Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ขุนพิชิตชัยพยาธิ
•
ติดตาม
21 ต.ค. 2021 เวลา 23:12 • ไลฟ์สไตล์
พื้นฐานร่างกายมุษย์ตามธาตุเจ้าเรือนจากคัมภีร์วรโยคสาร
ภาพซื้อจาก storyblocks.com
อันว่าร่างกายมนุษย์นั้นพื้นฐานมาจากธาตุดิน และแต่ละคนนั้นมีอีก 3 ธาตุไหลเวียนกันไป
การรู้ถึงเจ้าเรือนหรือปรกฤติธาตุของแต่ละคนนั้น เป็นปัจจัยต่อการรักษา การเลือกอาหาร การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีงิต และการคัดสรรยาสมุนไพรให้เหมาะสมกับคนแต่ละคน
ตามศาสตร์โบราณแล้ว คัมภีร์วรโยคสารกล่าวว่า ในอุณหภูมิปกติ สภาพแวดล้อมปกติ คนบางคนอาจอาจรู้สึกว่าสบาย บางคนอาจรู้สึกร้อน บางคนอาจรู้สึกว่าหนาว แล้วแตกต่างกันไป
ความแตกต่างนี้ไม่ใช่เป็นเพราะ การนุ่งห่มเสื้อผ้าที่แตกต่างกันอย่างเดียว แต่ขึ้นกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละคนด้วย
บางคนกินของเผ็ดร้อนแล้วจะรู้สึกสบาย บางคนกินแล้วท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง หรือท้องเสียได้ง่าย ๆ ในขณะที่บางคนกินกล้วยหอมแล้วอึดอัด ท้องขึ้นท้องเฟ้อ นี่เป็นผลจากการที่แต่ละคนมีเจ้าเรือนแตกต่างกัน
คำว่า “ลางเนื้อชอบลางยา” ซึ่งคนโบราณมักพูดอยู่เสมอๆ นั้น มิได้หมายความว่า ให้หมอลองยากับผู้ป่วยไปเรื่อย ๆ จนกว่า จะพบยาที่ถูกกับโรคของผู้ป่วย แต่ ลางเนื้อชอบลางยา เตือนให้หมอตระหนักอยู่เสมอว่า ยาตำรับเดียวกันใช่ว่าจะรักษาโรคเดียวกัน ได้กับผู้ป่วยทุก ๆ ราย เพราะนอกจากอาการของโรคอาจจะแตกต่างกันแล้ว ผู้ป่วยแต่ละรายยังมีเจ้าเรือนแตกต่างกันด้วย
ปรกฤติลักษณะ นั้นแบ่งได้ 5 ประเภทด้วยกัน
1. วาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มี "ธาตุลม" เป็นเจ้าเรือน
2. ปิตตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มี "ธาตุไฟ" เป็นเจ้าเรือน
3. เสมหะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มี "ธาตุน้ำ" เป็นเจ้าเรือน
4. ทุวันทะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีธาตุ 2 ธาตุผสมกันเป็นเจ้าเรือน จำแนกเป็น ลม+ไฟ (วาตะ-ปิตตะ), ลม+น้ำ (วาตะ-เสมหะ), ไฟ+ลม (ปิตตะ-วาตะ), ไฟ+น้ำ (ปิตตะ-เสมหะ), น้ำ+ลม (เสมหะ-วาตะ), และ น้ำ+ไฟ (เสมหะ-ปิตตะ) ดั่งนี้
5. สันนิปาตะปรกติบุรุษ คือ ผู้ที่มีทั้ง "ธาตุลม+ธาตุไฟ+ธาตุน้ำ" เป็นเจ้าเรือน
ทุวันทะปรกติบุรุษ ลักษณะของบุคคลและธาตในตัว
ในการประเมินว่าบุคคลจะมีธาตุใดเป็นเจ้าเรือนนั้น ให้พิจารณาลักษณะของร่างกาย พฤติกรรมรวมทั้งอารมณ์ และจิตใจ ดังนี้
ลักษณะและร่างกายของคนแต่ละธาตุ
ภาพจาก [1]
