Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ฐานเศรษฐกิจ_Thansettakij
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
28 ต.ค. 2021 เวลา 07:49 • สุขภาพ
ทำความรู้จัก โควิดอัลฟาพลัส Alpha Plus ก่อนเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้
"ฐานเศรษฐกิจ" ชวนมาทำความรู้จัก โควิดอัลฟาพลัส Alpha Plus ก่อนเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้ ที่พบว่าเป็นโควิดกลายพันธุ์ สามารถหลบภูมิได้ดี เเละอาการรุนแรงกว่าเดิม
เกาะติดประเด็น “โควิดกลายพันธุ์” ก่อน "เปิดประเทศ" 1 พ.ย.นี้ ล่าสุดถือว่าสร้างความกังวลใจให้คนไทยไม่น้อย แม้ว่าจากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทย
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา วันที่ 16-22 ต.ค. 2564 โดยภาพรวมโควิดสายพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย เป็นสายพันธุ์เดลตา 98.6% เบตา 0.8 % และอัลฟา 0.6%
ส่วนใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ส่วนใหญ่เป็นเดลตาเช่นกัน 96.9 % เบตา 2.3 % และอัลฟา 0.8% โดยสายพันธุ์เบตาและอัลหามีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ
ประเทศไทยพบ "โควิดอัลฟาพลัส" (Alpha Plus) โดยผู้ติดเชื้อในประเทศไทย 18 ราย เป็นผู้ต้องขังเชียงใหม่ 2 ราย มีการเก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 27 ก.ย.2564
อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค และในจังหวัดจันทบุรีและตราด เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2564 ตรวจ 1,119 ตัวอย่าง พบ 16 รายในล้งผลไม้ เป็นแรงงานกัมพูชา 12 ราย และไทย 4 ราย
ทั้งหมดหายแล้ว จะมีการดำเนินการตรวจเชิงรุกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องและสุ่มตรวจในพื้นที่อื่นๆด้วยว่ามีอัลฟาพลัสหรือไม่
โควิดอัลฟาพลัส (Alpha Plus) คืออะไร
1
เป็นการกลายพันธุในตำแหน่ง E484K บนสไปค์ จากสายพันธุ์หลักคือ สายพันธุ์อัลฟา B.1.1.7 เลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด แพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% และพบได้ในสายพันธ์เบตาและแกมมาขณะนี้อยู่ในระบบเฝ้าระวัง เจอครั้งแรกในประเทศอังกฤษเมื่อเดือนธันวาคม 2563
1
ความรุนแรงของโควิดอัลฟาพลัส (Alpha Plus)
จากการตรวจสอบในระบบจีเสด(GISAID) พบว่า อัลฟาพลัส E484K ที่เจอในประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับที่เจอในเอเชียนั้น มีลักษณะทางพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่ระบาดอยู่ในประเทศกัมพูชา
และเป็นสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในประเทศกัมพูชาตอนนี้ ซึ่งการกลายพันธุ์ในตำแหน่งนี้ที่มีการหลบภูมิคุ้มกัน แบบที่เจอในเบตาและแกมมา ทำให้อัลฟาพลัส อยู่ระหว่างอัลฟา และเบตา กับแกมมา
ถ้ามีมากในไทยอาจหลบภูมิคุ้มกันได้ แต่อัลฟาในไทยเริ่มถูกเบียดหมดไปโดยเดลตา อำนาจการแพร่กระจายจึงอาจไม่สูงเช่นเดียวกับเบตาในภาคใต้ หลบภูมิฯแต่แพร่กระจายไม่สูง
ทั้งนี้ จะมีการนำตัวอย่างเชื้ออัลฟาพลัสมาเพาะเชื้อเพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการดูว่าอัลฟาพลัสตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันวัคซีนเป็นอย่างไร
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า อัลฟาพลัส ไม่ได้มีความรุนแรงไปกว่าอัลฟาหลัก แต่ความรุนแรงอาจจะเหนือกว่าอัลฟาเล็กน้อย อาจจะพอๆ กับโควิดเดลตาในปัจจุบันก็เป็นไปได้
อาการโควิดอัลฟาพลัส มีอาการเช่นเดียวกับกับโควิดอัลฟา B.1.1.7
1.ไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
2.อาการเจ็บคอ
3.อาการหายใจเหนื่อยหอบ
4.ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยร่างกาย
5.สูญเสียการรับรส หรือรับกลิ่น
วัคซีนโควิดที่ป้องกันได้ดี
1.วัคซีนโควิดไฟเซอร์ ป้องกันโรค 91% ป้องกันติดเชื้อ 86%
2.วัคซีนโควิดโมเดอร์นา ป้องกันโรค 94% ป้องกันติดเชื้อ 89%
3.วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ป้องกันโรค 74% ป้องกันติดเชื้อ 52%
4.วัคซีนโควิด Johnson & Johnson: ป้องกันโรค 72% ป้องกันติดเชื้อ 72%
5.วัคซีนโควิด Spunik-V: ป้องกันโรค 92% ป้องกันติดเชื้อ 81%
6.วัคซีนโควิด Novavax: ป้องกันโรค 89% ป้องกันติดเชื้อ 79%
7.วัคซีนโควิดซิโนฟาร์ม ป้องกันโรค 73% ป้องกันติดเชื้อ 65%
2
ที่มา : กรมวิทยาศาสตร์การเเพทย์
thansettakij.com
ทำความรู้จัก โควิดอัลฟาพลัส Alpha Plus ก่อนเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้
″ฐานเศรษฐกิจ” ชวนมาทำความรู้จัก โควิดอัลฟาพลัส Alpha Plus ก่อนเปิดประเทศ 1 พ.ย.นี้ ที่พบว่าเป็นโควิดกลายพันธุ์ สามารถหลบภูมิได้ดี เเละอาการรุนแรงกว่าเดิม
4 บันทึก
7
11
4
7
11
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย