Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
daddy montessori
•
ติดตาม
24 ต.ค. 2021 เวลา 09:26 • ครอบครัว & เด็ก
Sensitive Periods ช่วงรับรู้ไวของเด็ก ที่ผู้ใหญ่ควรส่งเสริม
Sensitive Period หรือช่วงรับรู้ไว ภาพถ่ายโดย Alexey Makhinko จาก Pexels
Sensitive Period หรือช่วงรับรู้ไว คือช่วงวัยที่สำคัญในการดึงพรสวรรค์ของเด็กออกมาและเป็นรากฐานที่จะอยู่ไปตลอดชีวิต
ในการเจริญเติบโตของเด็กจะมีช่วงวัยที่เหมาะสมแห่งการพัฒนาความสามารถต่างๆ เช่น การออกกำลัง ภาษา และการนับจำนวน เด็กจะมีความสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างรุนแรงและจดจ่อทำเรื่องนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ในการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เราเรียกช่วงนี้ว่า“ช่วงรับรู้ไว"
ขึ้นชื่อว่า “ช่วง" อะไรก็ตาม ย่อมมีจุดเริ่มและจุดจบ ช่วงรับรู้ไวคือช่วงระยะ 6 ขวบแรก โดยเฉพาะช่วง 3 ขวบแรกจะเป็นช่วงรับรู้ไวต่อพัฒนาการที่จะสร้างรากฐานของนิสัยและชีวิตในอนาคตมากที่สุด เมื่อหมดช่วงรับรู้ไวแล้วเด็กจะไม่ค่อยถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงให้อยากทำอะไรเอง ต่อให้ทำเรื่องที่เคยทำเขาก็ไม่ดีใจกับมันอีกแล้ว
ช่วงรับรู้ไวถูกค้นพบโดยนักชีววิทยาชื่อ เดอ ฟรีส์ (Hugo de Vries) ในการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เราเชื่อว่าเด็กทุกคนจะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การพัฒนาความสามารถ ซึ่งถูกเตรียมไว้ตั้งแต่เกิดและมีแค่ตัวเด็กเท่านั้นที่เข้าใจ
แล้วเด็กจะพัฒนาความสามารถที่มีอยู่แล้วภายในช่วงรับรู้ไวอย่างไรล่ะ?
การเล่นช่วยให้เด็กเรียนรู้ ภาพถ่ายโดย Karolina Grabowska จาก Pexels
อย่างแรกเลยคือพัฒนาผ่านการเล่นทั่วไป เด็กๆจะเรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายหรือการสื่อสารกับคนผ่านการเล่นที่หลากหลาย
ยกตัวอย่างเช่น ของเล่นที่ให้เด็กดึงเชือกจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการใช้มือจับและดึง การเล่นของเล่นที่มีเสียงดังออกมาพร้อมกับร้องเพลงไปกับคุณพ่อคุณแม่ก็ช่วยให้เด็กเรียนรู้การจับจังหวะ ช่วยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารและการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า
นอกจากนี้การมีประสบการณ์และการเล่นที่หลากหลายจะทำให้เครือข่ายเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกัน จึงช่วยดึงความสามารถทางสติปัญญาออกมาด้วย การที่ช่วงเวลาซึ่งเครือข่ายเซลล์ประสาทเชื่อมโยงกัน ทับซ้อนกับช่วงรับรู้ไว รวมถึงการมีประสบการณ์และการเล่นที่หลากหลายจะช่วยส่งเสริมให้สมองของเด็กมีพัฒนาการ
เด็กร้องไห้เพราะ “อยากเล่นอีก” ก็มีไม่น้อยเช่นกัน ภาพถ่ายโดย Pixabay
เด็กทารกอาจร้องไห้ได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น “หิว” “ง่วง” “อยากเปลี่ยนผ้าอ้อม” “เหงา” พ่อแม่หลายคนคิดว่า“ถ้าลูกร้องไห้ต้องรีบอุ้ม” เพราะในหนังสือแนะนำการเลี้ยงลูกก็มักเขียนไว้อย่างนั้น แต่จริงๆ แล้วเวลาที่เด็กร้องไห้เพราะ “อยากเล่นอีก” ก็มีไม่น้อยเช่นกัน
บางครั้งเด็กทารกร้องไห้เพราะเราเก็บของเล่น ที่จริงเป็นเพราะเด็กกำลังหมกมุ่นกับของเล่นและอยากพัฒนาทักษะของตัวเอง บ่อยครั้งที่เราไม่รู้ว่าเด็กทารกร้องไห้เพราะอะไร แต่พอยื่นของเล่นให้ก็หยุดร้องทันทีแล้วหันไปจดจ่อกับการเล่น
เมื่อเล่นจนพอใจแล้วเด็กจะยิ้มกว้างให้เห็น ภาพถ่ายโดย Pixabay
ในช่วงรับรู้ไวนี้สิ่งที่จะเห็นได้ชัดในตัวเด็กก็คือ สภาวะลื่นไหล (Flow) เด็กจะยื่นมือหาของเล่น จดจ่อกับมันเงียบๆคนเดียว แล้วทำสิ่งเดิมซ้ำไปมา เมื่อเล่นจนพอใจแล้วเด็กจะยิ้มกว้างให้เห็น
เด็กที่อยู่ในสภาวะลื่นไหลเช่นนี้ ให้เข้าใจว่านี่คือช่วงรับรู้ไว และจงพยายามสนับสนุนให้ลูกได้จดจ่อกับสิ่งนั้นมากๆ
ทันทีเมื่อพ่อแม่รู้จักช่วงรับรู้ไว จะเข้าใจว่าทำไมลูกเราเป็นเด็กซนและร้องไห้แบบไร้เหตุผล คุณจะไม่ใช่พ่อแม่คนที่เอาแต่ดุและฉวยข้าวของจากลูกอีกต่อไป การเลี้ยงลูกจะเป็นเรื่องน่าสนใจอย่างยิ่ง ทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกก็จะเปลี่ยนไปมากเช่นกัน
Daddy ปรารถนาที่จะให้เด็กเติบโตและมีพัฒนาการผ่านการเล่นหรือใช้ของเล่นที่หลากหลาย คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกหาของเล่นที่เหมาะสมกับพัฒนาการและความสนใจของลูกได้ที่🧩ร้านของเล่นของใช้แนวมอนเตสซอรี่ ที่ลิงค์ด้านล่างนี้👇
📑อ้างอิง
https://livingmontessorinow.com/encourage-your-childs-sensitive-periods
หนังสือเก่งในแบบของลูก สไตล์มอนเตสซอรี่ x ฮาร์วาร์ด, น.26-27
หนังสือมอนเตสซอรี่เริ่มต้นที่บ้าน, น.36-37
📖 บทความอื่นๆของ Daddy Montessori
https://daddymontessori.blogspot.com/?m=1
montessori
เด็กปฐมวัย
เลี้ยงลูก
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย