24 ต.ค. 2021 เวลา 15:48 • สุขภาพ
เรื่องของ “การนอน” ทำไมเราต้องนอนหลับ?
ทำไมเราต้อง "นอนหลับ"
ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เราถูกจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวันที่แตกต่างกัน ทั้งการทำงาน การพักผ่อน และการนอนหลับ เราต้องตื่นนอนและทำงานวันละหลายชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้มีเงินจำนวนหนึ่ง แต่หากเราต้องการเงินที่มากยิ่งขึ้นล่ะ? เราจะสามารถเอาเวลาที่นอนไปทำงานเพิ่มได้หรือไม่? แล้วทำไมเราต้องนอน
เชื่อว่าคำถามเหล่านี้เป็นคำถามที่ใครหลายคนต้องตั้งสงสัยและเราก็เคยคิดว่า ทำไมเราต้องนอน? ไม่นอนได้ไหม? และนี่คือคำตอบ
การนอน คือ สภาวะที่ร่างกายตัดการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของคน เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตที่ขาดไม่ได้ตั้งเกิดจนวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพและการนอนเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายใช้เวลาในการฟื้นฟู เยียวยาเซลล์และอวัยวะสำคัญในร่างกายให้กับมามีความพร้อมในการดำรงชีวิตในวันต่อไปและทุก ๆ วัน
การนอนหลับมีบทบาทสำคัญในการมีสุขภาพที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีตลอดชีวิตของเรา การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเพียงพอในเวลาที่เหมาะสมจะสามารถช่วยปกป้องสุขภาพจิต สุขภาพกาย คุณภาพชีวิต และความปลอดภัยของเราได้
ผลการศึกษาพบว่าการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอช่วยให้การเรียนรู้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะกำลังเรียนคณิตศาสตร์ เล่นเปียโน วิธีตีวงสวิงให้สมบูรณ์แบบ หรือขับรถอย่างไร การนอนหลับจะช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการแก้ปัญหาของคุณ การนอนหลับยังช่วยให้คุณมีสมาธิ ตัดสินใจ และมีความคิดสร้างสรรค์
การนอนหลับส่งผลต่อการทำงานของสมองในหลายๆ ด้าน ได้แก่
การเรียนรู้
ทักษะการแก้ปัญหา
ความคิดสร้างสรรค์
การตัดสินใจ
หน่วยความจำ
เราสามารถพูดถึงขั้นตอนของการนอนได้ว่า มนุษย์เราจะมีการนอนหลับอยู่หลายขั้นตอน เพราะว่าเราไม่ได้นอนแล้วจะหลับไปเลย
เราจะแยกเป็น 2 ช่วง นั้นคือช่วงของ Non-REM และช่วงของ REM
โดยช่วง Non-REM โดยจะมีแยกลงไปอีก 3 ขั้นคือ
ขั้นที่ 1 เราจะรู้สึกเหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น โดยที่สมองจะผลิตคลื่นออกมาถี่ขึ้น ในขณะที่การเกร็งของกล้ามเนื้อนั้นลดลง การหายใจเริ่มเป็นจังหวะที่อ่อนเรียบ ความคิดจะฟุ้งกระจายไปมาในหัว โดยหากมีคนปลุกเราก็จะสามารถตื่นขึ้นได้ง่าย และทำให้เรารู้สึกเหมือนพึ่งนอนได้ไม่นาน
ขั้นที่ 2 คลื่นสมองของเราจะกว้างขึ้น สลับกับการกระตุกของประจุไฟฟ้า หากมีใครมาเปิดเปลือกตาคุณเบาๆ ในขั้นตอนนี้ ก็จะไม่ทำให้คุณตื่นขึ้นมา เพราะตาของคุณจะไม่สนองตอบต่อสิ่งกระตุ้นภายนอกแล้ว
ขั้นที่ 3 คลื่นสมองจะช้าลงและแผ่ขยายขึ้นไปอีก ระบบการทำงานของร่างกายจะช้าลงกว่าเดิม
โดยระหว่างที่เราอยู่ในโหมด Non-REM นี้ ร่างกายจะใช้ช่วงเวลานี้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายเราจะหลับลึกได้ยากขึ้นและหลังจากผ่าน NonREM มาแล้ว ร่างกายก็จะเข้าสู่ช่วง REM หรือการนอนโหมดหลับลึก
โดย REM ย่อมาจาก Rapid Eye Movement หากร่างกายเข้าสู่โหมด REM Sleep เมื่อไหร่ ดวงตาของเราจะเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในทิศทางต่างกันไป
การหลับในช่วง REM นี้จะเป็นช่วงที่เกิดการฝันได้ และเมื่อตื่นขึ้นมาก็จะสามารถปะติดปะต่อเรื่องราวของความฝันได้ ซึ่งระยะเวลาจากการหลับช่วง REM ไปถึงช่วง non-REM นั้นจะใช้เวลาประมาณ 90 นาที ดังนั้นตลอดคืนจนถึงช่วงเช้า เราจะสะสมรอบของการนอนวนเวียนอยู่ตามลำดับมากกว่า 4-5 ครั้ง
โดยระหว่างช่วง Non-REM ร่างกายจะช่วยควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตลดลงในระยะนี้ และส่งเสริมการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ/เซลล์ รวมไปถึงการส่งเสริมการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อ
และในช่วงของ REM แล้วนั้นมีประโยชน์ต่อความจำ ความคิดสร้างสรรค์ และสมาธิ เนื่องจากเป็นช่วงที่สมองของเราตื่นตัว ที่นี่คุณจะได้สัมผัสกับความฝัน
แล้วจะเป็นอย่างไรเมื่อเราไม่ได้นอนติดต่อกันเป็นเวลานาน?
การอดนอนนั้นทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจมากมายมากมาย หากคนเรามีการพักผ่อนที่ไม่มากเพียงพอ หรือไม่มีคุณภาพที่ดีก็อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ โดยอาจจะกระทบในเรื่องของ
1. ทำให้สมองทำงานหนักและทำให้กระบวนการเรียนรู้ช้าลง
2. ระบบจัดเก็บความทรงจำหรือระบบประสาทจะมีประสิทธิภาพลดลง
3. ทำให้มีปัญหาสุขภาพจิต
4. ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
5. ทำให้มีปัญหาสุขภาพ
การนอนหลับเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับร่างกายของเรา ดังนั้นเมื่อเราปฏิเสธการนอนหลับของร่างกาย เราจะรู้สึกถึงผลกระทบในภายหลัง เพราะการนอนหลับจึงช่วยทั้งร่างกายและจิตใจ นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าในวันรุ่งขึ้นหลังจากอดนอนหรือนอนน้อยในตอนกลางคืน
การนอนหลับแบบมีคุณภาพนั้นนอกจากต้องนอนให้ได้วันละ 7-8 ชั่วโมงแล้ว เรายังต้องรู้สึกสดชื่นทุกครั้งที่ตื่นนอนด้วย เพราะถ้าเรารู้สึกง่วงนอนหลังตื่นนอน แม้ว่านอนหลายชั่วโมงแล้วก็ตาม แปลว่าการนอนหลับนั้นขาดคุณภาพ
โฆษณา