25 ต.ค. 2021 เวลา 02:57 • สุขภาพ
👁️👁️รู้งี้..แต่ละวันจะเดินให้มากขึ้น ก่อนที่จะใช้ขาตัวเองเดินไม่ได้
🏃ชดเชยแคลเซียมด้วยการเดิน จะได้ ปย.มากกว่าการกินแคลเซี่ยม
🏃กระดูกจะพรุนหรือไม่พรุน อยู่ที่การเดิน มากกว่าการกินแคลเซี่ยม และต้องเดินเยอะๆ ตั้งแต่เด็กๆ จะสะสมความแข็งแรงของกระดูกเหมือนคนญี่ปุ่น
🏃นายแพทย์โยะชิโนะริ นะงุโมะ ผู้อำนวยการใหญ่ของโรงพยาบาล 4 แห่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้เขียนหนังสือซึ่งเป็นผลงานระดับ Best sellerในญี่ปุ่นมาหลายเล่ม
🏃และหนึ่งในนั้น มีบทหนึ่งที่ชื่อว่า “มาชดเชยแคลเซียมด้วยการเดินกันเถอะ” ซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัย อยากขอหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังดังต่อไปนี้
🏃คุณหมอแนะนำว่า "ถ้าอยากทำให้กระดูกแข็งแรง ต้องเดินให้มากเป็นสองเท่าของคนทั่วไป เพราะแรงโน้มถ่วง จะทำให้กระดูกเพิ่มปริมาณแคลเซียมในกระดูกได้ตามธรรมชาติ"
🏃ถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมจึงมีการพูดกันโดยทั่วไปว่า แคลเซียมจะลดน้อยลงตามอายุล่ะ?? คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า
🏃แต่เดิม กระดูกเป็นเหมือนธนาคาร ซึ่งเก็บสะสมแคลเซียมเอาไว้ เมื่อแคลเซียมในเลือดลดลง ก็จะนำแคลเซียมจากกระดูกมาใช้แทน และเมื่อผู้สูงวัยมีการเดินที่ไม่เพียงพอ กระดูกก็จะค่อยๆเปราะบางลง
🏃ถึงแม้จะกินแคลเซียมมากเพียงใด ก็ไม่มีผลช่วยอะไรมากนัก เพราะปัจจัยหลักที่สำคัญ คือ "ปริมาณการออกกำลังกาย" ที่ผู้สูงวัยมีลดน้อยลง ซึ่งบางรายในแต่ละวัน แทบไม่ได้มีการขยับตัวเลยนั่นเอง
🏃นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปริมาณฮอร์โมนที่ลดลงอีกด้วย เพราะเดิมทีฮอร์โมนเพศ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนเพศหญิง หรือฮอร์โมนเพศชาย ต่างก็มี “ฤทธิ์เสริมสร้าง” ทำให้กระดูกแข็งแรงและกล้ามเนื้อบึกบึน
🏃สำหรับผู้ชายนั้น ถึงแม้จะใกล้วัย 80 ปี แต่ปริมาณฮอร์โมนเพศชายที่ผลิตออกมา ก็ไม่น้อยไปกว่าช่วงวัยรุ่น ในขณะที่ฮอร์โมนเพศหญิง จะเริ่มลดลงตั้งแต่อายุประมาณ 25 ปี และจะหยุดผลิตเมื่อหมดประจำเดือนตอนอายุประมาณ 50 ปี
🏃แน่นอนว่า...หากไม่มีฮอร์โมนเพศ ก็จะไม่สามารถหล่อเลี้ยงร่างกายได้ ธรรมชาติจึงจำเป็นต้องผลิตฮอร์โมนทดแทนขึ้นมา ชื่อว่า “แอนโดรเจน (Androgen)” ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ที่หลั่งออกมาจากต่อมหมวกไตเพื่อชดเชยฮอร์โมนเพศหญิงในส่วนที่ขาด แต่แอนโดรเจนก็ไม่ได้มีปริมาณมากเพียงพอ กระดูกจึงไม่สามารถรักษาแคลเซียมเอาไว้ได้
🏃นอกจากนั้น พวกเราผู้สูงวัย ยังมีแนวโน้มที่จะเดินน้อยลงเรื่อยๆ
ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น จึงยิ่งทำให้ขาดแคลเซียมมากขึ้นไปอีก ส่งผลทำให้มีอาการปวดหัวเข่า และ ปวดสะโพก พอปวดแล้วก็จะยิ่งเดินน้อยลงไปอีก จนถึงขั้นต้องนั่งรถเข็น ซึ่งจะยิ่งเข้าสู่วงจรแย่ๆ ที่ทำให้เพื่อนๆยิ่งมีกระดูกอ่อนแอลงไปจนเกินแก้ไขเดินด้วยขาตนเองไม่ได้
🏃ในทางกลับกัน ต่อให้เป็นวัยหนุ่มสาว หากนั่งทำงานอยู่แต่หน้าคอมพิวเตอร์ วันๆแทบไม่มีการขยับตัว แล้วจู่ๆวันหนึ่งก็ลุกขึ้นมาใช้ขาอย่างหักโหมในการไปท่องเที่ยวทันที ก็จะมีอาการปวดข้อปวดเข่า เพราะร่างกายไม่เคยชิน ดังนั้น เราจึงควรฝึกนิสัยรักการเดินให้เป็นกิจวัตรอย่างสม่ำเสมอ
🏃คุณหมอโยะชิโนะริ นะงุโมะ มีอายุถึง 60 ปีแล้ว แต่อายุกระดูกที่ตรวจวัดได้ ยังมีอายุเพียงแค่ 28 ปี ซึ่งอ่อนกว่าอายุจริงกว่า 30 ปี นั่นเป็นเพราะคุณหมอรักการเดินเป็นชีวิตจิตใจมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณหมอบอกว่า การเดินน้อยในวัยเด็กที่สะสมมา จะมีผลอย่างยิ่งต่อระดับความรุนแรงของโรคกระดูกพรุน เมื่ออายุมากขึ้น
🏃ดังนั้น พ่อแม่ที่โอ๋ลูกมาก ไม่ยอมให้ลูกได้เดินไกล เพราะกลัวลูกเหนื่อย หรือกลัวลูกลำบาก ควรจะรีบเปลี่ยนความคิดใหม่ อย่าได้ทำร้ายสุขภาพของลูกในระยะยาว ที่จะเดินด้วยขาตัวเองไม่ได้ เมื่อมีอายุที่มากขึ้น เเละคุณหมอบอกว่า
🏃" พ่อแม่ชาวญี่ปุ่น จะฝึกให้ลูกเดินเยอะๆ ถ้าบ้านและโรงเรียนไม่ไกลจากกันมากนัก ก็จะใช้วิธีเดินไปกลับ แทนการนั่งรถไฟฟ้า หรือ ถ้าขึ้นรถไฟฟ้า ก็จะพยายามให้เด็กๆได้ยืน เพื่อฝึกกำลังขาและสะโพก เพราะการฝึกขาและสะโพกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็ก จะเป็นตัวกำหนหหดความแข็งแรงของกระดูกไปตลอดชีวิต"
📍📍📍📍❗❗❗❗❗❗
โฆษณา