22 ต.ค. 2021 เวลา 06:30 • ประวัติศาสตร์
สหราชอาณาจักรถือกำเนิดขึ้นได้อย่างไร
สหราชอาณาจักรถือกำเนิดขึ้นได้อย่างไร
พระราชบัญญัติสหภาพ (Acts of Union 1707) เป็นพระราชบัญญัติของรัฐสภาสองฉบับ และเป็นพระราชบัญญัติสหภาพกับสกอตแลนด์ที่ผ่านในปี ค.ศ. ๑๗๐๖ (พ.ศ. ๒๒๔๙) โดยผ่านทางรัฐสภาแห่งอังกฤษและพระราชบัญญัติสหภาพกับอังกฤษผ่านในปี ค.ศ. ๑๗๐๗ โดยรัฐสภาแห่งสกอตแลนด์ โดยพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับคือราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ซึ่งในเวลานั้นเป็นรัฐที่แยกจากกันและมีสภานิติบัญญัติที่แยกจากกัน แต่มีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน ให้กลายเป็นราชอาณาจักรเดียวกันในนามของ “ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่” (อังกฤษ : Kingdom of Great Britain / ฝรั่งเศส : royaume de Grande-Bretagne)
ทั้งสองประเทศมีพระมหากษัตริย์ร่วมกันนับในปี ค.ศ. ๑๖๐๓ (พ.ศ. ๒๑๔๖) เมื่อเซอร์โรเบิร์ต เซซิลได้ทำการส่งสารลับไปยังพระเจ้าเจมส์ที่ ๖ แห่งสกอตแลนด์ซึ่งเจมส์ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระนางเจ้าอลิซาเบธที่ ๑ ในฐานะที่พระเจ้าเจมส์ทรงเป็นพระราชปนัดดาในพระนางเจ้ามาร์กาเร็ต พระธิดาในพระเจ้าเฮนรี่ที่ ๗ ให้สืบทอดราชบัลลังก์อังกฤษ แม้ว่าจะถูกอธิบายว่าสิ่งนี้เป็นสหภาพระหว่างประมุขแล้ว แต่ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ก็ยังแยกและถือว่าเป็นคนละราชอาณาจักรจนกระทั่งในปี ๑๗๐๗ (พ.ศ. ๒๒๕๐) (ซึ่งก่อนที่จะถึงปี ๑๗๐๗ ทั้งสองรัฐบาลก็มีความพยายามที่จะรวมราชอาณาจักรกันในปี ๑๖๐๖, ๑๖๖๗ และ ๑๖๘๙ แล้ว)
การกระทำมีผลในวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๗๐๗ ในวันนี้รัฐสภาสก็อตแลนด์และรัฐสภาอังกฤษพร้อมใจกันจัดตั้งรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในลอนดอนซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐสภาอังกฤษ ดังนั้นการกระทำดังกล่าวจึงเรียกว่าการรวมรัฐสภา
สาเหตุ
ก่อนปี ๑๖๐๓ อังกฤษและสกอตแลนด์เป็นอาณาจักรที่แยกจากกันโดยประมุข เมื่อพระนางเจ้าเอลิซาเบธที่ ๑ ไม่เคยอภิเษกสมรสหลังจากปี ๑๕๖๗ (พ.ศ. ๒๑๑๐) ทายาทของพระองค์เลยกลายเป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์สจ๊วร์ตเจมส์ที่ ๖ แห่งสกอตแลนด์หลังจากการเสียชีวิตของพระนางเจ้าอลิซาเบธทั้งสองก็กลายเป็นรัฐร่วมประมุขและเจมส์ที่ ๖ แห่งสกอตแลนด์เมื่อครองบัลลังก์อังกฤษก็กลายเป็นพระเจ้าเจมส์ที่ ๑ แห่งอังกฤษและเจมส์ที่หกแห่งสกอตแลนด์ พระองค์ประกาศความตั้งใจที่จะรวมทั้งสองราชอาณาจักรโดยใช้ตำแหน่ง "King of Great Britain" หรือ “พระมหากษัตริย์แห่งบริเตนใหญ่”
