29 ต.ค. 2021 เวลา 11:43 • สุขภาพ
สรุปจาก 📝WIM EP.46 ทำไม “จิตวิทยา” ถึงสำคัญ 🧠 (feat. อจ.ภูมิ R&S🔅)
======================
1. จิตวิทยาคืออะไร
======================
- จิตคือเรื่องของความคิดหรือใจ วิทยาคือศาสตร์ศาสตร์นึง
- จิตวิทยาคือความเข้าใจความคิด การกระทำของคน ผ่านเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เข้าใจว่าคนเรามีพฤติกรรมออกมาแบบนี้เพราะอะไร ทำไมเราถึงมีความคิดแบบนั้น ใช้หลักวิทยาศาสตร์เข้ามาจับ
- เป็นศาสตร์ที่มีอายุเกือบ 150 ปี ซึ่งถือว่ายังใหม่ ถ้าเทียบกับศาสตร์อื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ หรือปรัชญา
======================
2. จุดกำเนิดของจิตวิทยา
======================
- สมัยก่อนมีหลายๆ คนที่คุยเรื่องจิตวิทยา ไม่ว่าจะเป็นแอริสตอเติล (Aristotle) หรือว่าเพลโต (Plato) ที่ศึกษาเรื่องจิตวิทยา แต่ไม่มีชื่อเรียก จึงเรียกว่าเป็นนักปรัชญา มีการศึกษา เอาไอเดียมาคุยกัน
- จนกระทั่งมีชาวฝรั่งเศสชื่อ เรเน่ เดคค่า (René Descartes) เป็นนักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ เริ่มมามองว่า จิตใจ (Soul) และร่างกาย (Body) มันแยกออกจากกันเป็นคนละส่วน เขียนหนังสืออกมาชื่อว่า The Passion of the Soul ตั้งแต่ปี 1649 ซึ่งจิตวิทยาก็ยังไม่เกิด แต่ก็เริ่มมีคนที่สนใจและตั้งคำถามมากขึ้นเรื่อยๆ
- สมัยก่อนเวลาคนมีไอเดียทางทางด้านจิตวิทยา หรือมีความสนใจเกี่ยวกับความคิดความเข้าใจคน อย่างเช่นในกรีก ก็จะมีการตั้งเวทีมาดีเบตกันตามลานต่างๆ พูดไอเดียให้ประชาชนฟัง แต่เป็นการพูดแค่ทฤษฎี ไม่มีการพิสูจน์ใดๆ ทั้งสิ้น
- จนกระทั่งจิตวิทยามันมาเกิดในช่วงปลายปี 1800 ศาสตราจารย์วิลเฮม วุล (Wilhelm Wundt) ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เริ่มมาก่อตั้งแล็บในมหาวิทยาลัย ที่คณะปรัชญาเพื่อศึกษาจิตวิทยา ทำการทดลองสิ่งต่างๆ เพื่อพิสูจน์สิ่งที่นักปรัชญาพูดกันมา ใช้กระบวนการวิทยาศาสตร์เข้ามาพิสูจน์ พยายามทำความเข้าใจจิตวิทยาของคน ผ่านมุมมองที่เรียกว่า Introspection คือการที่คนมองกลับไปเข้าไปข้างในแล้วเก็บข้อมูลบันทึกไว้เป็นระบบ ทำให้สิ่งที่จับต้องไม่ได้ จับต้องได้ โดยการให้คะแนน จดบันทึก แล้วนำมาวิเคราะห์ กลายเป็นจุดเริ่มต้นของจิตวิทยา
- จิตวิทยาก็คือการเอาปรัชญามาทำให้จับต้องได้มากขึ้น โดยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ แล้วก็ทำการทดลองวิจัยจนกลายเป็นจิตวิทยา
- คำว่า psychology ภาษาละตินจะแปลว่า the study of soul การศึกษาจิตวิญญาณซึ่งสอดคล้องกับคำที่เรเน่ เดคค่า (René Descartes) พูดไว้ ถ้ามาแปลง่ายๆ แบบในปัจจุบันก็คือ วิทยาศาสตร์แห่งกระบวนการความเข้าใจทางพฤติกรรมและความคิด
======================
3. ประเภทของจิตวิทยา
======================
- สมาคมจิตวิทยาอเมริกัน American Psychological Association (APA) แบ่งจิตวิทยาเป็น 54 division ซึ่งก็มีหลายๆ อันที่ซ้ำกัน ศาสตร์ที่ผมศึกษาส่วนตัวอย่างจิตวิทยาเชิงบวก ก็ไม่ได้มีอยู่ใน division มันเป็นการเมืองบางอย่าง ต้องมีคนที่มีอิทธิพลถึงจะสร้าง divison ใหม่ขึ้นมาได้
- ถ้าดูตาม Wikipedia จะมีอยู่ 28 ประเภท จะทำให้พอเห็นธีมว่าอะไรเป็นสาขาที่แยกย่อยออกมา ตัวอย่างเช่น
- General Psychology เรียนทุกๆ เรื่องทั่วไป
- Organizational Psychology จิตวิทยาที่จับกับคน เช่น พวก HR, Organizational Development ซึ่งตัวนี้เป็นตัวที่ผมศึกษา
- Cognitive Psychology
- Developmental Psychology จิตวิทยาพัฒนาการ ศึกษาเรื่องของเด็ก
- ให้ลองมองจิตวิทยาเป็นเหมือน melting point เป็นหม้อที่รวมทุกๆ อย่างเข้าไปด้วยกัน เครื่องไม้เครื่องมือวิธีการ ส่วนหัวข้อที่ศึกษาอาจจะกลายมาเป็นสาขาย่อยๆ
======================
4. มีการศึกษาจิตวิทยาในสัตว์หรือไม่
======================
- นักจิตวิทยากับสัตว์เป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันมาก เพราะเรื่องบางเรื่องเราก็ไม่สามารถศึกษาในมนุษย์ได้ ต้องไปศึกษาในสัตว์
- มีอาจารย์ท่านนึงชื่อ B. F. Skinner ศึกษาเรื่องพฤติกรรมของสัตว์ ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ คือ นกพิราบ โดยจะให้นกพิราบมาใช้ปากกดปุ่ม แล้วตัวอาหารก็ถูกปล่อยออก ไป และนกก็จะรู้ว่าทุกครั้งที่จะกินอาหารก็ต้องกดปุ่ม จะเป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับการ ​​reinforcement อยากให้คนทำพฤติกรรมอะไร เราก็ต้องให้ reward เขาก็จะทำเพิ่มขึ้น
- มียุคนึงที่ศาสตร์จิตวิทยาประเภทนี้เติบโตมาก เรียกว่า Behaviorism เป็นศาสตร์จิตวิทยาที่เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์และสัตว์ สามารถที่จะสร้างได้โดยการกำหนดเงื่อนไขหรือตั้งโปรแกรมอะไรบางอย่าง แล้วมันก็ได้รับความนิยมมากจนคนเชื่อในเรื่องนี้มากๆ เป็นศาสตร์หลักของจิตวิทยาอยู่ช่วงนึง แต่ด้วยความที่มันสุดโต่งเกินไป จนมีระบบราชการ การเมืองด้วย ก็เลยล่มสลายไป แต่มันก็แทรกซึมตามจิตวิทยาแขนงอื่นๆ ว่าพฤติกรรมของคน พฤติกรรมของสัตว์เกิดจากอะไรมาก
- ทั้งหมดพวกนี้เราไม่ได้สนใจพฤติกรรมสัตว์เป็นหลัก แต่ศึกษาในสัตว์เพื่อมาทำความเข้าใจมนุษย์
- มีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคนกับแมวหรือสุนัขว่ามีความเชื่อมโยงยังไงบ้าง แล้วทำให้คนนั้นมีความสุขมากขึ้นหรือเปล่า จากพฤติกรรมไหน ซึ่งก็จะมีองค์ประกอบที่เป็นคนอยู่เสมอในการศึกษา
======================
5. ทำไมจิตวิทยาถึงสำคัญ
======================
​​—————​​—————​​—————
*1. เป็นเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจ
​​—————​​—————​​—————
- ทุกคนสนใจเรื่องจิตวิทยาแม้ว่าจะรู้จักหรือไม่รู้จัก ลึกๆ ก็จะมีความสนใจอยู่ดี เพราะมันเป็นเรื่องของทุกคน ต่อให้ไม่ได้พูดหรือบอกว่าสำคัญยังไง ทุกคนก็สนใจ
- สังเกตง่ายๆ ถ้าวันนี้เราไปร้านหนังสือ หมวดที่มีคนไปดูและโดดเด่นมากที่สุดคือจิตวิทยา แม้หนังสือในนั้นครึ่งนึงอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา แต่มันขายได้
- การที่เราอยากเข้าใจคน ทำไมเราถึงชอบดูดวง ชอบทำแบบทดสอบพฤติกรรมทั้งหลาย เพราะเราอยากเข้าใจตัวเอง มันเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ศาสตร์จิตวิทยาเลยมีความดึงดูดเสมอ มีเรื่องที่ทำให้น่าสนใจ
- พอมาเป็นคนที่รับสารเกี่ยวกับจิตวิทยา ได้ฟังเรื่องราวสนุกๆ ที่มาเล่า ก็ดูน่าตื่นตาตื่นใจได้ตลอด เป็นเรื่องที่ดึงดูดคน
—————​​—————​​—————
*2. เป็นการทำความเข้าใจคนเพื่อนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
​​—————​​—————​​—————
- ถ้าในมุมมองของนักจิตวิทยา เราจะพยายามทำความเข้าใจคน ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ทั้งใจ ทั้งกาย ทั้งการกระทำต่างๆ การเป็นอยู่ของคนที่มีบริบทมาอยู่ร่วมกัน พอเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่น เราคงอยากหาวิธีสร้างเงื่อนไขที่ทำให้สังคมมันดีมากขึ้นเรื่อยๆ
- อย่างผมศึกษาเรื่องจิตวิทยาองค์กร ก็พยายามตั้งโจทย์ตลอดว่าเราจะทำยังไงให้คนมีชีวิตที่มีคุณค่าในการทำงาน มีความสุข มีเป้าหมายและอินกับงานที่ทำ ออกไปใช้ชีวิตทุกวันเป็นชีวิตที่ดี เป็นชีวิตที่น่าใช้ อันนี้คือเป้าหมายส่วนตัวของผม
- มันสำคัญตรงนี้ พอเรารู้ว่าเราใช้เครื่องมืออะไรในการทำความเข้าใจคนได้ เราสามารถสร้างความรู้ สร้างทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมา แล้วเอาสิ่งนี้ไปอธิบายและช่วยให้คนพัฒนาดีขึ้นได้
- ยกตัวอย่าง Dr. Carol Dweck ผู้แต่งหนังสือเรื่อง Mindset ที่พูดถึงเรื่อง Growth Mindset, Fixed Mindset โดยการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง 30-50 ปี แล้วกลั่นออกมาเป็นหนังสือเล่มนี้ แนวความคิดนี้มันแทรกซึมไปทั่วธุรกิจ ไอเดียทางจิตวิทยาทำให้ชีวิตการทำงานของคนบางกลุ่มดีขึ้นได้ อันนี้ก็เป็นความใฝ่ฝันของผมด้วย การช่วยองค์กรหรือสังคมให้เข้าใจตัวเองมากขึ้น และมีชีวิตที่ดีขึ้น
- มีนักจิตวิทยาสังคมที่จะไปดูว่าจะทำยังไงถึงจะปรับวิธีการความเป็นอยู่ของคน เช่น เรื่องของยาเสพติด เราจะแก้บริบทอะไรเพื่อที่จะได้ลดปัญหายาเสพติดของคนบางกลุ่มได้ งานแบบนี้คิดว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก และมีนักจิตวิทยาที่ทำงานพวกนี้อยู่เบื้องหลังโดยเราไม่รู้ตัว และมันก็เกิดขึ้นในระดับนโยบายขององค์กรหรือประเทศ
