24 ต.ค. 2021 เวลา 16:31 • การศึกษา
มีอะไรหลังจากใจกลางทางช้างเผือกตกลับขอบฟ้า
ซ้ายมือ ดาวเคราะห์ร่วมทิศ(ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์) ขวามือ สามเหลี่ยมฤดูร้อน(Summer Triangle)
หลายท่านเข้าใจว่าจะไม่สามารถถ่ายภาพหรือสังเกตการณ์ทางช้างเผือกในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม เพราะใจกลางทางช้างเผือกจะขึ้นเร็วตั้งแต่เช้าและตกลงลับขอบฟ้าก่อนมืดในเวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์
ใจกลางท่งช้างเผือกเป็นสวนที่หนาแน่นไปด้วยวัตถุท้องฟ้าที่ทั้งสวยงามและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
ทางช้างเผือกนั้นเราสามารถถ่ายภาพและสังเกตการณ์ได้ตลอดทั้งปีครับ เพียงแต่ส่วน”ใจกลาง” จะหลบเราไปสองสามเดือนก่อนจะกลับมาใหม่ในปลายเดือนมกราคม ที่จริงแล้วส่วนแขนของทางช้างเผือกทั้งสองฝั่งมีวัตถุท้องฟ้ามีอีกมากเลยในเราติดตามค้นหา
สาเหตุที่เราไม่สามารถสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกได้ในเดือนพฤศจิกายน-มกราคมเนื่องตำแหน่งของใจกลางฯจะร่วมทิศกับดวงอาทิตย์ตามเวลาดังกล่าว earthsky.org
วันนี้ขอเสนอกลุ่มดาวฤดูร้อน ซึ่งมีดวงดาวสว่างโดดเด่นที่เราเรียกว่า Asterism สามดวง แม้ในสภาพท้องฟ้าที่มีมลภาวะก็สังเกตเห็นได้ไม่ยาก ได้แก่ ดาวอัลแตร์ ในกลุ่มดาวนกอินทรี (Aquila) ดาวเวกาในกลุ่มดาวพิณ (Lyra) และดาวเดเนปในกลุ่มดาวหงส์ (Cygnus) ตามลำดับ
เมื่อลากเส้นเชื่อมดาวอัลฟาหรือดาวเอกในกลุ่มดาวทั้งสามเกิดเป็นสามเหลี่ยม เรียกว่าสามเหลี่ยมฤดูร้อนเพราะจะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออก(โดยประมาณ) ในฤดูร้อนของซีกโลกเหนือในกลางเดือนมิถุนายนและตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกในหกเดือนต่อมา
บริเวณสามเหลี่ยมฤดูร้อนนี้มีทั้งกระจุกดาว เนบิวลาชนิดต่างๆ ดาวฤกษ์หลากสีสวยงาม เราสามารถสังเกตได้จากกล้องสองตา กล้องโทรทัศน์ขนาดเล็กหรือถ่ายภาพด้วยกล้อง DSLR/Mirrorless ได้ไม่ยากครับ
ขนาดของดาวอัลฟาหรือดาวเอกในกลถ่มดาวฤดูร้อนเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา
ดวงดาวทั้งสามนั้นไม่ได้อยู่ในระนาบเดียวกันนะครับ อย่างดาวเวกานั้นอยู่ห่างจากเรา 25 ปีแสง ดาวอัลแตร์ 17 ปีแสง และดาวเดเนบที่อยู่ห่างออกไปถึง 2,500 ปีแสง ทั้งสามดวงมีความสว่างปรากฏที่ 0.03, 0.76 และ 1.25* เมื่อสังเกตด้วยตาเปล่ารู้สึกสว่างไม่ต่างกันนัก ด้วยระยะทางที่ไกลกว่าเกือบร้อยเท่าของเดเนบ แสดงให้เห็นว่าขนาดและพลังงานของเดเนบนั้นมหาศาลมากๆ มากกว่าเวกานับหมื่นเท่าและมากกว่าดวงอาทิตย์ของเราเกือบสองแสนเท่าเลยทีเดียวครับ
ความสว่างปรากฏแสดงในหน่วย Magnitude
(*อันดับความสว่าง Magnutude :
เลขมากสว่างน้อย เลขน้อยสว่างมาก
มนุษย์ทั่วไปสามารถมองเห็นได้ประมาณ Mag 6
ขณะที่ดวงจันทร์เต็มดวงมี Mag -12.74
และดวงอาทิตย์มี Mag -26.74)
ความสว่างปรากฏจะเป็นไปตามสูตร Mag(apr)=(2.5)^n
ที่มาของชื่อสามเหลี่ยมฤดูร้อนก็เพราะคนโบราณในซีกโลกเหนือใช้บอกฤดูร้อน โดยสามเหลี่ยมฤดูร้อนจะขึ้นจากขอบฟ้าในตอนหัวค่ำเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ และแน่นอนจะตกลับพอดีขอบฟ้าในวันที่เข้าสู่ฤดูหนาวเต็มตัวคือวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งตอนนั้นกลุ่มสามเหลี่ยมฤดูหนาวกำลังขึ้นพ้นขอบฟ้าตะวันออกนั่นเอง
ตำนานดาวเกี่ยวกับดวงดาวนี้ เห็นจะเป็นตำนานรักระหว่างชายเลี้ยงวัว(อัลแตร์)และเจ้าหญิงทอผ้า(เวกา) ที่ความรักไม่สมหวังต้องแยกจากกันโดยมีแม่น้ำสวรรค์(ทางช้างเผือก)ขวางกั้นกลาง ก่อเกิดวันทานาบะตะในประเทศญี่ปุ่นและหลายๆประเทศทั่วโลกครับ
http://read-me-noww.blogspot.com/2012/09/tanabata-story.html?m=1
สำหรับดาวเวกาแล้วนั้นเคยเป็นดาวเหนือของเรามาก่อน Polaris ในกลุ่มดาวหมีเล็กเมื่อราว 12,000 ปีก่อนคริสตกาลและจะกลับมาเป็นดาวเหนือใหม่อีกครั้งประมาณ ค.ศ.13727 เพราะการแกว่งอย่างช้าๆของแกนโลกครับ
Precession หรือการแกว่งของแกนโลก
นอกจากดาวสว่างเรียงเด่นทั้งสามกลุ่มดาวแล้ว วัตถุในห้วงลึกอวกาศในบริเวณนี้ก็โดดเด่น งดงามชวนให้ถ่ายภาพและชวนให้ศึกษาอย่างยิ่ง เช่น North America nebula, Veil nebula, Dumbbell nebula, Crescent nebula etc.
วัตถุท้องฟ้าประเภทเนบิวลาบริเวณกลุ่มดาวฤดูร้อน
ผลการศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ ทำให้เราเข้าใจที่มา การก่อกำเนิด การดำเนินไปและจุดหมายปลายทางของดวงดาวและชีวิตของเราเองมากขึ้น ทั้งในแง่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการดำรงอยู่ของมวลมนุษยชาติอีกด้วย
เนบิวลาผ้าคลุมไหล่ Veil nebula, เนบิวลาอเมริกาเหนือและเนบิวลานกกระทุง North America-Pilligan nebula, ดัมเบลล์เนบิวลา Dumbbell nebula และเนบิวลาจันทร์เสี้ยว Crescent nebula
พบกันใหม่ในคราวต่อไปนะครับ
ขอขอบคุณสำหรับการติดตาม ทักทายพูดคุย ติชม สอบถามได้เต็มที่ครับ
โฆษณา