนหุ้นที่ลงทุนในประเทศเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่เป็นกองทุนหุ้นดัชนีกับกองทุนหุ้นแบบทั่วไป ได้แก่ K-CHX (กองทุนหุ้นจีนดัชนี) และ K-CHINA (กองทุนหุ้นจีนแบบทั่วไป) ดังนี้
1️⃣K-CHX (กองทุนหุ้นจีนดัชนี)
นโยบายการลงทุน : ลงทุนในหุ้นจีนขนาดใหญ่ที่สุด 50 ตัว ในตลาดหุ้น A-Share
กลยุทธ์การลงทุน : ลงทุนเชิงรับ (Passive Management) เพื่อสร้างผลตอบแทนใกล้เคียงกับดัชนี FTSE China A50
1
กลุ่มอุตสาหกรรม : กลุ่มการเงิน สินค้าอุปโภคบริโภค เฮลท์แคร์
ตัวอย่างหุ้นในกองทุน : KWEICHOW MOUTAI แบรนด์สุราระดับพรีเมียม, PING AN INSURANCE GROUP บริษัทประกันใหญ่ที่สุดในจีน, JIANGSU HENGRUI MEDICINE บริษัทผู้ผลิตยา เจ้าของฉายา Pfizer แห่งเมืองจีน
2️⃣K-CHINA (กองทุนหุ้นจีนแบบทั่วไป)
นโยบายการลงทุน : ลงทุนในหุ้นจีนชั้นนำที่มีโอกาสเติบโตสูง (Growth) ในทุกตลาด (All China) ทั้ง A-Share, H-Share และ ADR
กลยุทธ์การลงทุน : ลงทุนเชิงรุก (Active Management) เพื่อสร้างผลตอบแทนเอาชนะดัชนีชี้วัด MSCI China 10/40 Index
กลุ่มอุตสาหกรรม : เน้นกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Economy) โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี สื่อสาร เฮลท์แคร์ Renewable Energy EV
ตัวอย่างหุ้นในกองทุน : Tencent Holding Group บริษัทสื่อสารรายใหญ่ ผู้ให้บริการแอปฯ WeChat เกมออนไลน์ เพลง และภาพยนตร์, Alibaba Group Holding เจ้าของธุรกิจ E-Commerce และ Fintech ที่ชาวจีนทุกคนรู้จัก, Meituan แอปสั่งและจัดส่งอาหารครบวงจร
จะเห็นได้ว่า ทั้งสองกองทุนลงทุนในหุ้นที่แตกต่างกันค่อนข้างมาก เพราะกองทุน K-CHINA จะลงทุนได้ในหุ้นจีนทุกตลาด และลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ ที่ market cap อาจจะยังมีขนาดไม่ใหญ่มากนักได้
สามารถปรับเปลี่ยนธีมการลงทุนได้ตลอดเวลา เมื่อเทียบกับกองทุนดัชนีที่จะลงทุนตามดัชนีชี้วัดเท่านั้น จึงถือว่าไม่ซ้ำซ้อน สามารถลงทุนเพิ่มได้
ทั้งนี้ หากเกิดกรณีที่เปรียบเทียบแล้วมีความซ้ำซ้อน แต่กลยุทธ์การลงทุนแตกต่างกัน ควรจะเลือกกองทุนไหน?
ให้ดูที่วัตถุประสงค์การลงทุนของเรา เช่น สามารถจับจังหวะลงทุนเองได้ ก็เลือกลงทุนเชิงรับ Passive แต่ถ้าไม่มีเวลา และอยากให้ผู้จัดการกองทุนช่วยบริหารกองทุน ก็เลือกกองทุนเชิงรุก Active
ไม่ว่าจะเลือกกองทุนแบบไหน หรือเลือกทั้ง 2 แบบ สิ่งที่อยากฝากไว้คือ กองทุนรวมหุ้นจะให้ผลตอบแทนที่ดีก็ต่อเมื่อเราลงทุนในระยะยาว เพราะฉะนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดและรอบด้าน พร้อมประเมินระดับความเสี่ยงของตนเองก่อนการลงทุน เพื่อให้พอร์ตของเราประสบความสำเร็จได้ดังใจ
ดูรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุนเพิ่มเติม คลิก
https://bit.ly/3mHSE4F
👍ถ้าชอบคอนเทนต์นี้ อย่าลืมกด Like กด Share และตั้งค่าเพจเป็นรายการโปรดไว้ จะได้ไม่พลาดเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับการลงทุนและกองทุนที่น่าสนใจ หากมีคำถามสามารถส่งมาในช่อง comment และ inbox เพจไว้ได้เลย
#KAsset #KBankLive
กองทุนหุ้น
กองทุนดัชนี
ลงทุน
1 บันทึก
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย