Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Porpear พ.แพร์ แคร์เรื่องหญิง
•
ติดตาม
26 ต.ค. 2021 เวลา 10:00 • สุขภาพ
⁉️ เลือกใช้ ‘ผ้าอนามัย’ อย่างไร ให้ปลอดภัย⁉️
‘ผ้าอนามัย’ ที่เราใช้กันทุกวัน ..รู้หรือไม่ว่า..
จริงๆ เราควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยแค่ไหน?
นอกจากแผ่นอนามัย ยังมีผ้าอนามัยแบบไหนอีก?
และ 5 ข้อควรระวังในการใช้ผ้าอนามัย
🌟 พ.แพร์ วันนี้ จะมาแชร์เรื่อง ‘ผ้าอนามัย’ ค่ะ
ขอบคุณภาพจาก www.freepik.com
🌟 การเลือกใช้ผ้าอนามัย
🩸 เมนส์ (menstruation) หรือ ประจำเดือน
- ปริมาณ ปกติ 5-80 ซีซี (6 ช้อนโต๊ะ) ต่อรอบ หรือ เฉลี่ย 5-10 ซีซีต่อวัน
- ระยะเวลา 1-7 วัน (ไม่ควรเกิน 8 วัน)
- ระยะห่าง (ต่อรอบ) 21-35 วัน (เฉลี่ย 28 วัน)
++ ติดตามฟัง เรื่องประจำเดือน ได้ที่
แคร์เรื่องหญิง EP.12
https://youtu.be/s785RWB8piM
⁉️ ผ้าอนามัย มีกี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร
สิ่งรองรับประจำเดือน มี 3 แบบหลักๆ
1. ผ้าอนามัยแผ่น
2. ผ้าอนามัยสอด
3. ถ้วยอนามัย
♦️1. ผ้าอนามัยแผ่น
- ซึมซับได้ 5-10 ซีซี/แผ่น แล้วแต่ขนาดและยี่ห้อ
- ข้อดี: คุ้นเคย สะดวก หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง ไม่ต้องสอดออะไรเข้าช่องคลอด โอกาสติดเชื้อน้อย
- ข้อเสีย: มีโอกาสแพ้ได้ง่าย อับชื้น รู้สึกแฉะ/ไม่สบายตัว แบบใช้แล้วทิ้งเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก
- ผ้าอนามัยแผ่น แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
🧻 1) แบบใช้แล้วทิ้ง
- ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก (non-biodegradable) ต้องเผาทำลาย และเป็นขยะโลก😢
* ปัจจุบันมีหลายยี่ห้อที่ใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่ายขึ้น
🧻 2) แบบที่ใช้ซ้ำได้
- ทำจากผ้า รองหนาหลายชั้น ค่อยๆซึมซับเลือด
- สามารถซักแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ได้เรื่อยๆ
2
2
♦️2. ผ้าอนามัยแบบสอด
- ซึมซับได้ 3-12 ซีซี แล้วแต่ขนาดและยี่ห้อ
- ทำจากวัสดุที่ย่อยสลายยาก เช่นกัน
- ลักษณะเป็นแท่ง ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 cm, ยาว 2-4 นิ้ว
- วิธีใส่ คือ ต้องสอดเข้าไปในช่องคลอด (มีสายให้ดึงออก)
- ข้อดี: ไม่อับชื้นและเหมาะกับคนที่แพ้ผ้าอนามัยแบบแผ่น
ใช้ตอนออกกำลัง ทำให้มีความคล่องตัว
- ข้อเสีย: มีโอกาสช่องคลอดติดเชื้อ ช่องคลอดเสียสมดุล
♦️3. ถ้วยอนามัย
- ถ้วยจุได้ 10-20 ซีซี แล้วแต่ขนาดและยี่ห้อ
- สามารถใช้ได้นานถึง 8-12 ชั่วโมง
- ทำจากยางนิ่ม ลาเท็กซ์หรือซิลิโคน
- ลักษณะเป็นถ้วย ใส่เข้าไปครอบปากมดลูก
- ข้อดี: ใช้ได้นาน ประหยัดในระยะยาว ใส่แล้วมีความคล่องตัว สามารถใช้ตอนมีเพศสัมพันธ์ได้ และช่วยเรื่องลดขยะโลก (eco-friendly)
- ข้อเสีย: ต้องเลือกขนาดให้เหมาะกับตัวเอง ช่วงแรกที่ใส่อาจลำบากและมีโอกาสหลุดเลอะเทอะได้ มีโอกาสติดเชื้อได้
++ ติดตามฟัง ‘ถ้วยอนามัย’ ได้ที่
แคร์เรื่องหญิง EP.3
https://youtu.be/3vd8nqnVKO4
🌟 5 ข้อควรระวัง ในการใช้ผ้าอนามัย
🩸1. เลือกผ้าอนามัยให้เหมาะสมกับการใช้งาน
(เสียศึกษาเวลาสักนิดนะคะ จะได้เลือกใช้ให้ถูกต้องไปยาวๆค่า)
🩸2. ควรล้างมือให้สะอาดทั้งก่อนและหลังการเปลี่ยนผ้าอนามัย หรือใส่/ถอดถ้วยอนามัย
🩸3. ดูวันหมดอายุก่อนใช้!
