28 ต.ค. 2021 เวลา 15:08 • สุขภาพ
Boost วัคซีนเข็ม 3 ต่อจาก Sinovac 2 เข็ม
เป็นวัคซีนชนิดไหนดี มาดูข้อมูจากงานวิจัยล่าสุดกัน
คำถามนี้ ก่อนหน้านี้ไม่มีใครให้คำตอบได้
เพราะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนพอ
แต่พอจะมีข้อมูลอยู่บ้าง จากการศึกษาPhase I/II
ของทางศิริราช พบว่า
วัคซีน Pfizer เข็ม 3 สามารถกระตุ้นภูมิได้สูงสุด
แต่ไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่แท้จริง
เพราะแม้ว่า ระดับ Ab ที่สูงกว่า น่าจะทำให้ป้องกันได้ดีกว่า
แต่ ระบบภูมิต้านทาน มีทั้ง B-cell และ T-cell
การวัดระดับ Ab เป็นการวัดถึง ประสิทธิภาพด้านการกระตุ้น B-cell
แต่ไม่สามารถบอกถึงประสิทธิภาพ ในการกระตุ้น T-cell
ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีข้อมูลในการใช้งานจริง
มาพิสูจน์ก็อาจจะยังบอกไม่ได้ว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าจริง
แต่วันนี้ ทาง Chile ได้เปิดเผยผลการศึกษา
Real world effective ของ
Booster shot หลังจากที่ได้รับ SInovac
Chile เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากCovid-19 อันดับต้นๆ ของโลก
แม้ว่าจะฉีดวัคซีนได้เยอะ แต่เนื่องจากตอนแรกใช้เป็นวัคซีนเชื้อตาย
ทำให้ไม่สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จนเกิดการระบาดไปทั่ว จนการแพทย์ล่มสลาย
ถึงแม้กระนั้นก็ยังสามารถรวบรวมข้อมูลประสิทธิภาพ
ของวัคซีนได้อย่างเป็นระบบ
จนสามารถเปิดเผย ผลการศึกษา Real world effectiveness
ของ Sinovac vs Pfizer ตามรายงานเดิมได้
หลังจาก สถานการณ์ดีขึ้น Chile ก็เริ่มฉีดวัคซีน
Booster Shot ให้แก่คนที่ได้รับวัคซีนเชื้อตาย
วันนี้ ทางชิลี ได้ประกาศผลการศึกษาเบื้องต้น
เกี่ยวกับ real world effectiveness ของ Booster dose เข็ม 3
ในคนที่ได้รับ SV ครบ 2 dose อายุ 16 ปีขึ้นไป
และไม่มีประวัติติดเชื้อโควิดมาก่อน
แล้วได้ Booster shot เข็ม 3 ต่างชนิดกัน
โดย มี Booster Shot เป็น 3 ชนิด 3 แพลตฟอร์ม
ทั้ง Sinovac (SV), Astrazeneca (AZ) และ Pfizer (PZ)
ว่าอันไหนจะมี real world effectiveness สูงสุด
ผลการศึกษา
จากประชากร 11.2 ล้าน
ได้รับvaccineเป็น SV 2 dose 4.78 ล้านคน
ในประชากร 4.78 ล้านคนที่ได้รับ SV นี้
ได้รับวัคซีนเข็ม 3 booster shot 2.02 ล้านคน แบ่งเป็น
1.Boost เข็ม 3 ด้วย SV 140,132 คน ( = SV-SV-SV )
 
2.Boost เข็ม 3 ด้วย PZ 371,592 คน ( = 2SV+PZ )
 
3.Boost เข็ม 3 ด้วย AZ 1,506,154 คน ( = 2SV+AZ )
 
ในระหว่างที่เก็บข้อมูล มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งประเทศ 5 แสนคน
Effectiveness ต่อการป้องกันติดเชื้อ หลังได้เข็ม 3 > 14 วัน
SV*3 ==> 80%
2SV+PZ ==> 90%
2SV+AZ ==> 93%
Effectiveness ต่อการป้องกันนอนรพ. หลังได้เข็ม 3 > 14 วัน
SV*3 ==> 88%
2SV+PZ ==> 87%
2SV+AZ ==> 96%
จากข้อมูลในชิลี 2 ล้านคน พบว่า booster shot AZ ดีที่สุด
ทั้งประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ และนอนรพ.
ซึ่งอาจจะอธิบายได้จาก
Viral vector มีจุดเด่น ในด้านกระตุ้นภูมิ CMIR (T-cell)
ซึ่งเป็นจุดอ่อนของวัคซีนเชื้อตายที่กระตุ้น CMIR แทบจะไม่ได้
ทำให้ AZ อาจจะปิดจุดอ่อน SV ได้ดีกว่า PZ ???
และ AZ ก็ กระตุ้น Humoral Immune response (B-cell)
ได้ไม่ดีเท่า m-RNA
การได้ SV*2 dosed มาก่อน ทำให้ AZ กระตุ้น B-cell ได้ดีขึ้น
ทำให้ มีระดับ Antibody สูงขึ้น
จนน่าจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของวัคซีนดีขึ้น ??
อย่างไรก็ตาม รายงานฉบับนี้ ยังไม่ผ่าน peer reviewed
คงต้องรอดู ตัว full paper อีกครั้งว่า
มีการควบคุมตัวแปรที่เกี่ยวข้องมีผลต่อโอกาสการติดเชื้อได้เหมาะสมหรือไม่ เช่น
- เพศ อายุ
- interval of booster shot
- สายพันธุ์ที่มีการระบาด ณ ขณะนั้น
- Follow up time ติดตามนานขนาดไหน
- ใช้ PCR หรือ ATk ในการวินิจฉัย
โฆษณา