======================
6. ความยากของการทำเรื่องจิตวิทยา
======================
- เรื่องของจิตวิทยาต้องใช้เวลาในการจะพัฒนาตัวเองอย่างยิ่งยวด และต้องฝ่าฟันกับหลายๆ อย่างในการที่จะทำงาน บางทีงานก็อาจจะไม่ได้ถูกคนชื่นชมหรือชอบ อาจจะไม่ได้ชัดเจนหรือมีผลตอบรับกลับมาเร็ว มันต้องใช้เวลาในการสร้าง เป็นงานที่มีคุณค่าในตัวของมัน มีรายละเอียดเยอะมาก ถ้าจะทำอะไรก็แล้วแต่ตัวเรา มันเป็นเหมือน melting point เราเลือกสรรวัตถุดิบต่างๆ แล้วก็นำไปใช้ให้เหมาะสมได้
======================
7. คุณสมบัติที่ดีของการเป็นนักจิตวิทยา
======================
​​—————​​—————​​—————
*1. มีความสนใจเรื่องคน
​​—————​​—————​​—————
​​—————​​—————​​—————
*2. มีความช่างสงสัย (curiosity)
​​—————​​—————​​—————
- ชอบตั้งคำถามกับเรื่องต่างๆ เช่น สมมุติเราดู Twitter แล้วเห็นคนทำเรื่องต่างๆ เราตั้งคำถามไหมว่า ทำไมเขาถึงทำอย่างนั้น และอะไรเป็นความคิดเบื้องหลังของเขา ถ้าเราเริ่มตั้งคำถามเยอะๆ ผมว่าเป็นคุณสมบัติที่ดี
​​—————​​—————​​—————
*3. ช่างสังเกต (observance) และเก็บข้อมูล
​​—————​​—————​​—————
- ถ้าช่างสังเกตเฉยๆ แล้วไม่ได้เก็บข้อมูล อาจจะเป็นนักปรัชญา เป็นคนคิดไอเดีย แต่ถ้าอยากเป็นนักจิตวิทยาต้องสังเกตและเก็บข้อมูลด้วย
- เช่น การลองสังเกตตัวเองดูว่า เราทำงานช่วงไหนได้ดีที่สุด จดแล้วให้คะแนนทุกชั่วโมง ทำทุกวันแล้วเอาข้อมูลมาวิเคราะห์แพทเทิร์น หาค่าเฉลี่ย นี่ก็ถือเป็นการเริ่มต้นการเป็นนักจิตวิทยาแล้ว เริ่มเห็นแพทเทิร์นของพฤติกรรมผ่านการนำมาเป็นข้อมูลอะไรบางอย่างแล้วก็เข้าใจตัวเอง
- หรือลองสังเกตคนรอบข้าง คนที่เราไม่ชอบ ลองดูสิว่าตอนนี้ที่เราไม่พอใจ เรารู้สึกอะไร ลองจดออกมา การเป็นนักจิตวิทยาก็เหมือนแบบนี้เลย แต่จะเป็นการเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมาก แต่อันนี้เราเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวก่อน ลองดูว่าเราชอบไหม
======================
8. ที่ไหนเปิดสอนเรื่องจิตวิทยาบ้าง
======================
- ถ้าในประเทศไทย สำหรับปริญญาตรี มีหลายที่ ทั้ง จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เชียงใหม่ มหิดล สำหรับจุฬาฯ มีคณะจิตวิทยา ซึ่งเรียนเป็นจิตวิทยาทั่วไป แล้วพอตอนเรียนต่อปริญญาโท ก็สามารถเลือกเฉพาะทาง ส่วนธรรมศาสตร์จะอยู่ในคณะศิลปศาสตร์ สาขาจิตวิทยา สามารถลองศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมได้
- ถ้าในต่างประเทศมีหลายที่เยอะมาก มีเป็นคอร์สออนไลน์ต่างๆ ด้วย ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปเรียนดีไหม หรือไม่ได้อยากต่อปริญญา ก็สามารถไปเริ่มคอร์สสั้นๆ มีทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จิตวิทยาพื้นฐาน หรือจิตวิทยาเชิงบวก อย่างใน Coursera ก็มีคอร์สเกี่ยวกับจิตวิทยาเช่นกัน
======================
9. จิตวิทยาที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
======================
​​—————​​—————​​—————
*1. Anchoring Bias
​​—————​​—————​​—————
- เปรียบเสมือนสมอเรือ เวลาที่เราได้รับข้อมูลอะไรบางอย่างครั้งแรก มันจะกลายมาเป็นสมอเรือให้กับเรา และคอยดึงความคิดให้เราติดอยู่ตรงนั้น ทำให้อาจจะเป็นประโยชน์หรือว่าเป็นโทษกับเราก็ได้
- เรื่องการเจรจาต่อ
เช่น เวลาที่เราจะเจรจาเรื่องขอขึ้นเงินเดือน เราควรจะเป็นคนที่พูดก่อนเสมอก่อนนายจ้าง สมมุตินายจ้างบอกว่า 35,000 เราจะใช้เลขนี้เป็นตัวตั้งแล้วคุยถกกันบนเลขนี้ อันนี้คือ Anchoring Bias เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีข้อมูลแรกถูกนำเข้ามา เราก็จะใช้ข้อมูลนั้นมาตัดสินใจ เราก็จะเสียเปรียบต่อรองไปมายังไงก็ไม่เกิน 40,000 แต่ถ้าเราเป็นคนพูดก่อนบอกไปเลยว่าต้องการ 50,000 นายจ้างก็จะต่อรองบนเลขนี้ สุดท้ายอาจจะลงมา 45,000 ก็ได้ แต่ก็มากกว่าอยู่ดี แต่การจะทำแบบนี้เราก็ต้องรู้เขารู้เรา ไม่ใช่ว่าไปขอ 100,000 บาท แบบนี้มันอาจจะชัด ไม่ได้ทำให้เขารู้สึกว่าโดนปัก
- เรื่องการซื้อของ
สมมุติเราหาข้อมูลของ แล้วเราได้ราคาในใจมาพอสมควร เราก็จะยึดราคานั้นที่เห็นแรกๆ เราก็จะเริ่มคิดและหา sale ต่างๆ จากราคานั้น อันนี้ก็เป็นอีกมุมนึง สำหรับการตั้งราคา หรือทำไมหลายๆ คนชอบการตั้งราคาแล้วลด เพราะมันรู้สึกว่าราคาแรงเป็นราคาที่ใหญ่ พอลดลงมาก็ต้องดีกว่า ทั้งๆ ที่จริงๆ หลายๆ แอป
ที่เราดูกันช่วงวันพิเศษ หลายๆ ที่เขาบูสราคาขึ้นไปก่อนแล้วก็ลดลงมาเท่าเดิมก่อนช่วง sale แต่เราไม่เห็นข้อมูลตอนนั้น
- เรื่องการลงทุน
ได้ยินข่าวข้อมูลการลงทุนมาครั้งแรก และก็คิดว่ามันต้องเป็นแบบนั้นแน่ๆ เอาใจไปผูกไว้กับข้อมูล แต่หารู้ไหมว่าข้อมูลการลงทุนเปลี่ยนตลอด มีผันแปร กลายเป็นว่าเราปรับไม่ทัน ถอนสมอไม่ทัน ก็จะตกเป็นเหยื่อของการลงทุน
- วิธีการคืออาจจะต้องทบทวนความคิดความเชื่อของเรา อย่าหลงกลข้อมูลแรกที่เราเห็นเสมอไป เอาข้อมูลมาดูแล้วคิดโดยรวม แล้วตั้งไปเลยว่าเราน่าจะมีอคติตอนไหน หลังจากที่เรารู้เราก็จะพอจะตระหนักได้มากขึ้น อาจจะไม่ได้แก้ได้ 100% แต่อย่างน้อยเราก็จะพอรู้ตัว
- มีคนทำการทดลองเอาลูกกวาดไปใส่ในโถใหญ่ๆ แล้วไปถามคนว่า โถนี้มันลูกกวาดน้อยหรือมากกว่าหมื่นชิ้น กับอีกกลุ่มนึงถามว่ามีน้อยหรือมากกว่าพันชิ้น คนที่ถูกถามด้วยเลขหมื่น จะตอบด้วยเลขประมาณ 8,000 - 9,000 อีกกลุ่มนึงที่ถูกถามด้วยเลขพัน จะตอบด้วยเลขประมาณ 1,000 - 2,000 จะเห็นว่าข้อมูลแรกที่ถูกโยนเข้าไป มันมีผลต่อความคิดของเรามากๆ
​​—————​​—————​​—————
*2. Expectancy Theory
​​—————​​—————​​—————
- ทฤษฎีความคาดหวัง มนุษย์เราทุกคนมีความเชื่อว่าถ้าเราได้ทุ่มเททำอะไรสักอย่างมันควรจะส่งผลออกมา เช่น อ่านหนังสือก็จะได้ความรู้ สามารถทำข้อสอบได้ ซึ่งการอ่านหนังสือเป็น effort การทำข้อสอบได้ดีเป็น performance และหลังจากนั้นเราก็จะได้เกรดเฉลี่ยที่สูงคือ reward และถ้าสิ่งนี้มันตรงกับสิ่งที่เราให้คุณค่าและเป้าหมายในชีวิตของเรา​​​​คือ value มันก็จะครบลูป แล้วเราก็จะมีแรงจูงใจในการทำงาน
- สมมุติเช่น Youtuber มีคนพยายามมากมายกที่ปั้นตัวเองขึ้นมาแล้วมีชื่อเสียง แต่หลายคนก็ทำไม่ได้ สิ่งที่เป็นสิ่งที่แตกต่างอาจจะเป็นในเรื่องส่วน Expectancy Theory ก็เป็นได้ Youtuber ทุกคนคิดว่าการทำงานหนัก (effort) มันน่าจะส่งผลไปสู่รายการที่มีคุณภาพ (performance) แล้วเขาควรจะได้ยอด like ยอด sub (reward) ซึ่งถ้าอันนี้ตรงกับเป้าหมายของเขา (value) ก็จะครบลูปเขาก็จะมีแรงจูงใจที่จะทำต่อไป
- คนที่ล้มเลิกไม่ได้ทำต่ออาจจะเป็นคนที่จุดเชื่อมใดจุดเชื่อมนึงมันขาดไป เช่นอาจจะตั้งใจทำ แต่คลิปออกมาไม่มีคุณภาพ (no performance) หรือทำคลิปออกมาดีแต่คนไม่ชอบ คนไม่ like (no reward) จุดเชื่อมก็จะขาดไป หรือทำไปมียอด like เยอะสุดๆ ได้เงินค่าตอบแทน แต่ถึงจุดนั้นเขาคิดว่ามันไม่ใช่คุณค่าในชีวิตของเขา (no value) ก็อาจจะเลิกหรือไปทำอย่างอื่นแทน
- เราอาจจะต้องลองเขียนแผนผัง อะไรคือ effort สิ่งที่เราพยายามลองมือทำ อะไรคือ performance สิ่งที่เป็นผลจากการกระทำของเรา อะไรคือ reward ที่เราจะได้ และมันส่งผลต่อคุณค่า value ที่เราจะได้อย่างไรบ้าง
- เป็นทฤษฎีที่มีพลังมากๆ ในการที่จะอธิบายพฤติกรรมของเรา หรือคนรอบๆ ตัวว่าเราจะทำยังไงให้มันครบลูปตรงนี้ได้บ้าง เขาก็จะมีแรงจูงใจขึ้นในการใช้ชีวิต เรียน หรือทำงาน
======================
10. เรื่องของ Culture กับองค์กร
======================
- องค์กรยุคใหม่เก่งในเรื่องของการให้ reward มีการให้ work from anywhere มี benefit ต่างๆ ให้เต็มที่ แต่ต้องดูว่ามันแมตช์กับสิ่งที่พนักงานต้องการไหม เป็นเหตุผลว่าทำไมคนถึงลาออก เพราะ reward ดีแต่ไม่ตรงกับความต้องการ ซึ่งมันก็จะยากเพราะ value ของแต่ละคนก็จะมีความหลากหลาย มีความเชื่อความคิดที่แตกต่างกัน
- สิ่งหนึ่งที่องค์กรพยายามจะทำเลยคือการสร้าง culture สร้างเป็นวัฒนธรรมว่าคนแบบเดียวกันที่ชอบอะไรสไตล์นี้มี value คล้ายๆ กัน เขาก็จะสามารถควบคุมธีมของ reward ที่เขาจะให้ได้ง่ายขึ้น
- บริษัทก็ต้องเลือกว่าจะโฟกัสที่ culture ไหน บางครั้งพนักงานลาออก อาจจะเป็นเรื่องที่ดี ถ้าเขาเป็นคนที่ไม่ตรงกับ value หรือ culture ของบริษัท แล้วก็เอาคนที่ตรงเข้ามาแทน แต่หลายๆ ครั้งมันก็อาจจะเป็นสัญญาณให้บริษัทก็ได้ว่า culture ที่เราเป็นอยู่มันดีไหม ก็ต้องดูข้อมูลและตัดสินใจ อย่างนักจิตวิทยาองค์กรก็จะไปเก็บข้อมูล ไปดูว่ามันเกิดอะไรที่มันไม่ร้อยเรียงกันบ้าง มุมที่คนในองค์กรอาจจะมองไม่เห็นจากการบริหาร ลองมองจากมุมของจิตวิทยาเข้าไป มันจะเริ่มเห็นอะไรบางอย่าง แล้วก็อาจจะเสนอแนะอะไรบางอย่างขึ้นมาได้
