26 ต.ค. 2021 เวลา 15:00 • สุขภาพ
risdiplam (ชื่อทางการค้า: Evrysdi) เป็นยารับประทานชนิดแรกที่ได้รับการอนุมัติในเดือนมิถุนายน และวางจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2021 เป็นยารักษาชนิดที่ 3 สำหรับรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (spinal muscular atrophy; SMA) ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทที่รักษายาก
ในงานแถลงข่าว (เจ้าภาพ: Chugai Pharmaceutical Co., Ltd.) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโตเกียววันที่ 27 กันยายน Kayoko Saito, specially appointed professor, Gene Therapy Center, Institute of Medical Genetics, Tokyo Women's Medical University ได้แสดงความยินดีกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า “การปรากฏของยารักษาโรคทำให้เริ่มมองเห็นหนทางรักษา SMA” ในขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นว่าอาการระยะเริ่มต้นของ SMA สังเกตยาก ส่งผลให้การวินิจฉัยล่าช้า อีกทั้งในงานแถลงข่าวยังมีการอธิบายเกี่ยวกับสถานการณ์ของการตรวจรักษา SMA หลังจากการปรากฏตัวของยาชนิดรับประทานดังกล่าวที่สามารถใช้ได้โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงอายุที่เริ่มมีอาการหรือเป็นโรคกระดูกสันหลังคดร่วมในการใช้ยา
เซลล์ประสาทสั่งการที่จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายไป
SMA เป็นโรคประสาทและกล้ามเนื้อทางพันธุกรรมที่ทำให้กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง ผู้ป่วย SMA จะมีการขาดหายหรือเปลี่ยนแปลงของ survival motor neuron หรือ SMN 1 ซึ่งการเข้ารหัสโปรตีน SMN จำเป็นต่อการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ โปรตีนส่วนใหญ่ที่สร้างโดย SMN2 ซึ่งคล้ายกับ SMN1 ไม่สมบูรณ์ จึงส่งผลให้เซลล์ประสาทสั่งการของผู้ป่วย SMA เสื่อมและสลายไป จากผลลัพธ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการนั่งไม่ได้หากไม่ช่วยพยุง เดินไม่เสถียรและล้มง่าย เคลื่อนไหวลำบากเนื่องจากแขนขาไม่มีแรง ลิ้นและปลายนิ้วสั่นเล็กน้อย
risdiplam เป็น SMN2 splicing modifier ที่ดัดแปลง SMN2 splicing และสนับสนุนการผลิตโปรตีน SMN ให้ใช้งานได้
|------------------------------------------|
📌เกาะติดข่าวสาร และข้อมูล เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ได้ง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลด! https://bit.ly/3AdzTeY 📲
The all in 1 application for Healthcare professionals.
📰 Medical News, Journals & research summary
👨🏽‍🎓 CPE/CME/CMTE/CPD
🎥 Medical Talk VDO
📲 Download for free now!
💛ทุกดาวน์โหลดคือกำลังใจในการทำงาน ขอบคุณค่ะ💛
|------------------------------------------|
กลุ่มตัวอย่างการให้ยาคือ ผู้ป่วย SMA type I - III จากบรรดา Type 0 - IV (รูปที่ 1) ซึ่งจำแนกตามอายุที่เริ่มมีอาการและระดับการทำงานของเซลล์ประสาทสั่งการ
Type I เด็กอายุ 0 ถึง 6 เดือนหลังคลอดเริ่มมีอาการ เช่น นั่งไม่ได้หากไม่ช่วยพยุง และไม่ยกศีรษะ เป็นชนิดรุนแรงที่จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
Type II เริ่มมีอาการในเด็กอายุต่ำกว่า 18 เดือน แม้จะนั่งได้โดยไม่ต้องช่วยพยุง แต่เดินยากถ้าไม่ช่วยพยุงและต้องใช้ชีวิตโดยการนั่งวีลแชร์
Type III เริ่มมีอาการในเด็กอายุ 18 เดือนขึ้นไป มีเคสที่เดินได้โดยไม่ต้องช่วยพยุง แต่ขึ้นบันไดไม่ได้
Type I และการศึกษา FIREFISH: 29.3% นั่งโดยไม่ต้องช่วยพยุงเป็นเวลา 5 วินาที
การอนุมัติ risdiplam ดำเนินการโดยอิงจากการศึกษา FIREFISH, phase II / III ในผู้ป่วย SMA Type I และการศึกษา SUNFISH, phase II / III ในผู้ป่วย SMA Type II / III
การศึกษา FIREFISH เป็นการศึกษาแบบ multicenter, single-group, open-label มีผู้เข้าร่วมการทดสอบ phase III (Part 2) ที่ตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยาที่กำหนดตามอายุของการทดสอบ phase II (Part 1) จำนวน 41 คน [อายุมัธยฐาน 5.3 เดือน (range: 2.2 - 6.9 เดือน), เป็นเพศหญิง 53.7%] หนึ่งในนั้น (2.4%) เป็นคนญี่ปุ่น
primary outcome คือ สัดส่วนของผู้ป่วยที่นั่งได้โดยไม่ต้องช่วยพยุงเป็นเวลา 5 วินาทีใน 12 เดือนหลังให้ risdiplam และประเมินโดยใช้ coarse-scale motion ของ Bayley Scales of Infant and Toddler Development - Third Edition (BSID-III)
จากผลการตรวจสอบพบว่า primary outcome เท่ากับ 29.3% (90% CI 17.8 - 43.1%, P < 0.0001, รูปที่ 2) ซึ่งเกิน success criteria ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตาม natural history (5%) ไปมาก