พฤติกรรมของคนแต่ละธาตุเป็นดังนี้้
ภาพจาก [1]
อารมณ์และจิตใจของคนแต่ละธาตุจะเป็นดั่งนี้
ภาพจาก [1]
ความเข้าใจเรื่องสมุฏฐาน
สมุฏฐานนั้นหมายถึง ที่ตั้งตำแหน่งแรกของการเกิดโรค ซึ่งหมายถึงสาเหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยภายในร่างกาย ในทางการแพทย์แผนดั้งเดิม สมุฏฐานจะถูกจำแนกออกตามตรีโทษะ (หรือโทษจากธาตุนั้น) ได้แก่ [1]
1. วาตะสมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยเกิดจากธาตุลม มักจะมีอาการดังต่อไปนี้
ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ สะโพก เอว กระดูก ปวดข้อ ปวดเลื่อนไปทั่วร่างกาย ปวดเกร็ง ตะคริว ปวดประจำเดือน หนาวสั่น หาวบ่อย ถอนหายใจบ่อย มีลมในท้อง ท้องขึ้น ท้องผูก ผิวแห้ง ชัก กระตุก น้ำหนักลด ซูบผอม นอนไม่หลับ ตึงเครียด อ่อนล้า วิตกกังวล ตื่นเต้นง่าย
2. เสมหะะสมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่รากฐานของความเจ็บป่วย เกิดจากธาตุน้ำ มักจะมีอาการ ดังต่อไปนี้
น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ เสมหะคั่ง หอบหืด หลอดอักเสบ แน่นหน้าอก หนักเนื้อตัว บวม เชื่องซึม ขี้เกียจ นอนมาก เบื่ออาหาร รู้สึกอิ่มทั้งที่ท้องว่าง
3. ปิตตะสมุฏฐาน หมายถึง เหตุที่เป็นรากฐานของความเจ็บป่วยเกิดจากธาตุไฟ มักจะมีอาการดังนี้
ไข้ อักเสบ ขมในปาก ปวดหัว ปวดแสบหน้าอก ปวดท้องหลังอาหาร ปัสสาวะเหลือง อุจจาระเหลือง ผื่นคัน สิว ฝี แสบก้น ริดสีดวงทวาร ร้อนวูบวาบตามตัว
การปรับสมดุลตรีโทษะ
ในคัมภีร์วรโยคสาร กล่าวถึง โทสะสมนะลักษณะ หรือ การระงับโทษะ
(โทษ)ทั้ง 3 ประการ มีดังนี้ [1]
1. วาตะสมนะ (การระงับลม) กินอาหารลดวาตะ ได้แก่ อาหารรสหวาน เปรี้ยว เค็ม น้ำมันงา แอลกอฮอล์ เป็นต้น ดื่มน้ำอุ่นในปริมาณมาก อาบน้ำ ทาและนวดตัวด้วยน้ำมันงา อาบแดด สวนทวาร
2. ปิตตะสมนะ (การระงับปิตตะ) กินอาหารลดปิตตะ ได้แก่ อาหารรสขม หวาน ฝาด เย็น เป็นต้น อยู่ในที่ร่ม มีลมพัดถ่ายเท อาบแสงจันทร์ อาบน้ำเย็น ทาน้ำอบ เครื่องหอม กินนม เนย ทาน้ำมันเนย ทำให้ถ่ายหรือเอาโลหิตออก
3. เสมหะสมนะ (การระงับเสมหะ) กินอาหารลดเสมหะ ได้แก่ อาหารรสเผ็ด ขม อาหารหยาบ(เนื้อสัตว์ย่อยยาก) หนัก ร้อน(ให้พลังงานความร้อนเช่นไขมัน) เป็นต้น อดอาหาร ออกกำลังกายโดยเดินเท้าเปล่า เล่นน้ำ อดนอน ประคบ
การระงับโทษทั้ง 3 เป็นการปรับสมดุลเนื่องจากธาตุนั้นกำเริบ(มากเกินไป)ในธาตุนั้นๆ
ข้อมูลเพิ่มเติม
[1]
http://ayurvedicassociationofthailand.blogspot.com/2012/01/blog-post_04.html?m=1
1 บันทึก
1
3
1
1
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย