27 ต.ค. 2021 เวลา 11:20
18 สูตรเด็ด “โน้มน้าวใจ” สะกดคนคิดต่างในที่ทำงานหรือชีวิตประจำวันได้ในไม่กี่นาที
7
ในสังคมที่มีคนคิดเห็นต่างกันอย่างสุดขั้วทั้งในเรื่องศาสนา การเมือง วัฒนธรรม หรือแม้กระท้่งทีมกีฬา คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะโน้มน้าวใจฝ่ายตรงข้ามให้เชื่อตามเราได้ อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ
2
Brand Inside ขอพาทุกท่านมาเรียนรู้เทคนิคโน้มน้าวใจที่ใช้ได้ทั้งในแวดวงธุรกิจและชีวิตประจำวัน !
18 วิธีโน้มน้าวใจคนคิดต่าง
เมื่อต้องโน้มน้าวใจคน 3 ประเภท
2
1. คนที่ “คิดต่าง” อย่างสุดขั้ว
คุณสามารถเริ่มต้นบทสนทนากับคนที่คิดต่างจากคุณได้ด้วย “มุกตลก” หรือ “สิ่งที่คุณมีร่วมกัน” เช่น ถ้าคุณชอบเรื่องรถ และอีกฝ่ายก็ชอบเรื่องรถ คุณก็อาจจะเปิดการสนทนาด้วยประเด็นนี้เพื่อให้อีกฝ่ายรู้สึกเปิดใจกับคุณมากขึ้น
4
เมื่อจะเกริ่นเข้าประเด็นหลักของการสนทนา ให้คุณเริ่มพูดจากสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่าย “มีความคิดเห็นตรงกัน” ก่อน สิ่งสำคัญที่ควรระวัง คือไม่ควรพูดว่าความคิดของอีกฝ่ายผิด หรือคุณมาเพื่อเปลี่ยนความคิดของอีกฝ่าย เพราะแน่นอนว่าฝ่ายตรงข้ามจะรู้สึกต่อต้านทันที
5
จากนั้นให้คุณลองอธิบายว่า ความคิดของฝ่ายคุณมี “ข้อเสีย” อะไร พร้อมชื่นชม “ข้อดี” บางอย่างของความคิดฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้อีกฝ่ายมองว่าคุณไม่เข้าข้างตัวเองจนเกินไป
1
เมื่ออีกฝ่ายเปิดใจให้คุณแล้ว ขอให้คุณพูดเข้าประเด็นโดยหาหลักฐานที่คิดว่าอีกฝ่าย “ไม่สามารถเถียงได้” มาเป็นสิ่งสนับสนุนความคิดของคุณ
1
2. คนที่มี “อำนาจ” มากกว่าคุณ
เมื่อคุณต้องนำเสนอไอเดียให้แก่หัวหน้าหรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ให้คุณลองใช้วิธีการนำเสนอ “สิ่งที่คุณรู้เป็นอย่างดี” แต่พวกเขา “ไม่เคยรู้มาก่อนหรือไม่คุ้นเคย” เพื่อทำให้พวกเขามีความมั่นใจในเรื่องนั้นๆ ลดลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของการสนทนา คุณควรพูดในสิ่งที่ทำให้พวกเขากลับมามั่นใจตัวเองอีกครั้ง เพื่อให้พวกเขารู้สึกมั่นใจที่จะตัดสินใจตามสิ่งที่คุณนำเสนอไปก่อนหน้า
6
3. คนที่คุณ “ไม่เคยรู้จัก” มาก่อน
2
เมื่อต้องโน้มน้าวคนที่คุณไม่เคยรู้จักมาก่อน คุณควรเสนอว่า ถ้าอีกฝ่ายทำตามสิ่งที่คุณร้องขออีกฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์อะไรบ้าง ในทางกลับกัน สิ่งที่ห้ามทำ คือคุณไม่ควรพูดถึงแต่ผลประโยชน์ที่ตัวคุณเองจะได้รับ เพราะยิ่งอีกฝ่ายเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงหรือเป็นนักธุรกิจที่ไม่ค่อยมีเวลา เขาก็ยิ่งไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาตอบรับคำขอของคุณ
1
ภาพจาก shutterstock
ใช้เหตุผล VS ใช้อารมณ์
1
4.วิเคราะห์ก่อนว่าควรใช้ “เหตุผล” หรือ “อารมณ์” เข้าสู้
ถ้าอีกฝ่ายเน้นการใช้ “เหตุผล” เป็นหลักก็ให้คุณใช้เหตุผลเวลาพูดคุยด้วย ในทางกลับกันถ้าอีกฝ่ายตัดสินใจโดยใช้ “อารมณ์” ก็ให้คุณโน้มน้าวโดยให้ข้อมูลที่จะกระตุ้นอารมณ์และความรู้สึกของอีกฝ่ายแทน
5
ยกตัวอย่างเช่น คุณต้องการโน้มน้าวอีกฝ่ายเรื่องการเปลี่ยนซัพพลายเออร์ที่ทำงานร่วมกันมาถึง 10 ปี ถ้าอีกฝ่ายตัดสินใจด้วยเหตุผลให้คุณลองแนะนำว่า “ถ้าเปลี่ยนซัพพลายเออร์จะช่วยลดเวลาการผลิตได้ถึง 10%”
4
ในทางกลับกันถ้าอีกฝ่ายตัดสินใจโดยใช้อารมณ์ คุณก็อาจจะพูดว่า คุณจะหาซัพพลายเออร์เจ้าใหม่ที่ทำให้อีกฝ่ายรู้สึก “เชื่อใจ” และคุณจะช่วยให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด เป็นต้น
5
ไม้เด็ด “ยื่นข้อเสนอ” ให้อีกฝ่ายยอมทำตาม
1
5. ทำให้อีกฝ่ายยอมรับใน “เรื่องเล็กน้อย” ก่อน ค่อยเสนอขอในเรื่องที่ “ใหญ่” กว่า
เมื่ออีกฝ่ายตอบรับข้อเสนอ “เล็กน้อย” จากฝ่ายคุณแล้ว อีกฝ่ายจะปฏิเสธ “ข้อเสนอใหญ่” ที่จะตามมาได้ยากขึ้น เช่น ถ้าคุณขอให้อีกฝ่ายตอบแบบสอบถามเรื่องภาวะโลกร้อนสัก 2-3 ข้อแล้วค่อยขอให้บริจาคเงิน อีกฝ่ายก็จะพร้อมบริจาคเงินมากกว่าการที่เราโพล่งเข้าไปขอรับบริจาคตรงๆ
2
6. ยื่นข้อเสนอแรกให้อีกฝ่าย “ปฏิเสธ” ก่อน ค่อยขอในเรื่องที่ “เล็ก” กว่า
ให้คุณลองขอในสิ่งที่อีกฝ่ายจะ “ปฏิเสธ” ก่อน แล้วค่อยต่อด้วยการ “ขอในสิ่งที่คุณต้องการ” จริงๆ เพราะอีกฝ่ายจะรู้สึกผิดถ้าต้องปฏิเสธคุณหลายๆ ครั้ง เช่น หากคุณอยากขายสินค้าในราคา 10,000 บาท คุณอาจจะเสนอราคา 20,000 บาทให้ลูกค้าปฏิเสธก่อนในครั้งแรก จากนั้นจึงค่อยลดราคาลงมาที่ 10,000 บาท เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น
1
ภาพจาก shutterstock
แค่เปลี่ยน “วิธีพูด” ก็ชนะแล้ว
1
7.ใช้กลยุทธ์ “คุณอาจจะปฏิเสธ…แต่ว่า…”
1
ยกตัวอย่างเช่น คุณอยากขอให้คนที่เดินผ่านไปมาตามท้องถนนหยุดบริจาคเงินให้กับองค์กรการกุศลที่ช่วยเรื่องเด็กด้อยโอกาส แทนที่คุณจะเดินเข้าไปขอรับบริจาคตรงๆ คุณก็สามารถใช้วิธีพูดว่า “คุณอาจจะปฏิเสธก็ได้ แต่ว่า..คุณอยากช่วยบริจาคเงินให้เด็กด้อยโอกาสไหม” แน่นอนว่าผู้ฟังมีโอกาสบริจาคเงินมากขึ้น เพราะพวกเขาไม่อยากถูกมองว่าใจแคบ และ ไม่อยากถูกเดาทางได้ ว่าจะไม่บริจาคเงินเหมือนที่คุณพูดดักไว้ในตอนแรก
1
8. ลองใช้คำถามว่า คุณ “เต็มใจ” ที่จะทำไหม แทนคุณ “อยาก” ทำไหม
ยกตัวอย่างสถานการณ์ เช่น คุณต้องการให้คนทั้ง 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยกัน แทนที่คุณจะตั้งคำถามว่าทั้ง 2 ฝ่าย “อยาก” ไกล่เกลี่ยกันไหม คุณอาจจะลองตั้งคำถามว่า พวกเขา “เต็มใจ” ที่จะไกล่เกลี่ยกันไหมแทน
9. ใช้คำว่า “พวกเรา” แทนคำว่า “คุณ”
แทนที่จะบอกว่า “คุณ” ควรทำอย่างนี้ด้วยเหตุผลต่างๆ ควรเปลี่ยนมาใช้คำว่า “พวกเรา” ควรทำอย่างนี้ด้วยเหตุผลต่างๆ แทน เพราะจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกเป็นพวกเดียวกับเรามากขึ้น
1
10. ขอให้อีกฝ่ายลองมองใน “มุมของเรา”
2
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเป็นพนักงานขายแล้วลูกค้าเข้ามาต่อราคากับคุณไม่หยุดหย่อน คุณก็อาจจะต้องใช้คำพูดที่ว่า ขอความกรุณาให้ลูกค้า “มองในมุมของพนักงานขาย” ดูบ้าง ว่าถ้าต้องลดราคาให้ลูกค้าแล้วถูกนายจ้างตำหนิบ่อยๆ จะส่งผลเสียอย่างไร เป็นต้น
1
11. ยืมคำพูดของ “คนที่ฝ่ายตรงข้ามนับถือ”
1
ถ้าคุณใช้วิธีอ้างอิงถึง “บุคคลที่ 3 ที่อีกฝ่ายนับถือ” อีกฝ่ายจะรู้สึกเชื่อในสิ่งที่คุณโน้มน้าวมากขึ้น เช่น ถ้าคุณจะประชุมเรื่องการปรับโครงสร้างฝ่ายทรัพยากรบุคคลแล้วคุณพูดเกริ่นก่อนว่า ประธานบริษัท เองก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ก็มีแนวโน้มว่าคนส่วนใหญ่ในห้องประชุมจะคล้อยตามไปด้วย เป็นต้น
2
12. ใช้ประโยค “คำถาม” แทนประโยค “บอกเล่า”
2
การเน้นย้ำสิ่งที่อยากบอกด้วยประโยคคำถามจะส่งผลต่อความรู้สึกของอีกฝ่ายได้ดีกว่าประโยคบอกเล่าธรรมดา เช่น ถ้าคุณเป็นครูแล้วนักเรียนมักจะบ่นเรื่องข้อสอบ คุณก็อาจจะอธิบายกลับไปว่า “ครูออกข้อสอบยากเพื่อให้นักเรียนเก่งขึ้นไม่ใช่เหรอ” ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการพูดไปตรงๆ ว่า เพราะครูอยากเห็นนักเรียนเก่งขึ้น เป็นต้น
2
13. “ชม” อีกฝ่ายก่อนแล้วค่อยขอความช่วยเหลือ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากขอให้ภรรยาทำกับข้าวให้ทาน ก่อนคุณจะบอกว่าอยากทานอะไร คุณอาจจะลองชมภรรยาก่อนว่า เธอมีความสามารถในการทำอาหารอย่างยอดเยี่ยม เพราะจะทำให้เธอรู้สึกอยากลุกมาทำอาหารให้คุณทานมากขึ้น หรือหากคุณอยากขอยืมเงินจากเพื่อน ก่อนยืมคุณก็สามารถชมเพื่อนว่า เขาหรือเธอเป็นคนที่มีน้ำใจมาก พวกเขาก็จะเต็มใจให้คุณยืมเงินมากขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะลึกๆ แล้วพวกเขาก็อยากเป็นคนที่ทำอาหารอร่อย และเป็นคนมีน้ำใจอย่างที่คุณชมจริงๆ
2
14. เล่า “เรื่องราว” ให้น่าสนใจดีกว่าใช้แค่ข้อมูลตัวเลข
1
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากรวบรวมเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือคนในประเทศแอฟริกาที่ประสบปัญหาความขาดแคลนและการไร้บ้าน แทนที่คุณจะใช้วิธีธรรมดาๆ อย่างการนำ กราฟและสถิติ ต่างๆ มานำเสนอให้คนฟัง คุณอาจจะลอง เล่าเรื่องราวชีวิตของของเด็กสาวคนหนึ่ง ที่ขาดแคลนอาหาร พร้อมกับเปิดรูปภาพของเธอประกอบ เพื่อช่วยกระตุ้นความรู้สึกของคนฟังให้อยากบริจาคเงินช่วยเหลือได้มากกว่า
2
ภาพจาก shutterstock
จังหวะการพูด & ภาษากายก็สำคัญ
1
15. พูดด้วยจังหวะที่ “เร็ว” กว่าได้เปรียบกว่า
คนส่วนใหญ่จะถูกโน้มน้าวใจได้ง่ายกว่าถ้าอีกฝ่ายพูดด้วยจังหวะที่เร็ว เพราะ ยิ่งคุณพูดเร็วเท่าไหร่ อีกฝ่ายก็ยิ่งมีเวลาประมวลผลน้อยลงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณควรพูดด้วย ความเร็วที่สม่ำเสมอแต่ไม่เร็วเกินไป จนอีกฝ่ายฟังไม่ทัน ถ้าคุณทำได้ตามนี้อีกฝ่ายจะรู้สึกว่าคุณมีความมั่นใจ ฉลาด มีความรู้ และมีโอกาสเชื่อสิ่งที่คุณโน้มน้าวในที่สุด
16. รักษาภาพลักษณ์ด้วย “ภาษากาย” ที่ดี
ระวังเรื่องภาษากาย เพราะถึงแม้ว่าสิ่งที่คุณพูดจะถูกต้อง แต่อีกฝ่ายอาจจะ ตีความคุณผิดจากภาษากาย ก็เป็นได้ ทางที่ดีคือคุณควรใช้ ภาษากายที่เปิดรับอีกฝ่าย เข้าไว้ เช่น ไม่นั่งกอดอก เป็นต้น
1
“ข้อควรระวัง” เมื่อโน้มน้าวใจ
2
17. อย่าลืม “ย้ำสิ่งสำคัญ” ให้อีกฝ่ายจำได้
เมื่อคุณนำเสนองานหรืออยากโน้มน้าวใจใคร ให้คุณพูด ใจความสำคัญของสิ่งที่อยากโน้มน้าวสัก 2-3 ครั้ง โดย “ใช้คำพูดแตกต่างกันไป” คนฟังจะได้ไม่รู้สึกแปลกใจที่ได้ยินประโยคเดิมๆ ในทางกลับกันถ้าคุณพูดย้ำใจความสำคัญบ่อยเกินไปคนฟังจะรู้สึกเบื่อและไม่อยากฟังคุณพูดต่อ
2
18. อย่านำเสนอแต่ “ข้อดี” ให้นำเสนอ “ข้อเสีย” ด้วย
1
โดยปกติเวลาคุณนำเสนองานใดก็ตาม ผู้ฟังมักจะคอยจับผิดสิ่งที่คุณพูด และถ้าคุณไม่ได้ระบุข้อเสียของสิ่งที่คุณนำเสนอไปตรงๆ ผู้ฟังก็อาจจะรู้สึกว่า คุณกำลังปิดบังอะไรบางอย่าง หรือสิ่งที่คุณนำเสนอนั้น ดีเกินกว่าความเป็นจริง ดังนั้น สิ่งที่ควรทำคือซื่อสัตย์และอธิบายข้อดีข้อเสียของสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอไปตรงๆ เพื่อที่ผู้ฟังจะได้รู้สึกว่าคุณเป็นคนที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
3
โฆษณา