- มีทฤษฎีนึงที่สามารถอธิบายเรื่อง culture ในองค์กรได้ดีคือ ทฤษฎีเรื่อง ASA model (Attraction-Selection-Attrition)
- Attraction การดึงดูด องค์กรมี culture อะไรบางอย่างที่จะดึงดูดคนแบบเดียวกันเข้ามา
- Selection การเลือก คนที่เป็นหัวหน้าหรือฝ่ายแผนกบุคคลก็จะมี bias อะไรบางอย่าง แล้วก็จะเลือกคนที่คล้ายๆ กับเขา มีทัศนคติคล้ายกันเข้ามา
-Attrition คนที่ไม่ใช่ก็จะล้มหายตายจาก คนที่ไม่เข้ากับ culture จะหลุดออกไปเอง
- ข้อดีคือ culture ขององค์กรพออยู่นานๆ จะยิ่งแข็งแรงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาคือในยุคปัจจุบันพอ culture ยิ่งแข็งแรงมากขึ้นมันยิ่งเปลี่ยนยาก culture ที่อาจจะเคยดีมากๆ แต่ตอนนี้มันอาจจะต้องเปลี่ยน แต่ทุกคนก็หันหน้าไปทางเดียวกัน
- องค์กรที่อยากจะแก้สิ่งนี้ต้องแก้ด้วย diversity ความหลากหลายทางความคิด เพศ อายุ ให้มีคนเชี่ยวชาญต่างๆ กัน เลือกคนที่จะเข้ามา disrupt ระบบ ช่วยในการปรับ culture ของเรา
- อาจจะดูว่าทิศทางของ culture ที่เราอยากจะไป เหมาะสมกับอนาคตอย่างไรบ้าง แล้วก็เริ่มสร้างระบบตั้งแต่ตอนคัดคนเข้ามา แล้วก็ค่อยๆ ฟอร์ม culture นี้ขึ้นมา คนที่ไม่โอเคกับ culture ที่อยู่มานาน เขาก็จะค่อยๆ หลุดไป อาจจะมีสูญเสียคนที่สำคัญบ้าง แต่ถ้าได้ culture ใหม่ที่ตอบรับกับสถานการณ์ภายนอกได้ ก็จะดีกว่า
======================
11. นักจิตวิทยากับจิตแพทย์แตกต่างกันยังไง
======================
- ความแตกต่างอยู่ที่การเทรนนิ่ง จิตแพทย์ต้องเรียนหมอ แล้วก็ไปจบเฉพาะทางเรื่องของการเข้าใจจิต สามารถที่จะจ่ายยา เข้าใจ biology ของคน เรียนกระบวนการปรึกษา
- ส่วนนักจิตวิทยา สำหรับสาขาที่เรียกว่า clinical psychologist ก็สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนจิตแพทย์ แต่จะจ่ายยาไม่ได้ ไม่รู้เรื่องของ biology แบบที่คุณหมอรู้ เป็นการให้การปรึกษา โดยเฉพาะกระบวนการปรึกษา พูดคุย ทำความเข้าใจตัวเอง
- ใครที่ป่วยก็สามารถหาไปได้ทั้งคู่ แต่ถ้าอยู่ในขั้นที่ต้องได้รับยา นักจิตวิทยาก็จะ refer ไปที่จิตแพทย์
- ในยุคนี้ทั้งสองอย่างยังเป็นที่ต้องการมากๆ ไม่พอเพียงกับจำนวนคนป่วย อย่างผมเป็นนักจิตวิทยา แต่ผมก็ทำตรงนี้ไม่ได้ เพราะผมไม่ได้ศึกษาเรื่องของจิตวิทยาการปรึกษา ไม่ได้มี license ถ้าใครมาปรึกษาผม จะคุยกันในมุมของเพื่อน อาจจะรู้ทฤษฎีจิตวิทยาบ้าง ทำยังไงให้มีความสุขมากขึ้น มีความพึงพอใจในชีวิต แต่อาจจะมาแก้โรคทางจิตไม่ได้
======================
12. แนะนำช่องทางศึกษาเรื่องจิตวิทยา
======================
- ใครที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาอยากให้ลองศึกษาและสังเกตรอบๆ ตัว และในยุคนี้เป็นยุคที่มีแหล่งการเรียนรู้มากมาย
- Youtube
มี TED Talks เรื่องกับจิตวิทยาอยู่หลายเรื่อง หรืออย่างช่องที่ผมชอบดู เช่น Practical Psychology หรือ Psych2Go จะเป็นแนว personality มีหลายช่องซึ่งพวกนี้เขาจะเอามาทำให้มันเข้าใจง่ายมากๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
- Podcast
ที่ผมแนะนำและชอบมากๆ ในเรื่องจิตวิทยาชื่อว่า Hidden Brain จาก NBR ทำเนื้อหาดี เพลงดี เชิญอาจารย์เก่งๆ มาคุย เป็นแหล่งที่ผมเอามาทำคอนเทนต์เหมือนกัน
- Book
หนังสืออาจจะต้องลองเลือกดู เพราะบางครั้งอยู่ในหมวดจิตวิทยาแต่ก็ไม่ใช่หนังสือจิตวิทยา แค่เอาประสบการณ์มาเล่า ที่แนะนำก็มีเรื่อง เรื่อง Mindset (Carol Dweck), Think Again (Adam Grant), Give and Take (Adam Grant) ก็เป็นตัวเลือกที่ดี มาจากคนที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาโดยตรง แต่ถ้าใครอยากจะดูภาพรวม หนังสือเล่มนึงที่ผมชอบคือ The Psychology Book รวมทุกเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยา ผมชอบใช้เป็น reference
- Clubhouse
ถ้าใครสนใจสามารถติดตามผมได้ที่รายการ Rise & Shine ทางช่องทาง Clubhouse ตอนเช้าทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 8:20 - 8:50 เอาเรื่องราวเกี่ยวกับจิตวิทยา จิตวิทยาเชิงบวก ที่จะมาพัฒนาชีวิตในแต่ละวันให้ดียิ่งๆ ขึ้น และก็มี podcast ย้อนหลัง รวมถึงสรุปอยู่ในกรุ๊ป Facebook Rise & Shine ด้วย
- ถ้าวันไหนเบื่อๆ ลองสังเกตสิ่งรอบข้าง แล้วจะรู้ว่าจิตวิทยาเป็นเรื่องของทุกคน และเป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวเราจริงๆ ลองสังเกตสิ่งรอบข้าง ตั้งคำถาม และลองมองว่าสิ่งเหล่านี้มันจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ยังไงบ้าง ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน
======================
Speaker:
[@thiraput]
อจ.ภูมิ ดร.ถิรพุทธิ์ ปิติฉัตร
- วิทยากรและผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงบวกและการพัฒนาองค์กร
- อาจารย์ประจำ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เจ้าของรายการ Rise & Shine เช้านี้กับจิตวิทยาเชิงบวก
======================
Moderator:
[@panit] พี พนิต P Panit
เจ้าของเพจ วันนี้สรุป..มา
======================
Date: 20 Oct 2021 (21:00-23:20)
Club: วันนี้สรุป..มา
#ClubhouseTH #ทำไมถึงสำคัญ #จิตวิทยา #psychology #studyofmind #อาจารย์ภูมิ #riseandshine #todayinotetoevent #todayinoteto #วันนี้สรุปมา
โฆษณา