Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SHiFT Your Future
•
ติดตาม
22 ต.ค. 2021 เวลา 03:36 • คริปโทเคอร์เรนซี
7 ข้อควรรู้ สำหรับมือใหม่ที่อยากเริ่มต้นกับ NFT
ศิลปินไทยและคนทั่วไปให้ความสนใจกับ NFT หรือ (Non-Fungible-Token) มากขึ้นเรื่อยๆ มีการตั้งกลุ่มต่างๆ เพื่อให้คนนำผลงานมาแสดง อย่างกลุ่ม NFT and Crypto Art Thailand ใน Facebook นั้นปัจจุบันมีคนเข้าร่วมกลุ่มถึง 174,000 คน และในอนาคตก็อาจจะมีกลุ่มอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ในแพลตฟอร์มอื่นๆ
เพราะฉะนั้น การมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจนำผลงานเข้าไปขาย เข้าไปสะสม หรือลงทุนจึงมีความสำคัญมาก
ในบทความนี้ จะพามาทำความเข้าใจกับเรื่องต่างๆ ที่มือใหม่ควรรู้ จะได้ไม่พลาดเมื่อต้องเข้าสู่โลก NFT
1.NFT ต่างจาก Cryptocurrency อย่างไร
NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ หมายความว่าผลงานดิจิทัลแต่ละชิ้นที่ถูกแทนที่ด้วย NFT ก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ไม่มีทางทำซ้ำได้ เทียบกับ Cryptocurrency อย่างที่เป็นเหรียญแบบทดแทนกันได้ เช่น Bitcoin ที่มีการขุดเหรียญออกมาก็จะเหมือนกันทั้งหมดทั้ง 21 ล้านเหรียญ มีคุณสมบัติเหมือนกันหมด และสามารถแลกเปลี่ยนไปมาได้เหมือนการใช้เงิน
1
2.NFT มีสินทรัพย์อะไรบ้าง
ปัจจุบัน NFT ถูกขับเคลื่อนด้วยผลงานศิลปะต่างๆ ทั้งภาพถ่าย ภาพวาด ภาพแอนิเมชัน คลิปวิดีโอ แต่ในอนาคตนั้น อาจจะมีสินทรัพย์ชนิดอื่นๆ เข้ามาในโลก NFT มากขึ้น เช่น ผลงานทางประวัติศาสตร์ งานเขียน คำพูดของคนมีชื่อเสียง หรือสินทรัพย์อื่นๆ อีกมากมายที่สามารถแปลงเป็นไฟล์ดิจิทัล
3.เข้าใจการทำงานของบล็อกเชน
NFT เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่บนระบบบล็อกเชน (Blockchain) เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูงกว่าระบบอินเทอร์เน็ต เพราะข้อมูลที่เข้าสู่ระบบบล็อกเชนนั้นจะถูกส่งต่อไปยังทุกเครื่องในเครือข่ายด้วยข้อมูลชุดเดียวกัน เมื่อข้อมูลถูกบันทึกลงไปแล้วจะไม่สามารถลบหรือเปลี่ยนแปลงได้ ทำให้ยากต่อการปลอมแปลงหรือขโมยข้อมูลออกจากระบบได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผลงาน NFT บนโลกดิจิทัลนั้นมีเพียงชิ้นเดียว และถูกทำซ้ำไม่ได้
4.ต้องใช้แพลตฟอร์มอะไรเป็นบ้าง
แพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่โลก NFT นั้น มีอยู่ 3 ประเภทควรรู้ คือ
-เปิดใช้งานกระเป๋าเงิน (Wallet) ใช้สำหรับเชื่อมต่อการชำระค่าธรรรมเนียม และใช้ในการซื้อขาย NFT ซึ่งกระเป๋าเงินที่นิยมใช้กันคือ Metamask
-แพลตฟอร์มสำหรับเทรดต่างๆ เช่น Bitkub, Zipmex, Bitazza, Satang Pro หรือ Binance สามารถใช้เป็นตัวช่วยในการโอนเงินดิจิทัลเข้าสู่กระเป๋าเงินได้
-แพลตฟอร์มสำหรับซื้อ-ขาย NFT ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่นิยมใช้กันในระดับโลก คือ Opensea และ Foundation ส่วนแพลตฟอร์มของไทยปัจจุบันมี Coral ของบริษัท KBTG ที่เปิดให้บริการแล้วแต่ยังไม่เต็มรูปแบบ ซึ่งแพลตฟอร์มนี้ผู้ซื้อ NFT สามารถใช้เป็นเงินบาท หรือดอลลาร์ เข้าไปซื้อได้โดยไม่ต้องแปลงเป็นเงินดิจิทัลก่อน ส่วนแพลตฟอร์ม NextArt เป็นอีกแพลตฟอร์มที่วางแผนจะเปิดตัวในไทยเร็วๆ นี้
5.รู้จักเหรียญ Ethereum
Ethereum เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ซื้อขายผลงาน NFT สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียม (Gas) เพราะฉะนั้นจึงควรรู้ว่าเหรียญนี้สามารถทำอะไรได้อีกบ้าง และมีแนวโน้มของราคาเป็นอย่างไร เพราะการที่ราคาเหรียญขึ้นหรือลงนั้นจะมีผลกับราคาของผลงานที่ซื้อขายกันเมื่อแลกกลับมาเป็นสกุลเงินในโลกจริง
6.รู้จักค่า Gas
หรือก็คือ ค่าธรรมเนียม สำหรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย Blockchain ของ Ethereum ซึ่งการซื้อขายผลงาน NFT นั้นจะใช้สกุลเงิน Ethereum เป็นหลัก เพราะฉะนั้นทุกการอัพโหลดภาพไปขายนั้น ผู้ขายจะต้องเสียค่า Gas ล่วงหน้าสำหรับการวางขายผลงานบนแพลตฟอร์มต่างๆ
7.การซื้อ-ขายผลงาน NFT
การนำผลงานขึ้นไปขายนั้น ไม่ต่างกับการอัพโหลดรูปขึ้นโซเชียลมีเดีย คือเลือกผลงานที่จะนำไปขาย และใส่รายละเอียดของผลงาน สิ่งที่จะต่างไปก็คือ ผู้ขายสามารถตั้งขายได้ 2 รูปแบบคือ การตั้งราคาขาย หรือ การตั้งให้คนมาประมูล และสามารถกำหนดเวลาได้ว่าจะให้ประมูลถึงเมื่อไร
ด้านผู้ซื้อ สิ่งที่จะต้องเข้าใจก็คือ การซื้อผลงาน NFT นั้น เป็นเพียงการได้สิทธิ์ถือครองอย่างถูกต้อง แต่จะได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ หมายความว่า จะไม่สามารถนำผลงานเหล่านั้นไปทำการค้าในรูปแบบอื่นได้ ซึ่งสิ่งที่ทำได้คือ การเก็บสะสม หรือการเก็งกำไรเพื่อขายสิทธิ์การถือครองให้ผู้ที่ชื่นชอบคนต่อไป
1
อ่านบทความเต็มๆ ได้ที่
https://link.shiftyourfuture.com/659u
ติดตามความรู้ดีๆ จาก SHiFT Your Future เพิ่มเติมได้ที่:
👉🏻 WEBSITE
https://www.shiftyourfuture.com
👉🏻 LINE: @shiftyourfuture หรือ
https://link.shiftyourfuture.com/5TFm
👉🏻 Blockdit:
https://link.shiftyourfuture.com/5TFn
👉🏻 Linkedin:
https://link.shiftyourfuture.com/5TFz
29 บันทึก
7
14
29
7
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย