22 ต.ค. 2021 เวลา 03:00 • สิ่งแวดล้อม
ธารน้ำแข็งในแอฟริกา จะหายไปภายในปี 2040 เพราะวิกฤตโลกร้อน
1
ในปีนี้ ประเทศที่ตั้งอยู่ทางแอฟริกาตะวันออกกำลังเผชิญวิกฤตภัยแล้งอย่างรุนแรง
1
บางจังหวัดในมาดากัสการ์และเคนยา แล้งจนเพาะปลูกอะไรไม่ได้ ต้องอาศัยกินกระบองเพชรประทังหิว
1
ฉากเหล่านี้คือปฐมบทของวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่กำลังเข้าโจมตีมนุษยชาตอย่างว่องไว
1
ซึ่งตามข้อมูลใหม่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศในแอฟริกาจะแล้งหนักยิ่งกว่าปัจจุบัน
1
โดยนักวิทยาศาตร์จาก WMO คาดการณ์ว่า ธารน้ำแข็งที่ปกคลุมอยู่บนยอดเขาเคนยาในประเทศเคนยา ทิวเขารูเวนโซรีในประเทศยูกันดา และคิลิมันจาโรในแทนซาเนีย จะหายไปทั้งหมดภายในปี 2040
2
ตามรายงานระบุว่า นับตั้งแต่ปี 1880 เป็นต้นมา ธารน้ำแข็งบนยอดเขาทั้งสามแห่งมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ความชื้นในอากาศที่เปลี่ยนไป และปริมาหิมะที่ลดลง
2
ธารน้ำแข็งบนยอดเขาในเคนยามีแนวโน้มที่จะหายไปก่อนแห่งอื่นๆ
2
หรือในภาพรวมทั้งโลก ธารน้ำแข็งของภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงที่จะหายไปก่อนที่ไหนๆ
2
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิในทวีปนี้สูงกว่าค่าเฉลี่ย 0.86 องศาเซลเซียส
2
การหายไปของธารน้ำแข็งในภูมิภาคนี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่จะทำให้โลกของผู้คนในทวีปแห่งนี้ไม่มีทางกลับเหมือนเดิมได้อีกต่อไป
2
และนี่คือรายงานความเป็นไปในสิ่งที่คนแอฟริกา หรือกลุ่มประเทศที่ปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 4% ต้องเผชิญ
2
การพลัดถิ่นครั้งใหญ่ ความหิวโหย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ความแห้งแล้งและน้ำท่วมรุนแรงกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต จะเกิดกับผู้คนประมาณ 118 ล้านคน ภายในปี 2030
2
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะลดลงอีก 3% ภายในปี 2050
2
เพื่อพยุงตัวเองให้รอด จะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์ในการบรรเทาภัยและปรับตัวภายในปี 2030
2
#IsLIFE #ClimateCrisis #Glaciers
2
อ้างอิง
1
โฆษณา