Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ไดอารี่คุณแม่
•
ติดตาม
28 ต.ค. 2021 เวลา 02:11 • ครอบครัว & เด็ก
สิ่งที่แม่ WFH ต้องการ : แค่ลูกงอแงกับแม่เป็นพิเศษ คนเป็นแม่ก็เหนื่อยพอแล้ว อย่ากล่าวหาว่าเป็นเพราะแม่ หรือ โทษแม่ว่าทำให้คนอื่นลำบากเลยค่ะ
ในวัยทารก เตาแตะ แม่คือพื้นที่ปลอดภัยกับลูกเสมอ เมื่อลูกรู้สึกไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เขาจะต้องการแม่ คนที่จะช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้น การพบกันของแม่กับลูกในช่วงหลังจากแม่กลับมาจากทำงาน จึงเป็นความสุขสุดๆไปเลย เด็กบางคนอาจจะหวงแหนเวลาที่ได้อยู่กับแม่ จนไม่ยอมให้แม่หายไป อาจจะมีบางวัย ที่เด็กก้าวสู่ช่วง seperation Anxiety คือ กลัวการแยกจาก ก็จะยิ่งติดแม่เป็นพิเศษไปอีก เรียกว่ารักกันคูณสิบ ห้องน้ำก็ต้องตามเข้าด้วย
แต่ในช่วง WFH แบบนี้ คุณแม่เองก็ต้องทำงาน ซึ่งงานมันดันอยู่ที่บ้าน ใจก็อยากเลี้ยงลูก ก็จำเป็นให้คนอื่นเลี้ยงให้ เชื่อว่าบริเวณบ้านของแม่ๆหลายๆคนคงไม่สามารถแยกสัดส่วนไกลสุดลูกหูลูกตา เพื่อไม่ให้ลูกเจอได้ และใจเราเองก็อยากจะดูลูก กลัวเกิดอันตรายต่างๆนาๆ ปัญหาที่ตามมาก็คือ ในวัยที่ลูกติดแม่ เขาก็จะงอแงเมื่อเจอเรา ร้องไห้หนักๆ เกาะแข้งขาไม่ให้เราไปไหน ทำยังไงหละทีนี้ เราจะจัดการได้ยังไง
ไม่เท่านั้น บางเคส เมื่อเราเป็นแม่ ย่อมถูกคาดหวังจากสังคมว่าต้องคือคนที่รับผิดชอบเลี้ยงดูลูก แม่ที่ทำงาน Full time แบบ WFH เลยเกิดความ งง งวย ว่า เราควรนั่งทำงานหรือออกไปเลี้ยงลูกดี บางทียังถูกต่อว่า ว่าไม่มาดูลูก ทั้งๆที่อยู่บ้าน ปล่อยให้คนอื่นเลี้ยง
แม่เหนื่อยมากค่ะ!!! ทั้งร่างกาย ทั้งจิตใจ
วันนี้เลยอยากมาเสนอวิธีการที่อาจจะพอทำได้ เท่าที่คิดออก เพื่อแก้ปัญหาให้แม่ๆที่ต้องทำงานที่บ้านไปพร้อมๆกับเลี้ยงลูกนะคะ
1. สื่อสารทำความเข้าใจกับสมาชิกคนอื่นๆในบ้าน เกี่ยวการทำงาน บอกตารางเวลา และช่วงที่ต้องให้ช่วยเหลือ
2. เตรียมอาหาร เครื่องดื่ม เข้าห้องน้ำ
ให้พร้อม เพื่อลดการต้องเดินให้ลูกเจอ ในกรณีที่บ้านมีบริเวณจำกัด
3. จัดตารางเวลา daily routine ว่าจะเจอลูกช่วงไหนให้เหมือนกันทุกวัน เพื่อให้ลูกรู้สึกมั่นคง ไม่กลัวว่าจะถูกทอดทิ้ง
4. ถึงแม้จะมี routine ก็ไม่ได้หมายความว่ามันต้องเป็นไปตามนั้น ขอให้ยืดหยุ่น ทำใจให้สบาย บางวันลูกอาจจะร้องไห้ งอแง ให้เราอยู่ด้วย
5. เตรียมของเล่น หรือ กิจกรรมให้พร้อม เพื่อลูกจะได้เล่นระหว่างเราทำงาน
6. ถ้าลูกโตพอที่จะเข้าใจ ให้คุยกับลูกให้ชัดเจนถึงการทำงานของแม่ บอกสัญญาน หรือ สถานที่ เช่น ถ้าแม่อยู่ในห้องนี้ แปลว่าแม่กำลังทำงาน ให้ไปหาคนอื่นหากต้องการอะไร (ถ้าเด็กเล็กๆ น่าจะไม่ได้ผลหรอกค่ะ)
7. ดูแลจิตใจตัวเองนะคะ ไม่ไหวอย่าฝืน อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ และอย่าโทษตัวเองตามเสียงที่ได้ยินเข้าหูค่ะ
ด้วยรัก
ไดอารี่คุณแม่
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย