25 ต.ค. 2021 เวลา 13:29 • สุขภาพ
CATALIN VS KARY UNI
😳มีคน​โพสท์​ไปถามสมาคมจักษุแพทย์​ที่อเมริกาเมื่อปี2014 ว่า​ ยาหยอดตาคาตาลินมันป้องกันต้อกระจกได้จริงเรอะ​ ซึ่งในยุคนั้นก็บอกไปว่า​มันคือ​ fake news อย่าไปเชื่อ​ มันเป็นยาผีบอก​(1)
📌ผ่านมาจนเข้าสู่ปี2021​ มีงานวิจัยของรัสเซีย​ บอกว่า​ตัวยาไพรีน็อกซีน​ มีผลป้องกันและลดการเกิดต้อกระจก​ มีฤทธิ์​ต้านการอักเสบโดยการยับยั้งการรวมตัวกันของสารควีนอยด์และซัลฟ์ไฮดรินกับโปรตีนที่เลนส์ตา ที่ทำให้เลนส์ตาขุ่น​จนเกิดต้อกระจกในที่สุด​ (2,3,4)
🇯🇵🇹🇭ในเมืองไทย​ ยาไพรีน็อกซีน​ มีจำหน่ายอยู่2ยี่ห้อ​ คือ คาตาลิน​ กับคารี่ยูนิ ซึ่งเป็นของญี่ปุ่นทั้งคู่​ แถมมีความเข้มข้นของยาเหมือนกัน​ คือ​ 5 มิลลิกรัม​/100มิลลิลิตร​ แต่นำเสนอในรูปแบบต่างกัน​ โดยคาตาลินจะเป็นเม็ดยาที่ให้เอาไปละลายในน้ำยาหยอดตาก่อนใช้ ส่วนคารี่ยูนิเป็นยาน้ำแขวนตะกอนพร้อมใช้​ ใครสะดวกยี่ห้อไหนไม่ว่ากัน
📌ยานึ้มีข้อควรระวัง​คืออาจทำให้มองเห็นไม่ชัดหลังหยอดตา ให้ระวังการขับรถ​
ส่วนหญิงมีครรภ์​และหญิงให้นมบุตรไม่มีข้อห้ามในการใช้(5)
💢ยาหยอดตาโดยทั่วไปหลังจากเปิดขวดแล้วมีอายุการใช้งาน1เดือน
เก็บรักษาในที่เย็น​ ไม่โดนแดด​
ส่วนยาแคตาลินหลังจากที่ละลายเม็ดยาแล้ว​ เอกสารกำกับยากำหนดให้เก็บยาในตู้เย็น และใช้ภายใน1เดือนหลังจากที่ละลายเม็ดยา
🌼Pirenoxine, i.e. 1-hydroxy-5-oxo-5H-pyrido-[3,2-a]-phenoxazine-3-carboxylic acid (also referred to as pirfenoxone) or a pharmaceutically acceptable salt thereof, a known anti-cataract agent, is used as an active ingredient for the topical treatment of inflammatory conditions. More specifically, pirenoxine is used for the topical treatment of ophthalmic inflammatory conditions such as corneal and conjunctival inflammations, uveitis, ocular oedema.
Pirenoxine is an anti-cataract agent which is used in many asian countries under the name Catalin. the drug may play an important role in cataract prevention. It is supposed that the anti-cataract effect of pirenoxine results from inhibition of sulfhydryl combination of quinoid substances with lens proteins and the inhibition leads to the maintenance of lens transparency.
Quinoid theory suggests that quinones, which are produced because of impaired metabolism of aromatic amino acids (tryptophan, tyrosine etc.) are important for cataractogenesis. Lens opacity occurs when its water-soluble proteins denature and transform into dense compounds under the influence of quinones. Many studies clearly demonstrate that Catalin (pirenoxine) eye drops provide anti-cataract effect on all layers of the lens, in particular, cortex and posterior capsule. High therapeutic efficacy and long-term safety allow for recommending Catalin to slow the progression of cataract, in particular, early cataracts in patients under 59 years of age. Further studies are needed to assess the effects of pirenoxine in various cataracts and risk of cataracts.
Pirenoxine Sodium Eye Drops are the most commonly used eye drops for the treatment of preliminary stage senile cataracts, mild diabetic cataracts, or congenital cataracts.
Common side effects include, but may not be limited to keratitis superficialis diffusa, conjunctival hyperaemia, and conjunctivitis, eye irritation, itching of eye, blurred vision, eye discharge, lacrimation, eye pain, abnormal sensation in eye, and foreign body sensation in eyes. Seek medical attention if the following develop: eye irritation, itching of the eye.
Driving or operating machinery should be avoided, as it does may cause ailment.
Use of Pirenoxine Sodium Eye Drops during pregnancy or breast feeding is considered safe.
ยาสัตว์.. ยาคน..
ยาคนบางทีก็เอาไปใช้กับสัตว์
ส่วนยาสัตว์ถ้าจนแต้มจริงๆก็ยังมีคนเอาไปกิน
.
ยาสัตว์.. สำหรับสัตว์​... พรบ.ยากำหนดให้ขายได้ในร้านยาแผนปัจจุบัน​และร้านยาสัตว์
ซึ่งต้องมีการควบคุมโดยเภสัชกร​ สัตวแพทย์​ ทันตแพทย์​ พยาบาล​ หรือ​ แพทย์
.
ส่วนยาคน​ ที่เอาไปใช้กับสัตว์​... ก็ยังต้องดำเนินการไปตามยาคนที่ปฏิบัติ​กันโดยทั่วไป
.
โดยยาคนที่กฎหมายกำหนดให้เป็นยาอันตราย​ ย่อมขายได้ในร้านยาที่มีเภสัชกรควบคุม​ (กฎหมายเรียกร้านยา​ ขย.1)
ยาคนที่เป็นยาบรรจุเสร็จ​ก็สามารถขายได้ในร้านยาทั่วไป​ที่มีหรือไม่มีเภสัชกร​
(กฎหมายเรียก​ ขย.1 และ​ ขย.2)
ส่วนยาคนที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน​ ขายที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านชำ​ แผงลอย​ ตลาดนัด
ยาสัตว์​ หรือ​ ยาคนที่เอาไปใช้กับสัตว์​ คาดว่าถ้าอย.ให้ความสำคัญ​ ก็คงจะมีการสังคายนากันในอนาคตอันไม่ไกล​ ไม่ใช่ปล่อยให้ขายกันเกร่อ​ Online​ แบบใครใคร่ค้าช้างค้าอย่างในปัจจุบั​น
(หมายเหตุ​ ในพรบ.ยา​ มีคำว่าเภสัชกร​ชั้นสอง​ ซึ่งในยุค​นี้คืออะไรก็ไม่รู้​เหมือนกัน)​
ที่มา
พระราชบัญญัติยา (พรบ.ยา)
- พระราชญัญญัติยา พ.ศ. 2510 (ฉบับปรับปรุงล่าสุด) จากเว็ปไซต์สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน
สัตว์เลี้ยงกับยา
อาจารย์ ดร.สพ.ญ. นรรฆวี แสงกลับ
ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
POSTED 2021.10.25
โฆษณา