สัดส่วนของผู้ป่วยที่คะแนนรวมของ motor function scale ใน Children's Hospital of Philadelphia Infant Test of Neuromuscular Disorders (CHOP INTEND) เพิ่มขึ้น 4 คะแนนขึ้นไปจาก baseline หลังการให้ยาของ secondary outcome เท่ากับ 90.2% (90% CI 79.1 - 96.6%, P < 0.0001) ต่อ success criteria ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าตาม natural history 17%
นอกจากนี้ สัดส่วนของผู้ป่วยที่มีความสามารถในการรับประทานทางปากเท่ากับ 82.9% (70.3 - 91.7%) Saito ประเมินว่า “ผู้ป่วย SMA Type I มีหลายเคสที่ให้อาหารแบบ tube feeding หรือใส่สายอาหารทางหน้าท้อง (percutaneous endoscopic gastrostomy; PEG) และผู้ที่รับประทานอาหารทางปากได้เป็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจอย่างมาก”
ในส่วนของความปลอดภัย มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 24 คน (58.5%) แต่ไม่เกี่ยวข้องกับ risdiplam และไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่ต้องหยุดให้ยา
Type II / III และการศึกษา SUNFISH: คะแนน motor function ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษา SUNFISH เป็นการศึกษาแบบ multicenter, randomized, placebo-controlled, double-blind กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย SMA Type II / III 180 คน อายุ 2 - 25 ปี ในจำนวนนี้มีคนญี่ปุ่น 15 คน โดยสุ่มให้ยา risdiplam หรือยาหลอกเป็นเวลา 12 เดือน หลังจากนั้นให้ยา risdiplam แก่ผู้ป่วยทุกราย
อายุมัธยฐานที่เริ่มมีอาการในกลุ่ม risdiplam เท่ากับ 12.3 เดือน (range: 0 - 57 เดือน) และในกลุ่มยาหลอก 12.8 เดือน (6 - 135 เดือน) เวลามัธยฐานตั้งแต่เริ่มมีอาการจนถึงเริ่มให้ยาในการทดสอบเท่ากับ 106.3 เดือน (17 - 275 เดือน) และ 96.6 เดือน (1 - 271 เดือน) ตามลำดับ Saito อธิบายลักษณะเฉพาะของภูมิหลังของผู้ป่วยว่า “รวมผู้ป่วยที่เสียเปรียบในการประเมินการเคลื่อนไหวด้วย เช่น กระดูกสันหลังคดซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของ SMA และ subluxation หรือ dislocation ของสะโพก”
primary outcome คือ จำนวนการเปลี่ยนแปลงในคะแนน motor function จากตอน baseline ที่ประเมินโดย Motor Function Measure (MFM) -32 หลังให้ยา 12 เดือน
จากผลการตรวจสอบพบว่า การเปลี่ยนแปลงของคะแนน MFM-32 ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในกลุ่มยาหลอกเท่ากับ -0.19 (range: -1.22 ถึง 0.84) ในขณะที่กลุ่ม risdiplam เท่ากับ 1.36 (0.61 ถึง 2.11) (ค่าโดยประมาณของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 1.55, 95% CI 0.30 - 2.81, P = 0.0156, รูปที่ 3)
นอกจากนี้ จำนวนการเปลี่ยนแปลงในคะแนนหลังให้ยา 12 เดือนที่ประเมินโดย Revised Upper Limb Module (RULM) ซึ่งเป็น upper limb movement evaluation scale ของผู้ป่วย SMA และเป็นหนึ่งใน secondary outcomeในกลุ่มยาหลอกเท่ากับ 0.02 (range: -0.83 ถึง 0.87) และกลุ่ม risdiplam เท่ากับ 1.61 (1.00 ถึง 2.22) แสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (ค่าโดยประมาณของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม 1.59, 95% CI 0.55 - 2.62, adjusted P = 0.0469) Saito กล่าวเกี่ยวกับจุดนี้ว่า “risdiplam มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย SMA Type II / III ที่รักษาหรือปรับปรุง upper limb function และชนิดลุกลามที่เดินไม่ได้”
ผลข้างเคียงหลักของ risdiplam ได้แก่ คลื่นไส้ เกิดแผลในช่องปาก ติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และปวดศีรษะ (อย่างละ 1.7 %) ไม่พบผลข้างเคียงร้ายแรงหรือผลข้างเคียงที่นำไปสู่การหยุดให้ยา
เพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรค เพราะแม้ว่าจะมียารักษาแต่ยังคงจำเป็นต้องใช้เวลาในการ definitive diagnosis
จากผลทดลองทางคลินิกข้างต้น Saito กล่าวถึงความก้าวหน้าของการรักษา SMA ว่า “การรักษาด้วยยาชนิดรับประทานทำได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงอายุที่เริ่มมีอาการ หรือการเป็นโรคกระดูกสันหลังคด”
นอกจากนี้ SMA ยังเป็นที่รู้จักมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีทางเลือกในการรักษาเพิ่มขึ้นรวมถึง risdiplam อย่างไรก็ตามโรค SMA สังเกตอาการระยะเริ่มต้นได้ยาก และมีบางกรณีที่จำเป็นต้องติดตามผล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องแยกความแตกต่างของ SMA กับโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น myopathy และ muscular dystrophy
Saito ยังกล่าวว่า “ความเป็นจริงจะต้องใช้เวลาในการ definitive diagnosis โรค SMA แม้จะมียารักษา แต่ก็มีหลายเคสที่เริ่มให้ยาไม่ได้ในทันที ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคต่อไป”
ดูข่าวเเละบทความทางการเเพทย์ทั้งหมดที่เรามี ฟรี! ได้ที่ >> https://bit.ly/3AdzTeY <<📲
โฆษณา