- ผู้หญิงกว่า 90% ไม่เคยดูวันหมดอายุ และไม่เคยทราบว่ามันมีวันหมดอายุด้วย
- หมดอายุก็อาจจะไม่เป็นไร แต่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะคุณภาพจะลดลง
* อย่าซื้อมากักตุนที่บ้านนานเกินไป เดี๋ยวมันหมดอายุก่อนน้า
1
5
🩸4. ควรเปลี่ยนผ้าอนามัย ให้เหมาะสม
🧻แบบแผ่น แนะนำเปลี่ยนทุกๆ 3-4 ชั่วโมง
🧻แบบสอด แนะนำเปลี่ยนทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
การใส่ผ้าอนามัยแผ่นเดิมนานเกินไป จะทำให้เป็นแหล่งรวมเชื้อโรค เกิดการอับชื้น และอาจเกิดการติดเชื้อตามมาได้
🧻แบบถ้วย สามารถใส่ได้นานถึง 12 ชั่วโมง
โดยแนะนำถอดล้างทำความสะอาดตามขั้นตอน ด้วยวิธีที่ปราศจากเชื้อที่สุด
❎ การเลือกใช้ผ้าอนามัยแบบที่ซึมซับได้มากเพื่อที่จะไม่ต้องเปลี่ยนนั้น เป็นความคิดที่ผิด!
เพราะเลือดเป็นอาหารของเชื้อโรค โอกาสติดเชื้อจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าจะมีเลือดประจำเดือนมากหรือน้อย ก็ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ
1
🩸5. หลังจากเปลี่ยนผ้าอนามัย ควรห่อให้มิดชิดก่อนทิ้ง
🌟 พ.แพร์ สรุปให้ เรื่อง ผ้าอนามัย
📍 สิ่งรองรับประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็น ผ้าอนามัยแผ่น ผ้าอนามัยสอด หรือถ้วยอนามัย มีข้อดี/ข้อเสียต่างกัน แนะนำเลือกใช้ให้ถูกกับความต้องการของตัวเองนะคะ
📍แนะนำเปลี่ยนผ่าอนามัยบ่อยๆ ทุก 3-4 ชั่วโมง แม้ว่าจะยังไม่เต็มแผ่น เพื่อป้องกันการอับชื้นและติดเชื้อค่า 🤍🤍
.
.
.
ฝากติดตามฟัง “Porpear” ได้ที่
Youtube :
https://bit.ly/2KSsMnk
Spotify :
https://spoti.fi/2Y9JGBt
Apple podcast:
https://apple.co/2O0ocVM
Facebook :
https://www.facebook.com/porpearchannel
Blockdit :
https://www.blockdit.com/porpearchannel
#porpear #porpearpodcast #porpearchannel
#porpearพแพร์แคร์เรื่องหญิง #พแพร์แชร์ให้รู้
#เรื่องน่ารู้กับพแพร์ #ประจำเดือน #เมนส์
#ผ้าอนามัย #ผ้าอนามัยแบบสอด #ถ้วยอนามัย
ขอบคุณภาพจาก
www.freepik.com
7 บันทึก
9
7
6
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
พ.แพร์ Content
7
9
7
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย