21 ต.ค. 2021 เวลา 12:00 • ปรัชญา
เราว่าพอเรารู้มากขึ้น ศึกษาไปเยอะขึ้น สำหรับเราในหัวจะมีคำถามเต็มไปหมดเลย สิ่งรอบตัวที่เคยมองว่าธรรมดา เรากลับมีมุมมองที่ต่างออกไป ทำอะไรบางทีก็ยึดกับพื้นฐานความรู้มากขึ้น แต่เราว่ายิ่งรู้มากขึ้นยิ่งพูดน้อยลง แต่พอคิดเข้าเยอะๆและยากๆจะเริ่มพูดงงๆ
แต่รู้น้อยก็คิดน้อยนั้นก็ปกติ ไม่ได้เรียนหรือศึกษาอะไรมาก ความคิดอ่านหรือมุมมองต่อสิ่งต่างๆนั้นก็น้อยลงในเชิงวิชาการ ทำอะไรตามสัญชาตญาณมากกว่าเหตุผล เข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ บางครั้งก็ด่วนตัดสินใจเพราะความรู้น้อย เพราะคิดน้อย
เราว่าคล้ายกับปรากฏการณ์ดันนิ่ง-ครูเกอร์ ที่คนรู้มากจะพูดน้อย คนรู้น้อยจะพูดมาก
กรณี มีความรู้มาก จะคิดมากขึ้นตระหนักและทบทวนในสิ่งที่คิดมากขึ้นทำให้พูดน้อยลง อาจคิดว่าบนโลกนี้มีอีกหลายสิ่งที่ยังไม่รู้ และยังต่อยอดขยายความรู้ไปได้อีก(แม้แต่ทฤษฎีก็ยังล้มล้างได้)จึงเริ่มไม่มั่นใจในความคิดตัวเองว่าถูกต้องแล้วจริงๆ จึงคิดมาก
4
กรณี มีความรู้น้อย รู้จำกัด ก็คิดน้อย อาจจะคิดว่าสิ่งที่รู้อยู่นั้นรู้หมดแล้ว จากความคิดอ่านและไตร่ตรองที่น้อย จึงมั่นใจในความคิดและกล้าพูดออกมามากขึ้น(คนละกรณีกับคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง) เกิดการbiasว่าตัวเองเป็นผู้รู้แล้วและจึงมั่นใจที่จะพูดออกไปแม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่ถูกต้อง ผ่านการวิเคราะห์น้อย (บางคนจึงเหมือนพูดอะไรไม่คิด พูดโพล่งออกมา ไม่มีทฤษฎีรองรับแต่เชื่อว่าตนนั้นถูก เพราะขีดจำกัดในการทบทวนความรู้ตัวเองน้อย ซึ่งบางครั้งคำพูดที่พูดก็เป็นดาบที่ทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเองก็มีค่ะ)
คนเราถูกเลี้ยงดูต่างกัน วิพากษ์ข้อมูลต่างกันตามการศึกษาและประสบการณ์ที่เคยเจอ
แต่คนเราควรคิดให้ถี่ถ้วน ดูตามความเป็นจริงและเป็นกลาง ในความจริงไม่มีความคิดใดดีที่สุด ถูกหรือผิดไปทั้งหมด อย่าเพิ่งด่วนเข้าใจว่าตัวเองรู้หมดแล้ว ควรขุดลงไปหาข้อมูลก่อน ตั้งคำถามอยู่เสมอ อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่ได้ยินทั้งหมด แม้จะเป็นครูหรือนักวิชาการ ลองดูศึกษาก่อน ทุกอย่างอาจมีการบิดเบือนได้ อย่าเชื่อเพราะเขาเชื่อแบบนี้หรือเชื่อตามๆกันพวกมากลากไป หรือเชื่อไปเอาอุดมการณ์ผู้อื่น แต่ด้วยความรู้ของตนยังไม่เข้าใจถ่องแท้ ให้หาหรือรับฟังบุคคลอื่นและยอมรับความคิดที่แตกต่างกันมาปรับใช้ดูบ้างก็ได้ค่ะ ไม่มีใครพูดถูกหรือผิดไปทั้งหมด
แต่มนุษย์เราเกิดมานั้นล้วนมีคำถามมากมายไม่สิ้นสุด ยิ่งรู้เยอะยิ่งทุกข์ก็ว่าได้ในบางครั้ง เมื่อรู้เยอะเห็นคนอื่นทำไม่ถูกต้องจริงๆก็ขัดใจ รู้เยอะก็ไม่มั่นใจว่ารู้มากพอแล้วรึยังจึงเกิดทุกข์ แต่ที่บอกไม่รู้เลยคือนิพพาน น่าจะหมายถึงสภาวะการปลงค่ะ มองตามความเป็นจริงจะมีสักกี่คนที่ทำได้จริงๆ เพราะคนเรายังมอมเมาในลาภ ยศ สักการะ อำนาจ แค่ศีล5ขอให้ทำได้ทุกคนแค่นี้ไม่ต้องพูดถึงพรหมวิหาร
สังคหวัตถุ หรืออื่นๆเอาเพียงศีล5ก็ยังขาด เราจะไม่พูดถึงเรื่องบุญบาปกันก็ได้ เพราะเราว่าคนทำอะไรย่อมรู้อยู่แก่ใจ บาปก็คือสิ่งที่เคยทำไป บางครั้งมันก็หลอกใจความคิดตัวเราไปตลอด ไม่จำเป็นต้องมีคนอื่นรู้ แต่ก็รู้แก่ตัวเอง ยิ่งในปัจจุบันนี้การbiasเกิดขึ้นเยอะในสังคม บอกว่าไม่ชอบการบูลลี่แต่ก็บูลลี่คนอื่น บูลลี่ความคิดที่ต่างจากตัวเอง บูลลี่สิ่งที่ตัวเองไม่ชอบและอ้างว่าเป็นกรณีพิเศษ แบบนี้คุณก็บูลลี่เช่นกันค่ะ
เราล้วนสงสัยการมีอยู่ สิ่งต่างๆและการเกิดดับ หลายๆคนก็สงสัยแบบเรา สงสัยว่าสิ่งต่างๆเกิดได้ไง พัฒนายังไง ก็ทำให้เกิดวิวัฒนาการและเทคโนโลยีใหม่ๆ แต่ดวงอาทิตย์ดวงเดียวกัน คนในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคตก็มองดวงเดียวกันกับเรา ต่างกันแค่มุมมองและช่วงเวลาค่ะ แม้ยาวนานดวงอาทิตย์ก็ดับ แม้แต่เราเองก็เช่นกัน หลับใหลและไม่ฝัน สิ้นความสงสัย ไม่มีคำถามอีก แต่ก็จะมีสิ่งมีชีวิตใหม่ๆตื่นขึ้นมาสงสัยและตั้งคำถามแบบนี้ไปเรื่อยๆค่ะ เวียนกันแบบนี้ เราแค่ใช้ชีวิตเพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์และสังคมไปอีกรุ่นนึง ชีวิตก็เท่านี้เอง เหมือนว่าถ้าเข้าใจข้อนี้ก็รู้สึกปลงๆกับสิ่งต่างๆหรือความไม่แน่นอนค่ะ เราเองเพิ่งเข้าใจความหมายของคำว่าความแน่นอนคือความไม่แน่นอน ความไม่แน่นอนคือแน่นอน เพราะไม่แน่นอนนั้นมันแน่แท้จึงแน่นอน เราเอาอะไรแน่นอนกับโลกนี้และจักรวาลที่ไม่รู้จุดสิ้นสุดนี้ไม่ได้เลย รู้มากจึงคิดมาก และอาจทุกข์ในความจริงที่รู้
รู้น้อยจึงคิดน้อยคิดว่ารู้มากพอแล้วคิดว่าสุขเป็นของจริง ระเริงกับสิ่งต่างๆ ความบอกว่าไม่รู้แต่แท้จริงคือรู้แล้วและเข้าใจตามความเป็นจริงแล้ว ไม่มีอะไรแน่นอนหรือเที่ยงเลย จึงทำตัวตามสภาพธรรมดา ไม่หลงไปตามโลกธรรม8 จึงเหมือนไม่รู้ค่ะ จึงเหมือนสภาพไม่สุข-ไม่ทุกข์ค่ะ คือการวางเฉย เพราะความจริงคนทุกคนย่อมอยากมีสุข แต่บางทีสุขก็ก่อให้ทุกข์ ทุกข์ก็ก่อให้สุข ไม่ทุกข์ไม่สุขจึงเป็นความสุขที่แท้จริงค่ะ
โฆษณา