เมื่อพระเจ้าเจมส์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษทางรัฐสภาอังกฤษกังวลว่าสิ่งนี้จะนำไปสู่โครงสร้างทางการเมืองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์คล้ายกับสกอตแลนด์(ซึ่งในสกอตแลนด์เองนั้นพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจมาก แต่สภามีอำนาจน้อยเพราะพระเจ้าเจมส์ทรงจำกัดอำนาจสภาตั้งแต่ปี ๑๕๘๓ (พ.ศ. ๒๑๒๖) เมื่อเจมส์ได้ครองบัลลังก์อังกฤษทางอังกฤษกลัวมาก ว่าอาจจะเป็นไปได้ที่เจมส์จะลดอำนาจสภาทำให้สภาอ่อนแอและดึงอำนาจรวบเข้าสู่พระมหากษัตริย์)
พระองค์ทรงตั้งเป้าหมายเกี่ยวกับการสร้างคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์และอังกฤษที่เป็นหนึ่งเดียวซึ่งเป็นก้าวแรกสู่การรวมสหภาพ อย่างไรก็ตามแม้ว่าทั้งสองจะสร้างโครงสร้างทางศาสนาแบบเดียวกัน แต่ทั้งสองก็มีความแตกต่างกันมากในหลักคำสอน คริสตจักรแห่งสกอตแลนด์เป็นผู้นับถือลัทธิคาลวินนิสม์ (Calvinism) และมองว่าศาสนจักรอังกฤษจำนวนมากปฏิบัติดีกว่าคาทอลิกเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้ความพยายามที่จะกำหนดนโยบายทางศาสนาของเจมส์และโอรสของพระองค์คือชาร์ลส์ที่ ๑ ในที่สุดก็นำไปสู่สงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. ๑๖๓๙ – ๑๖๕๑ (พ.ศ. ๒๑๘๒ – ๒๑๙๕) ซึ่งต่อมาทางสกอตแลนด์และอังกฤษก็รวมตัวกันในนามของจักรภพ (ขอไม่เจาะลึกเกี่ยวกับเรื่องนี้ ขอเอาไว้เล่าในโอกาสหน้า)
การรวมสหภาพ
ในบริบทของยุโรปการรวมศูนย์อำนาจของรัฐมีมากขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๗ และต้นศตวรรษที่ ๑๘ รวมถึงระบอบกษัตริย์ของฝรั่งเศส สวีเดน เดนมาร์กและสเปน
ต่อมาในสมัยของเจมส์ที่ ๒ พระองค์ทรงโดนปฏิวัติซึ่งเหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า “การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์” (Glorious Revolution)โดยเหล่าสภาและวิลเลียมที่ 3 แห่งออรานเย เจ้าผู้ครองสถานแห่งกิลเดอร์ส ฮอลแลนด์ ซีแลยด์ อูเทร็คต์และโอเวอร์ไอส์เซิล หลังจากการปฏิวัตปี ๑๖๘๘ (พ.ศ. ๒๒๓๑) นี้ทางรัฐบาลอังกฤษจึงเชิญพระนางแมรี่ที่ ๒ พระชายาของวิลเลียมที่ ๓ คือวิลเลียมที่ ๓ ทรงเป็นพระสวามีของแมรี่ที่ ๒ ซึ่งแมรี่ที่ ๒ นั้นทรงเป็นรัชทายาทโดยชอบธรรม แต่ทรงไม่รับราชบัลลังก์เพราะต้องการให้พระสวามีคือวิลเลียมที่ ๓ เจ้าชายแห่งดัตช์เป็นกษัตริย์อังกฤษด้วยทางสภาอังกฤษเลยยินยิมและไม่ขัดพระประสงค์ อังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์จึงใช้พระมหากษัตริย์ร่วมกันสองพระองค์
