28 ต.ค. 2021 เวลา 08:50 • ครอบครัว & เด็ก
ความรักไม่ใช่ "ข้ออ้าง" ที่พ่อแม่จะทำอะไรก็ได้กับลูก !!!
หลายคนคงเคยได้ยินประโยคสุด คลาสสิคที่ว่า "ลูกคือส่วนเติบเต็มของคำว่าครอบครัว" และ "ไม่ว่าจะนานแค่ไหน ลูกก็ยังคงเป็นเด็กในสายตาพ่อแม่"
ประโยคที่ฟังดูโรแมนติกและอบอวลไปด้วยความรัก ความอบอุ่น จากพ่อแม่ที่มีต่อลูก
คำถามคือ ถ้ามุมมองของพ่อแม่เป็นแบบนั้น มันจะเกิดอะไรขึ้นตามมา?
เมื่อลูกเป็นทารกหรือเด็กเล็ก การดูแลลูกเล็กๆ อย่างการเปลี่ยนผ้าอ้อม อาบน้ำ เช็ดตัว ก็ถือเป็นเรื่องปกติ
แต่เมื่อลูกโตขึ้น เริ่มเข้าโรงเรียน เริ่มเป็นเด็กโต การแสดงออกของพ่อกับแม่ก็เริ่มต้องมีขอบเขตมากขึ้น การดูแลความสะอาด อาบน้ำ เช็ดตัว เริ่มเป็นหน้าที่เฉพาะมากขึ้น โดยเฉพาะลูกสาว
พ่อที่เป็นผู้ชาย เมื่อลูกโตขึ้นเริ่มเป็นสาว ระยะห่างที่พ่อมีกับลูกในทางกายภาพก็จะเริ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องชู้สาวที่เคยเกิดขึ้นมาในสังคมของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การแตะเนื้อต้องตัวเสมือนอย่างที่เคยเป็นมา ไม่ใช่ภาพที่น่ารักอีกต่อไป
แน่นอนว่ามุมมองของพ่อที่ยังทำตัวราวกับว่าลูกสาวเรายังคงเป็นเด็กเล็กอยู่เสมอ แม้ว่าลูกจะโตแล้ว พ่อมักอ้างถึงการทำไปด้วยความรัก
เป็นรักที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงไปแม้ลูกจะโตแค่ไหนก็ตาม
แน่นอนว่าความรักที่มีนั้นดี
แต่ความรักไม่ใช่ "ข้ออ้าง" ที่พ่อแม่จะทำอะไรก็ได้กับลูก !!!
เราเคยอาบน้ำด้วยกันอย่างไร เราจะอาบน้ำด้วยกันไปตลอด ???
ความรัก ไม่ใช่ ข้ออ้าง ที่พ่อแม่จะทำทุกอย่างเหมือนลูกเป็นเด็กเล็กๆ !!!
ในขณะที่ลูกโตขึ้น ในแต่ละช่วงวัยพ่อแม่ควรต้องปรับเปลี่ยนมุมมองไปตามการเติบโตของเขา เพื่อเข้าใจและสนับสนุนพวกเขาอย่างเหมาะสม
ความรักที่ขาดความเข้าใจ มันคือ "สิ่งที่อันตราย"
ความรักที่เข้าใจในความต้องการของเขาในแต่ละช่วงวัย ความรักที่แสดงออกอย่างเหมาะสม ปล่อยให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างที่เขาต้องการ
ไม่ใช่แค่เลี้ยงจนตัวเขาโตขึ้นเท่านั้น
พ่อแม่ต้องปล่อยให้ลูกเติบโตในสายตาตัวเองด้วยเช่นกัน
สนับสนุนให้เติบโตในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่พยายามทำเขาให้เก่งหรือดีเท่าเด็กข้างบ้าน
ลูกไม่ใช่ส่วนตัวเต็มของครอบครัว แต่เขาเป็นสมาชิกคนหนึ่ง และคนในครอบครัวทุกคนมีหน้าที่ช่วยเหลือกันและกัน
พ่อแม่ต้องพร้อมที่วันหนึ่งเขาจะเติบโต และก้าวออกไปใช้ชีวิตของเขาในสังคม ไม่ใช่แช่แข็งให้เขาเป็นเด็กน้อยอยู่เสมอ
เพราะพ่อแม่ไม่สามารถอยู่กับเขาไปตลอด ไม่ช้าก็เร็วเขาต้องก้าวเดิม ด้วยตัวเอง ต่อให้พ่อแม่รั้งแค่ไหนวันนั้นก็ย่อมมาถึง
และเมื่อวันนั้นมาถึง เขาควรที่จะพร้อมเผชิญโลกกว้าง
ด้วยความรักของพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนเขา ไม่ใช่ความรักที่ทำร้ายเขา และทำให้เขากลัวที่จะก้าวเดินด้วยตัวของเขาเอง
เพราะอย่าลืมว่า ลูกของเราไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน
ถ้าเรารักเขาแต่ไม่เลี้ยงดูเขาให้พร้อมอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคม
นั่นอาจกลายเป็น "ความรัก" ที่กำลัง "ทำร้าย" เขาอยู่ก็เป็นได้...
โพสต์นี้ตั้งใจหลีกเลี่ยงการบอกเล่าเพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมเหตุการณ์ และกล่าวถึงการเลี้ยงลูกในภาพรวม ไม่เฉพาะเจาะจง เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบทางจิตใจที่จะมีต่อเด็กในอนาคต
ถ้าอ่านแล้วคิดว่ามีประโยฃน์ อย่าลืมกดแสดงอารมณ์ คอมเม้น หรือกดแชร์ ส่งต่อบทความนี้ไปสร้างประโยชน์ให้พ่อแม่คนอื่นๆด้วยนะครับ
โฆษณา