สแตนลีย์ มิลเลอร์จึงทดลองนำขวดแก้วสองใบ ใบหนึ่งใส่น้ำเล็กน้อยเปรียบเสมือนมหาสมุทรในยุคดึกดำบรรพ์ อีกใบผสมก๊าซมีเทน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ จำลองบรรยากาศโลกยุคดึกดำบรรพ์ นำสายยางเชื่อมต่อทั้งสองขวด แล้วใช้ไฟฟ้าเร่งปฏิกิริยา สิ่งที่ได้คือ'สารอินทรีย์' ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 ซิดนีย์ ดับเบิลยู ฟอกซ์ ทำการทดลองโดยเอากรดอะมิโน (สารอินทรีย์) มาทำปฏิกิริยาเคมีรวมกัน ปรากฏว่า ได้สารตัวใหม่มีสภาพคล้ายโปรตีนในสัตว์ และในปี
ค.ศ. 1961 เมลวิน คาลวิน ทำการทดลองคล้ายการทดลองของสแตนลีย์ มิลเลอร์ แต่ใช้ 'รังสีแกมมา' ผ่านเข้าไปแทนกระแสไฟฟ้า ผลที่ได้เกิดสารประกอบทางเคมีหลายชนิดที่พบในสิ่งมีชีวิตปัจจุบันนอกจากนั้นยังได้สารประกอบที่ทำหน้าที่สะสมพลังงานในสิ่งมีชีวิตอีกด้วย คาลวินจึงสรุปความเห็นว่า "สารอินทรีย์และสิ่งมีชีวิต อาจเกิดจากสารอนินทรีย์ได้ ถ้ามีพลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมค่ะ