พระเจ้าวิลเลียมที่ ๓ ทรงตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการสืบสันตติวงศ์ปี ๑๗๐๑ (English Act of Settlement 1701) ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ใครก็ตามที่เป็นคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกขึ้นมาเป็นกษัตริย์อังกฤษ “ตลอดกาล” ซึ่งจะทำให้เหมือนกับรัชสมัยของเจมส์ที่ ๒ อีกและพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษจะเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ของราชวงศ์ฮาโนเวอร์ พระนาแอนน์ผู้ซึ่งตรัสกล่าวต่อรัฐสภาอังกฤษว่าสหภาพเป็นสิ่งที่ 'จำเป็นมาก' อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งสก็อต ๑๗๐๔ (พ.ศ ๒๒๔๗) ถูกส่งต่อหลังจากรัฐสภาอังกฤษโดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับสกอตแลนด์ได้กำหนดให้ "ท่านหญิงโซฟีแห่งพาลาทิเนต" (พระชายาในเจ้าผู้คัดเลือกแห่งฮันโนเฟอร์ พระนัดดาของพระเจ้าเจมส์ที่ ๑ หรือที่ ๖) เป็นผู้สืบทอดของต่อจากพระนางแอนน์
หากพระนางแอนน์ไม่มีรัชทายาทเพราะพระราชินีนาถแมรีที่ ๒ เสด็จสวรรคตเมื่อ ๑๖๙๔ (พ.ศ. ๒๒๓๗) พระโอรสพระองค์สุดท้ายของเจ้าหญิงแอนน์สิ้นพระชนม์ใน ๑๗๐๐ (พ.ศ. ๒๒๔๓)
และพระเจ้าวิลเลียม ที่ ๓ มิได้ทรงเสกสมรสใหม่ กับทั้งโอกาสที่เจ้าหญิงแอนน์จะมีพระราชบุตรอีกก็เป็นไปได้ยากเพราะมีพระชนมายุมากขึ้นทางอังกฤษจึงเลือกเจ้าหญิงโซฟีขึ้นครองราชบัลลังก์ต่อ ส่วนทางรัฐสภาสกอตแลนด์นั้นก็ต้องการรักษาราชวงศ์สจ๊วตไว้เพราะหากอังกฤษปกครองโดยราชวงศ์ฮันโนเวอร์ซึ่งเป็นราชวงศ์เยอรมันจะทำให้สกอตแลนด์ไม่ได้ผลประโยชน์อะไรจากอังกฤษเลย จึงออกพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย (Act of Security) ว่าถ้าราชวงศ์สจ๊วตในอังกฤษหมดไปทางรัฐบาลสกอตแลนด์จะตั้งสมาชิกพระราชวงศ์สจ๊วตพระองค์อื่นมาครองสกอตแลนด์ต่อ ทำให้พระนางแอนน์แห่งอังกฤษทรงเกรงว่าสกอตแลนด์จะแยกตัวและไปเข้าพวกกับฝรั่งเศสซึ่งในตอนนั้นฝรั่งเศสถือเป็นปฏิปักษ์ต่ออังกฤษอย่างรุนแรง ทำให้พระนางเจ้าแอนน์ออกพระราชบัญญัติต่างด้าว (Aliens Act) ในค.ศ. ๑๗๐๕ (พ.ศ. ๒๒๔๘)
ว่าชาวสกอตในอังกฤษจะเป็นคนต่างด้าว เว้นแต่สกอตแลนด์จะเลิกพระราชบัญญัติรักษาความปลอดภัย หรือรวมเข้ากับอังกฤษ สกอตแลนด์เลือกที่จะเข้าร่วมเป็นราชอาณาจักรเดียวกับอังกฤษ
รายการอ้างอิง
(๑)Derek Wilson<sweet Robin: A Biography of Robert Dudley Earl of Leicester 1533 – 1588 (London:Hanish Hamilton,1981)154 -155.
(๒)JB. Black. The Reign of Elizabeth:1558 – 1603 (Oxford: Clarendon,1945)410 - 411
ปล. สหราชอาณาจักรในที่นี้หมายถึงบริเตนใหญ่ คืออังกฤษและสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นรัฐของชาวบริทิชเช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร และขออภัยในภาพปกเนื่องจากทางเพจสร้างไม่ทัน
โฆษณา